จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กองปราบปล่อยแถวตร.กวาดล้างอาชญากรรมช่วงปีใหม่


กองปราบปล่อยแถวตร.กวาดล้างอาชญากรรมช่วงปีใหม่

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 14:55 น.
วันนี้ ( 15 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.เป็นประธานปล่อยแถวกำลังตำรวจ บก.ป.เพื่อออกกวาดล้างอาชญากรรม และยาเสพติด ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ โดย พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้มอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่ให้เน้นการกวาดล้างอาชญากรรมในช่วง เทศกาลปีใหม่ นั้น ทาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ได้สั่งการให้ตน จัดเตรียมกำลังตำรวจ บก.ป.เพื่อดำเนินการตามนโยบาย เนื่องจากช่วงเทศกาลดังกล่าว ประชาชนจำนวนมากจะเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งอาจเปิดช่องว่างให้กลุ่มมิจฉาชีพฉวยโอกาสก่อเหตุลัก วิ่ง ชิง ปล้น ได้ง่าย เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงกำชับให้ผู้ใต้บังคับบัญชา จัดกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจออกปฏิบัติการร่วมกับตำรวจท้องที่ต่างๆ โดยตรวจทั้งเคหะสถาน บริษัท ห้างร้าน สถานบริการต่างๆ เป็นไปตามนโยบายผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ สามารถประสานกับตำรวจ บก.ป.ได้ นอกจากนี้เรายังมีโครงการ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนอุ่นใจในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้อีกด้วย
 http://www.dailynews.co.th/crime/172558

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จัดงานหยุดยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่า

 
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา 14:06 น.
http://www.dailynews.co.th/thailand/170598



            เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (4 ธ.ค.) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ  ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ  นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ  ประธานมูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland)  ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) เครือข่ายอาเซียนเว็น กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)  จัดโครงการรณรงค์ เพื่อหยุดยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ในภูมิภาคเอเชีย หรือโครงการอาเรส (ARREST) โดย มีนายดำรง พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานฯ พร้อมด้วย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นายอิทธิพล บุญอารีย์ ตัวแทนท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และตัวแทนหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประมาณ  200  คน
             นายไกรศักดิ์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อหยุดยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ใน ภาคเอเชีย ทั้งนี้ การลักกลอบค้าสัตว์ป่าถือเป็นธุรกิจผิดกฎหมายที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นภัยคุกคามระบบนิเวศวิทยาของทวีปเอเชีย เพราถือว่าเป็นการปล้นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าไปจากระบบนิเวศ นอกจากนี้ ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่รวมตัวกันจนเป็นเครือข่ายที่แข็งแกร่งได้เพิ่ม ความยากลำบากในการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ และเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อโรคจากสัตว์สู่มนุษย์  ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าใกล้ศูนย์พันธุ์ชนิดต่างๆ จะขนส่งลำเลียงข้ามประเทศ และขายป้อนตลาดมืดทั่วโลก ดังนั้น การรับมือกับปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาคในการ แก้ปัญหาต่อไป
ขณะที่นายดำรง กล่าวว่า ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่พัฒนาไปมาก ใช้วิธีตบตาเจ้าหน้าที่ที่แยบยล และมาในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้ยากต่อการจับกุม  เช่น รูปแบบมูลนิธิช่วยเหลือสัตว์ป่า แต่แท้จริงแล้วกลับลักลอบค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาขณะตนดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอทยานฯได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อ หยุดยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งก็สามารถจับได้แทบทุกวัน โดยเฉพาะที่ตลาดนัดสวนจตุจักร  ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องของสัตว์ป่าเท่าที่ควร สุดท้าย ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ช่วยกันป้องกัน หยุดยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่า ปัจจุบันสัตว์ป่าหายากเต็มทน การเอาสัตว์ป่ามาเลี้ยงดูเรามีความสุข แต่สัตว์เป็นทุกข์ และยังถูกทำเป็นอาหารอีก
              ด้าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลางจะเก็บข้อมูลและจัดให้มีป้ายโฆษณาเพื่อรณรงค์ หยุดยั้งลักลอบค้าสัตว์ป่า และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พร้อมของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้การหยุดยั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นอกจากนี้  มีผลวิจัยออกมาว่า 33 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กที่ชอบทรมานสัตว์ เมื่อโตขึ้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับอาชญากร ดังนั้น จึงขอฝากเตือนผู้ปกครองเด็กอย่าปล่อยละเลยให้ลูกหลายทารุณกรรมสัตว์
              ขณะที่ นายอิทธิพล กล่าวว่า สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น มีเครื่องเอกซเรย์ไว้สำหรับสแกนหาสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งสแกนตัวผู้โดยสาร และสัมภาระ ที่ผ่านมาก็สามารถสแกนหาสัตว์ป่าที่ถูกลักลอบนำเข้า หรือส่งออกได้ เป็นการช่วยยับยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่าอีกทางหนึ่ง
             ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากจะมีการจัดโครงการรณรงค์ดังกล่าวแล้ว ยังมีพิธีลงนามความร่วมมือเรื่องการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า ระหว่างสมัชชารัฐสภาอาเซียนและโครงการอาเรส โดยมูลนิธิฟรีแลนด์ อีกด้วย...

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"ย้ำการสืบสวน"


"ย้ำการสืบสวน"

บช.ก.เป็นอีก บช.ที่มีการผลักดันแนวคิดสมัยใหม่เพื่อพัฒนาการทำงานของตำรวจให้เป็นสากล

จากโครงการแรก “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ที่ส่งตำรวจไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่จนได้รับการยอมรับ แต่งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชนถือว่าการสืบสวนจับกุมคนร้ายเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม

เมื่อมาเป็นโครงการ “สืบสวนสมัยใหม่” ให้ความรู้ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนอยู่บนพื้นฐานของศาสตร์ และหลักการที่ถูกต้อง

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้ศึกษาวิจัยจนพบปัญหาการสืบสวน และจำเป็นต้องปรับปรุ

งแก้ไขโดยด่วน ทั้งการจับผิดตัว ปัญหาการสืบสวนค้นหาความจริง

ซึ่งนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องหาสำคัญไม่ได้ จึงได้รวบรวมเทคนิคสืบสวนสมัยใหม่ร่วมกับทีมงานตำรวจมือดีในต่างประเทศ นำเทคนิคการสืบสวนสมัยใหม่มาทำเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมตำรวจในสังกัด บช.ก. แบ่งเป็น 15 วิชา ความรู้เรื่องเหยื่อวิทยา วิธีการล่าเหยื่อของมนุษย์ ซึ่งตำรวจควรต้องรู้ว่ามนุษย์มีธรรมชาติในการล่าเหยื่ออย่างไร

ถือเป็นครั้งแรกในวงการตำรวจไทยที่มีการสอนวิชาการเหล่านี้

ที่ผ่านมา งานสืบสวนเป็นการทำงานแบบตั้งรับ รอให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นก่อน จึงเริ่มสืบสวนหลังเกิดเหตุ จับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี แทนที่จะใช้วิธีการสืบสวนเชิงรุก โดยทำการสืบสวนก่อนหรือขณะเกิดเหตุ ซึ่งช่วยป้องกันเหตุไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นในลักษณะเดียวกันได้ และเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย

ซึ่งมีความสำคัญกว่าการสืบสวนแบบเก่า ที่สืบสวนเฉพาะหลังเกิดเหตุเพื่อติดตามจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุไปแล้ว

ตำรวจสมัยใหม่ต้องมีความรู้คนร้ายในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ คนร้ายทั่วไป ฆาตกรผิดปกติทางจิต ฆาตกรผิดปกติทางอารมณ์ และฆาตกรสติแตก

ตำรวจต้องวิเคราะห์ประเภทคนร้ายให้ถูกต้อง หากไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ จะทำให้วิเคราะห์ผิด และนำไปสู่การจับผิดตัว เพื่อหา

เหตุผลในการกระทำผิดของคนร้าย แต่คนร้ายหลายประเภทที่ไม่สามารถใช้เหตุผลปกติอธิบายได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งของการ “จับแพะ” ถ้าไม่รู้จักเรียนรู้การสืบสวนสมัยใหม่ จะทำให้มีโอกาส “จับแพะสูง”

ในช่วงปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะเปิดประตูสู่ประชาคมโลก จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการสืบสวนของตำรวจให้มีคุณภาพมีความเป็นมืออาชีพ

มีความเป็นสากลที่นานาชาติยอมรับและเชื่อถือ.

สหบาท

ขอขอบคุณ
- นสพ.ไทยรัฐ วันจันทร์ น.6
- http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/310363

/CPO.TH

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตำรวจ ผู้รับใช้ชุมชน ‎"ภาค 3 เดินหน้า"

‎"ภาค 3 เดินหน้า"

แนวทางการทำงานของตำรวจ ทั้งในอเมริกา ยุโรป หลายประเทศในเอเชีย รวมทั้งในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ต่างเปลี่ยนแปลงจากการให้ตำรวจเป็นผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย มาใช้แนวทางใหม่

คือ Community Policing Community Policing ที่เริ่มใช้ก่อนในสหรัฐอเมริกา

ความสำเร็จช่วงปลายทศวรรษที่ 17 ขณะที่อาชญากรรมของสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าตำรวจจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด มีการเพิ่มงบประมาณให้ตำรวจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงา

แต่อาชญากรรมก็ไม่ลดลง ซ้ำร้าย การที่ตำรวจบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กลับส่งผลในด้านลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชน

ตำรวจอเมริกาในขณะนั้นประสบปัญหา “ประชาชนไม่รัก อาชญากรรมไม่ลด”

จึงต้องหันหน้าเข้าหาประชาชน ทำหน้าที่รับใช้ให้บริการจนประชาชนให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ แล้วร่วมมือกับประชาชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ผลคือ “ประชาชนรัก อาชญากรรมลด”

ตำรวจหลายประเทศในโลก จึงได้นำ Community Policing ไปใช้ จนประสบความสำเร็จ

พล.ต.ท.เชิด ชูเวช ผบช.ภ.3 ซึ่งมีประสบการณ์และเห็นความสำเร็จของ Community Policing จึงได้มีนโยบายที่จะนำไปใช้ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 3

โดยนำจุดแข็งของตำรวจภูธรภาค 3 ที่มีทีมงานตำรวจซึ่งมีพื้นฐานในการทำงานชุมชนมาในระดับหนึ่งแล้ว มาทำงานเรื่องนี้

เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการยึดถือการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวทาง Community Policing และเป็นไปตามนโยบายของ ผบ.ตร.ดูแลความสงบเรียบร้อยให้สังคมและชุมชน ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศและปัญหายาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 3

เป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ AEC ในปี 2558

ขณะนี้การเตรียมการเรื่อง Community Policing คืบหน้า สามารถเริ่มปฏิบัติงานได้

เริ่มจากปีใหม่ ในเดือน ม.ค.2556 นี้ ทันที.

สหบาท

ขอขอบคุณ
- นสพ.ไทยรัฐ วันศุกร์ น.6
- http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/309706

/CPO.TH

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Community policing to protect children from sexual exploitation


Community policing to protect children from sexual exploitation

http://www.unodc.org/eastasiaandpacific/en/2012/11/community-policing/story.html



Bangkok (Thailand), 14 November 2012
- UNODC and four countries in the Greater Mekong are ramping up efforts to make community policing a tool to fight child sexual exploitation.

During 13-14 November, specialists in community policing delivered training to approximately 250 people - mostly Thai community policing officers and local community leaders - in Bangkok.

Representatives from Cambodia and Viet Nam were also present.

Kicking off the training, Police Lieutenant General Pongpat Chayapan, Commissioner of the Thai Central Investigation Bureau, spoke about the need for the police officers - drawn from almost all provinces in Thailand - to connect with the community.



Mr. Gary Lewis, UNODC's Regional Representative, urged the officers present to "create a protective environment for our children. This minimizes the risk that they will be exploited or abused."

"The Police are a key element in building this protective environment," said Mr. Lewis, "but the Police cannot work in isolation. They need the support of the community."



Participants included 120 Thai Community Policing Officers, 80 Thai Community Leaders and a number of other individuals and organizations including police from Cambodia and Viet Nam. The Commanders of the Specialist Divisions of the Thai Central Investigation Bureau were also present.

The initiative was designed under Project Childhood and will deliver training - which has been jointly developed by the Royal Thai Police, UNODC and World Vision. The agenda covers child protection, children's rights and community strength.

In delivering the training agenda, UNODC and the Royal Thai Police received support from World Vision, Australian Federal Police, UNICEF, Step Ahead, Friends International and ChildLine.

สัมมนา ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"บช.ก. จัดสัมมนาพัฒนาตำรวจผู้รับใช้ชุมชน"

"บช.ก. จัดสัมมนาพัฒนาตำรวจผู้รับใช้ชุมชน"

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 14 พ.ย. ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ ชุมชน (CPO) ตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สั


งคมโดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) และเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง เจ้าหน้าที่องศ์การเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย ผู้แทนตำรวจจากสาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ผู้แทนตำรวจจากประเทศกัมพูชา รวมทั้งสิน 200 คน ร่วมงาน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย. พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากทางนายแกรี่ ลูอิส ผู้แทนส่วนภูมิภาค สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) และคณะเจ้าหน้าที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ โครงการตำรวจรับใช้ชุมชน จึงได้ให้การสนับสนุนให้มีการจัดงานสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้ รับใช้ชุมชนตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคมขึ้น

ผบช.ก. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้เพื่อประเมินการปฏิบัติแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หาจุดอ่อนจุดแข็งเพื่อนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้บรรจุในแผนยุทธศาสตร์ทางสำนักงานตำรวจ แห่งชาติแล้ว และนำไปใช้ในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของทางพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ในเรื่องเสริมสร้างความมีส่วนร่วมเครือข่ายของประชาชนโดยเน้นให้ชุมชน เข้มแข็งในการป้องกันปราบปรามยาเสพติด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน คือการที่ตำรวจนั้นทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองป้องกัน และให้บริการ ซึ่งเป็นหลักการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ระหว่างตำรวจกับชุมชน โดยในต่างประเทศได้ให้ความสนใจกับแนวคิดนี้และถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป.

ขอขอบคุณ
- นสพ.เดลินิวส์ 15 พย.2555 น.13
- http://m.dailynews.co.th/thailand/166726

ติดตามข่าวสารของพวกเราได้ที่
http://www.facebook.com/communitypolicingthailand
/CPO.TH

ผบช.ก. จับมือ UNODC จัดสัมมนาระดับนานาชาติ พัฒนาตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

ผบช.ก. จับมือ UNODC จัดสัมมนาระดับนานาชาติ พัฒนาตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352875979&grpid&catid=19&subcatid=1905

เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 14 พฤศจิกายน ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉ

ายา พันธุ์ ผบช.ก. เปิดการสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (CPO) ตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่าสืบเนื่องจาก หน่วยงานของสหประชาติ โดย UNODC หรือสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ไห้ความสำคัญและมาร่วมเป็นพันธมิตรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) ของ บช.ก. ด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงผู้รับใช้ชุมชน ที่ปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 40 ชุมชน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ที่ผ่านมา UNODC จึงสนับสนุนงบประมาณให้กับ บช.ก. ในการจัดสัมมนาทางเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจทางหลวงผู้รับใช้ชุมชนทั่ว ประเทศ พร้อมผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติ แลกเปลี่ยนความเห็น และหาจุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อนำไปพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID) ผู้แทนตำรวจจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ผู้แทนตำรวจจากกัมพูชา และองค์กรอื่นๆ เข้าร่วมสัมมนารวม 250 คน

สำหรับ Community Policing ถูกบรรจุในยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะนำไปปฏิบัติเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2555-2564 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในเรื่องการเสริมสร้างความมีส่วนร่วม เครือข่ายภาคประชาชนและ บูรณาการทุกภาคส่วน โดยเน้นชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและสร้างจิตสำนึกให้ ประชาชนมีส่วนรับผิดชอบในการป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรม, การแก้ปัญหายาเสพติด, แก้ปัญหาการล่วงละเมิดและกระทำรุนแรงต่อเด็ก สตรี และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน(AEC) ในปี 2558 นี้

ปัจจุบันกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)มาประยุกต์ใช้ทั้งในชุมชนที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะเครือข่าย และลักษณะผสมในหน้างานความรับผิดชอบ โดยได้ดำเนินการมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติเริ่มมีความคุ้นเคยกับทฤษฎี ได้มีการนำไปปฏิบัติ และเริ่มมีผลงานออกมาให้เห็น ทั้งในด้านการลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ประชาชนพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และชุมชนมีความเข้มแข็ง ทำให้การดำเนินงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชนของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้รับ ความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ (นานาชาติ) เช่น ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เป็นต้น

ผบช.ก. กล่าวอีกว่า โดยตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) คือการที่ตำรวจและชุมชนทำงานร่วมกัน เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และให้บริการ (Police and community working together to protect and serve) ทฤษฎีนี้เป็นการปฏิบัติงานเชิงรุก (Proactive) ในการแก้ปัญหาอาชญากรรม โดยมุ่งส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างตำรวจและชุมชน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ลดความหวาดระแวงระหว่างตำรวจกับประชาชน และแก้ปัญหาความไม่เป็นระเบียบของชุมชน โดยเทคนิคนี้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ทฤษฎีนี้มีจุดเริ่มต้นจาก เซอร์ โรเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) ผู้ก่อตั้งตำรวจมหานครลอนดอน หรือ สก็อตแลนด์ยาร์ด ในช่วงศตวรรษที่ 19 เจ้าของคำพูดที่ว่า “ตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจ” (The Police are the Public and the Public are the Police) และถูกสานต่อจนกลายเป็นทฤษฎีโดยโรเบริ์ต โทรจาโนวิค (Robert Trojanowicz) โดยได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 70 ต่อมาแนวทางนี้ได้รับความสนใจ ถูกนำไปประยุกต์ใช้ มีการพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ใช้ป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีประเทศต่างๆ มากกว่า 90% ในโลกนำไปใช้ เช่น ประเทศแคนาดา ประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นต้น

ขอบคุณข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน

ติตตามข่าวสารตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้ที่
http://www.facebook.com/communitypolicingthailand

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยูเอ็นหนุน ตร.ไทย



ยูเอ็นหนุน ตร.ไทย
เมื่อปี พ.ศ.2554 ทฤษฎี ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ได้ถูกบรรจุ ในยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 10 ปี จาก พ.ศ.2555-2564

ทั้งนี้ จาก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้นำ ทฤษฎีนี้มาใช้อย่างได้ผลนั่นเอง

โดยเน้นชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนรับผิดชอบในการป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรม

ล่า สุด องค์การสหประชาชาติ โดยสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AUSAID)

ได้ ให้การสนับสนุนจัดการสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (CPO) ตามโครงการ “คืนชุมชนสีขาวให้สังคม” โดย ตำรวจทางหลวง

ระหว่างวันที่ 13–14 พฤศจิกายนนี้ ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท

ผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน บก.ทล. ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานยา

เสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) รวมทั้ง ตำรวจจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา

ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่หลากหลายของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนที่มาจากทั่วประเทศ

เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือ และพัฒนาความสัมพันธ์กับตำรวจในอาเซียนและนานาประเทศ

โดยเฉพาะเป็นนโยบายการบริหารราชการของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ที่เห็นความสำคัญของชุมชน

ซึ่งสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ กับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย ก็เห็นความสำคัญด้วยเช่นกัน

นับเป็นความพยายามเปลี่ยนแปลงวงการตำรวจและสังคมไทย จากการหันกลับไปหาความร่วมมือจากชุมชน

ด้วยหลักการที่ว่า ประชาชน คือ ตำรวจคนแรก.
สหบาท

ติดอาวุธ-จัดสัมมนาตร.รับใช้ชุมชน เพิ่มศักยภาพป้องกันอาชญากรรม



วันที่ 08 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352336937&grpid=03&catid=19&subcatid=1905
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(ผบช.ก.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ว่า ตามที่พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. มีนโยบายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยให้เสริมสร้างความมีส่วนร่วม เครือข่ายภาคประชาชนและบูรณาการทุกภาคส่วน โดยเน้นชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและสร้างจิตสำนึกให้ ประชาชนมีส่วนรับผิดชอบในการป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาประยุกต์ใช้ใน ชุมชนที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะเครือข่าย และลักษณะผสมในหน้างานความรับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติเริ่มมีความคุ้นเคยกับทฤษฎี  และเริ่มมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั้งในด้านการลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ประชาชนพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และชุมชนมีความเข้มแข็ง ทำให้การดำเนินงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชนของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้รับ ความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภายในประเทศและนานาชาติ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เป็นต้น

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่า เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นโอดีซี และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่ง ออสเตรเลีย (AusAID) ได้จัดการสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (CPO) ตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคม โดยตำรวจตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจ ผู้รับใช้ชุมชน  (Community  Policing) ระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย.นี้ ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท  ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานทั้งราชการและภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจ และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่หลากหลายของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ ชุมชนทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์กับตำรวจในอาเซียน และนานาประเทศ ตามนโยบายการบริหารราชการของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญโดยได้บรรจุเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารราชการสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติด้วย

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เห็นผลงาน

คอมลัมน์สหบาท หนังสือพิม์ไทยรัฐ
7 พฤศจิกายน 2555
http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/304066
.

เห็นผลงาน

ตำรวจยุคใหม่ในวันนี้ ยุทธศาสตร์ในการทำงาน ถือเป็นนโยบายหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


คือการเข้าถึงประชาชน ดึงมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับตำรวจ

ตำรวจหน่วยต่างๆ พยายามผลักดันนโยบายนี้เพื่อให้บรรลุผลเห็นเป็นรูปธรรม แม้ว่าจะยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

นายมงคล ชูดำ กับ น.ส.ณัฐวดี จันทราช ผัวเมีย มีอาชีพรับจ้างทั่วไป อยู่บ้านเลขที่ 58/181 ซอยมิตรประชา ชุมชนคอหงส์ 6 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

บอกว่า ประทับใจในความมีน้ำใจของตำรวจทางหลวง หาดใหญ่ จึงเล่ามาให้ สหบาท ฟัง

ปกตินายมงคลกับเมียต้องออกจากบ้านไปรับจ้างทำงานทั่วไป มีลูกชาย 1 คนชื่อ ด.ช.เตชะสิทธิ์ ชูดำ อายุ 1 ขวบ ให้พ่อตาแม่ยายเลี้ยงอยู่ที่บ้านดังกล่าว โดยที่ลูกชายมีโรคประจำตัวมาแต่กำเนิด “โรคลมชักบ้าหมู”

วันหนึ่ง พ่อตาแม่ยายโทรศัพท์บอกว่า ลูกชายป่วยหนักหายใจไม่ออก หมดสติ ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายมงคลจึงได้รีบตามไปดูพบว่าอยู่ในห้องไอซียู อาการน่าเป็นห่วง สอบถามหมอบอกว่าหากเด็กมาถึงโรงพยาบาล ช้ากว่านี้ อาจจะเสียชีวิตก็ได้

สอบถามพ่อตาก็ทราบว่ามี ตำรวจทางหลวงหาดใหญ่ เป็นผู้นำตัว ด.ช.เตชะสิทธิ์ มาส่งโรงพยาบาล จึงได้ตามไปสถานีตำรวจทางหลวง เพื่อขอบคุณ

พบกับ พ.ต.ท.บรรพต เดชมา สารวัตร ร.ต.ต.จรัส สุวรรณมณี และ ด.ต.ศุภกิตติ์ ปิ่นพรม

อธิบายให้ฟังว่า ในชุมชนที่นายมงคลอยู่นั้น มีตำรวจทาง หลวงหาดใหญ่ เข้ามาทำโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่มุ่งแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชน

ตำรวจทางหลวงหาดใหญ่ จึงได้เข้าไปทำโครงการในชุมชนดังกล่าว

นำรถพยาบาลและรถกระบะของตำรวจทางหลวงมาจอดไว้เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เมื่อลูกชายนายมงคลเกิดป่วยกะทันหัน จึงสามารถนำตัวส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงที

เพราะโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนี่เอง!!!

สหบาท

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โครงการ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ต้องเป็นนโยบายรัฐบาล

ต้องเป็นนโยบายรัฐบาล
ข่าวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก : เลียบค่าย โดยชัยกร ใบเงิน
6 พฤศจิกายน 2555












 

โครงการ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ถูกบรรจุเป็นนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. นำมาทดลองใช้ที่ สน.บางขุนนนท์ ครั้งที่เป็นผู้บังคับบัญชาอยู่
ตำรวจในต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐ นำไปใช้เป็นยุทธวิธีปราบปรามเหล่าอาชญากรโดยใช้คนในชุมชนเป็นหูเป็นตาจนได้ ผล สถิติอาชญากรรมลดลงเป็นอย่างมาก
แนวคิดเรื่องนี้จึงเริ่มกระจายไปสู่เมืองใหญ่ที่มีปัญหาอาชญากรรมสู

งทั่วโลก
ต่อมา บช.ก.นำหนังสือที่เขียนอธิบายโครงการดังกล่าวมาแปลและปรับใช้ มีโครงการนำร่องตามมาอีกมากมาย
กระทั่งพล.ต.ท.เชิด ชูเวช ผบช.3 สมัยที่อยู่ บช.ก.เห็นถึงความสำเร็จและกำลังนำไปใช้ทั่วภาคอีสานตอนล่าง เพื่อลดยาเสพติด อาชญากรรม และรองรับประชาคมอาเซียน
เนื่องจาก บช.ภ.3 มีเขตติดต่อกับเพื่อนบ้านถึง 2 ประเทศ จึงต้องนำโครงการแบบนี้มาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ ตำรวจไทย
แม้ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" จะเป็นโครงการที่ไม่หวือหวา ต้องใช้ระยะเวลาพิสูจน์ให้ชาวบ้านได้เห็นจึงต้องค่อยๆ ทำ รวมถึงการจัดหางบประมาณมารองรับด้วย
เรื่องนี้ในตอนแรก ผบช.ก. ไม่คิดว่าจะมีผู้ใหญ่ระดับประเทศให้ความสนใจ จึงทำไปตามกำลังพลที่มีอยู่ ทำตามงบประมาณที่มีจำกัด
แต่ปรากฏว่า พล.อ.มนตรี ศุภาพร อดีตจเรทหารทั่วไป และประธานมูลนิธิเอกชนพัฒนาภูมิภาค ได้ติดตามโครงการดังกล่าวและยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเพื่อรองรับเออีซี
ในวันที่มีการประชุมของมูลนิธิดังกล่าวยังมี ศ.วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์ เห็นด้วยกับเรื่องนี้พร้อมยกตัวอย่างจนเห็นภาพว่า "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" เปรียบเหมือนกับฟันต้องทำให้เหงือกแข็งแรงฟันถึงอยู่ได้ ไม่ใช่มาอุดฟันที่ผุไม่ได้ประโยชน์และอยากให้รัฐบาลให้การสนับสนุน
หรือแม้แต่นายสุพจน์ จันทน์ขาว อดีตรอง ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ก็เห็นด้วยกับแนวทางนี้เชื่อว่า จะทำให้ประเทศเข้มแข็ง
ถ้ารัฐบาลลงมาศึกษาหรือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปอธิบาย ถ้าโครงการแบบนี้มีประโยชน์ก็ควรนำมาบรรจุเป็นนโยบายเพื่อผลักดันต่อไป
http://www.komchadluek.net/detail/20121106/144051/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html#.UJkcYmcsHNU