จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตำรวจนอกเวลา'ปรัชญาพี่สอนน้อง


วันที่ 28 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2554

ตำรวจนอกเวลา'ปรัชญา...พี่สอนน้อง : สารพันตำรวจโดย โต๊ะรายงานพิเศษ


ไม่รู้ว่า...ตั้งแต่เมื่อไหร่? ที่วงการตำรวจไทย เริ่มมีตำรวจบางนายหรือบางหน่วยงาน ติดกระดุมเม็ดแรกผิด หลงลืม "ปรัชญา" แท้จริงของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ซึ่ง "ปรัญชา" ที่เป็นความรู้ที่เป็นหลักแห่งความรู้ และเป็นความรู้ที่เป็นหลักแห่งความจริง

แต่ทว่า ทุกวันนี้ตำรวจไทยบางนาย กลับกลายเป็น "ผู้มีความรู้ในความไม่รู้ มีความรู้ในความลวง" จนหลงเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามจารีตที่ยึดถือปฏิบัติกันมา...ถึง เวลาแล้วที่ ตำรวจไทยต้องมาทบทวนความคิดกันใหม่ในห้องเรียน "ตำรวจนอกเวลา"!!

ห้องจูปิเตอร์ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี...ที่ตั้งของโรงเรียนตำรวจนอกเวลา (ชั่วคราว) กำลังสอนวิชา "หลักการพื้นฐานของตำรวจยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย" โดยมีนักเรียนระดับ "นายพล" 24 นาย และ "นายพัน" อีก 55 นาย นั่งโต๊ะกลมถกเถียงกันถึงประเด็นต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมา "ทุกๆ ความเห็น ไม่มีผิด ไม่มีถูก มีแต่ประโยชน์"...นี่คือ กติกาของชั้นเรียน !!

"นาย พล" ระดับ "ผบก." ของแต่ละกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) นั่งร่วมโต๊ะกับ "รอง ผบช.ก." เสริมทัพด้วย "รอง ผบก." แชร์ประสบการณ์ตามหัวข้อที่กำหนดในเวลา 50 นาที ก่อนให้ "รอง ผบก." กระจายกันไปนั่งตามโต๊ะ "นายพัน" เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดระหว่างกัน 

ตำรวจแต่ ละนาย ร่วมแสดงความคิดเห็นกันบนโต๊ะกลมอย่างมีอรรถรส ไม่ต้องจดบันทึก ไม่ยึดติดในรายละเอียด แต่เมื่อเห็นแย้งก็ยกมือโต้เถียงด้วยเหตุผล ตามทฤษฎีการสอนรูปแบบใหม่ "พี่สอนน้อง" สอนความเป็นจริงแห่งความเป็นตำรวจ ถ่ายทอดประสบการณ์ตำรวจแท้ๆ โดยไม่ยัดเยียดความรู้ให้แก่นายตำรวจรุ่นน้อง...

โรงเรียนตำรวจนอกเวลา หรือ "Extra Learning Police School" 

จะมีตราสัญลักษณ์เป็น "นกฮูก" ใส่แว่นตา สวมหมวกระบุคำว่า "Police" ปีกขวาตะเบ๊ะ ปีกซ้ายถือหนังสือ ซึ่ง "นกฮูก" ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาด การเรียนรู้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรปและเอเชีย แนว การสอนของโรงเรียน จะเน้น "ความไม่เหมือนใคร...ไม่มีใครเหมือน" ปรับเปลี่ยนแบบเรียนได้ตลอดเวลา เน้นแลกเปลี่ยนความรู้ ที่สำคัญต้องไม่กระทบเวลาราชการ โดยมีแนวคิดมาจาก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ครูที่ปรึกษาของโรงเรียนแห่งนี้

ส่วนหลักการสอนมีอยู่ 8 หลักการ คือ ปรัชญาตำรวจไทย ปรัชญาตำรวจโลก ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เทคนิคการรักษาชีวิตรอดในการปฏิบัติหน้าที่ ตำรวจต้องเรียนรู้ผลการกระทำของตน การสืบสวนสมัยใหม่ การนำตำรวจที่มีคุณภาพทั้งระบบ และการทุจริตและพฤติกรรมเบี่ยงเบนของตำรวจ และเมื่อนำหลักการ มารวมกับหลักประสบการณ์ จะก่อให้เกิดความรู้ใหม่ เพื่อนำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในวงการตำรวจไทย

"วิชาการ ที่เรียนมาจากการอบรมของตำรวจ ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ บางวิชาเรียนก็ไม่ได้ใช้ เมื่อจบออกมาทำงาน สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดก็คือประสบการณ์จากเพื่อนร่วมงาน ตำรวจรุ่นพี่ ลักษณะงานตำรวจจะเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ เรียนรู้จากผู้อาวุโส" พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เผยถึงความสำคัญของโรงเรียนตำรวจนอกเวลา

พล.ต.ต.สรรพวุฒิ พิพัฒพันธุ์ รองผบช.ก. และ ผอ.โรงเรียนตำรวจนอกเวลา มองว่า อีกไม่เกิน 10 ปีคนไทยจะมีความรู้ความเข้าใจถึงประชาธิปไตยและมีเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตำรวจต้องรับใช้ประชาชนมากขึ้น และโครงการนี้จะทำไปเรื่อยๆ เพื่อสรุปเป็นบทเรียนประสบการณ์ของตำรวจ เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนไปสู่ตำรวจยุคใหม่ หากตำรวจยังไม่คิดจะเปลี่ยน วันข้างหน้าประชาชนจะบังคับให้ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนอยู่ดี 

Mr.William W. Tode อดีตผู้บัญชาการตำรวจมิชิแกน สหรัฐ และ
Mr.Patick C.Tode อดีตผู้บริหารตำรวจชิคาโก สหรัฐ 
Mr.Lennie Rutka หัวหน้าวิทยาลัยตำรวจชิคาโก สหรัฐ 

ครูในโรงเรียนนี้ มีการหารือกันถึงการสอนเรื่องทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน รวมทั้งทฤษฎีกระจกแตก เพราะหากกระจกแตกแค่นิดเดียวอันอื่นก็จะแตกไปด้วย จึงต้องรีบไปป้องกันก่อน" พ.ต.ท.วรวุฒิ คุณะเกษม รอง ผกก. สง.ผบช.ก.เสริม คอร์ส ล่าสุด...เพิ่งติวเข้มนายตำรวจระดับ "ผู้กำกับ" 100 นาย มาร่วมนั่งโต๊ะกลมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากตำรวจรุ่นพี่ทั้ง 8 นายที่คัดประสบการณ์เด็ดๆ มาเป็นบทเรียนให้ตำรวจรุ่นน้องได้ขบคิดแลกเปลี่ยน ก่อนจะขยายบทเรียนประสบการณ์ไปยังตำรวจในระดับต่างๆ ต่อไป

เมื่อตำรวจเริ่มปรับตัว มีความรู้จริงและทำถูกวิธี ด้วยการรับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันด้วยเหตุผลมากขึ้น ก็เริ่มมองเห็นอนาคตที่ดีของตำรวจไทยแล้ว !

ขอขอบคุณที่มา หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก