จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555





ผลักดันทฤษฏีตำรวจรับใช้ชุมชนทั่วประเทศ

 พลตำรวจตรีเชิด ชูเวช รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางพร้อมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ระดับรองผู้บัญชาการ ให้การต้อนรับ นายอิสระพัฒน์ ธีรพัฒน์สิริ ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เข้าร่วมรับฟังทฤษฏี “ตำรวจรับใช้ชุมชน” โดยมีผู้บังคับการในสังกัด บชก.ร่วมรับฟังข้อมูลด้วย ผ่านโปรแกรมสไกป์เพื่อพูดคุยกับ นายสุธรรม เชื้อประกอบกิจ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารกระบวนการยุติธรรมคณะสังคมวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยเคนนิซอสเดท สหรัฐอเมริกา

พลตำรวจตรีเชิด กล่าวว่า ทฤษฏีดังกล่าวจะนำตำรวจไปคลุกคลีกับประชาชนในชุมชน และประชาชนจะให้ความร่วมมือในการทำงานกับตำรวจ โดยแตกต่างกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ที่จะเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเท่านั้น และเมื่อตำรวจไปคลุกคลีกับประชาชนจะทราบความเป็นไปของชุมชน ส่งผลลดการเกิดอาชญากรรมได้ซึ่งกว่า 100 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ทฤษฏีนี้ และได้ผลในการลดอาชญากรรม โดย บชก.ได้มอบหมายให้แต่ละ บก. นำตำรวจสองนายไปคลุกคลีกับชาวบ้านชุมชนต่าง ๆ มาแล้วกว่า 1 ปี ซึ่งแต่ละชุมชนสามารถลดการเกิดการอาชญากรรมได้

ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังใช้การทำงานแบบเก่าคือกวาดล้างจับกุม ปราบปราม และแถลงข่าว และได้ผลแค่ระยะสั้นเท่านั้น หากดูสถิติอาชญากรรมย้อนหลังแต่ละปี จำนวนอาชญากรรมไม่เคยลดลง ทาง บชก.จึงเตรียมเสนอทฤษฏีนี้ต่อพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ระยะยาวต่อไป

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก ช่องสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7


ถอดสาระสำคัญจากรายงาน
ผลการปฏิบัติงานโครงการ "ตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชน" (Community Policing)
กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จัดทำโดย
คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลโครงการ ตำรวจกองปราบรามผู้รับใช้ชุมชนของกองบังคับการปราบปราม

พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ 2
- พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เป็นผู้บุกเบิกนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน และทฤษฎีหน้าต่างแตกมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานตำรวจไทย

- เมื่อครั้ง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ครองยศ พล.ต.ต. ตำแหน่ง ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (ผบก.ป.) ได้กำหนดให้ กก. 1-6 และกก.ปพ.บก.ป. ทำ
โครงการตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)

- มีการฝึกอบรมหลักสูตรให้ตำรวจผู้ปฏิบัติ

- ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ 3 เดือน (กันยายน - พฤศจิกายน 2550)

- ตั้งศูนย์ 24 ชั่วโมง ในชุมชน 7 แห่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล คือ
ชุมชนซอยลาดพร้าว 21  ถ.ลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร
ชุมชนสหกรณ์ 93 
แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก
ชุมชนวัดบางน้ำชน  ถ.เจริญกรุง แขวงบุคคโล เขตธนบุรี
ชุมชนประชาร่วมใจ หลังสถานีรถไฟบางเขน เขตจตุจักร
ชุมชน
เป็นสุข ซ.อินทามะระ 10 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
ชุมชนซอยสวนเงิน ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราช
เทวี
ชุมชนซอยดรุณ แขวงและเขตดินแดง

- พ.ต.อ.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ รอง ผบก.ป. (ยศตำแหน่งในขณะนั้น) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล
โครงการตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชนของกองบังคับการปราบปราม

- เอกสารชิ้นนี้เป็นผลการปฏิบัติการอิงหลักวิชาการจัดทำรายงานเพื่อรวบรวม
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้อมูล ข้อเท็จจริง และผลการปฏิบัติ

- ทฤษฎีหลักๆที่นำมาประยุกต์ใช้ คือ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ทฤษฎีหน้าต่างแตก และทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
- ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นผู้นำทฤษฎีควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อมเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเพื่อให้นำหลักการวางผังเมืองมาประยุกต์
ใช้ คำนึงถึงความสำคัญของการป้องกันและคาบคุมอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย

- โครงการนี้มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจแนวคิด ปรัชญา และหลักการปฏิบัติงานตำรวจ ลักษณะที่มุ่งผลสำเร็จต่อการลดความหวาดระแวงของ
ประชาชน พร้อมกับลดจำนวนคดีอาชญากรรมในคราวเดียวกัน

- เป็นงานปลูกฝังวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ "งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ที่มีคุณประโยชน์ต่อชุมชน สถาบันตำรวจ และสังคมโดยรวม
- เป็นแนวทางตำรวจเชิงรุก (Proactive Policing)

- แนวทางแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลดี คือ การมุ่งเน้นการป้องกัน มากกว่า การปราบปรามอาชญากรรม

- แนวคิดเดิม "ประชาชนช่วยตำรวจ" เปลี่ยนเป็น "ตำรวจช่วยประชาชน"

- งาน ป้องกันบางทีไม่น่าสนใจเท่างานปราบปรามเพราะอยู่เบื้องหลัง สู้มือปราบไม่ได้ทำงานเดียวก็ดัง แต่มือป้องกันทำงานอยู่หลายปี ยังไม่ค่อยมีใครถามถึง  

- ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์นั้นแตกต่างกัน

- ปัญหาที่จอดรถ ขยะ หนู ท่อน้ำอุดตัน ก็เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมตามโครงการนี้ด้วย

- ความสำเร็จขึ้นอยู่กับประชาชน ไม่ใช่ความเก่งกาจของตำรวจ

- ความสำเร็จระดับสูงสุด คือ ประชาชนในชุมชนไม่มีความหวาดระแวงภัยอาชญากรรม เนื่องจากประชาชนในชุมชนร่วมมือป้องกันอาชญากรรมได้ด้วย
ชาวชุมชนเอง โดยมีตำรวจเป็นแกนหรือคอยช่วยเหลือสนับสนุน

- ถึงแม้ระยะเวลาการดำเนินการสั้นๆ ยังไม่สามารถสรุปผลหรือหาข้อยุติได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นประโยชน์มากในการเรียนรู้ทำความเข้าใจผู้ปฏิบัติ
และผู้เกี่ยวข้อง

- ผลสำเร็จหนึ่งของโครงการทำให้คนในชุมชนเกิดความไว้วางใจแจ้งข้อมูลเบาะแสยาเสพติดจนนำไปสู่การจับกุมได้จำนวนหนึ่ง

- จากการตรวจสอบข้อมูลคดีอาชญากรรมจากตำรวจท้องที่พบว่า ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการไม่มีเหตุอาชญากรรมร้ายแรงในรอบ 3 เดือนที่เข้าไปดำเนิน
โครงการ
- สมควรที่จะนำไปเป็นประยุกต์เป็น "ตัวแบบ" (Model) ในการป้องกันอาชญากรรมของตำรวจไทย ในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 เพื่อประชาชนในชุมชนอื่นๆทั่วประเทศต่อไป

- ยุติธรามสมานฉันท์ (Restorative Justice) และยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ล้วนสอดรับหรือเป็นแนวทางเดียวกับตำรวจผู้รับใช้ชุมชนทั้งสิ้น รวมทั้ง
ยังสอดรับ กับแรวคิดชุมชนเข้มแข็ง หรือพลังแผ่นดินต่อต้านยาเสพติด หรือแม้กระทั่งแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีวัตถุประสงค์ให้ครอบครัว ชุมชน พึ่งพาตนเองได้

- การป้องกันต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมในชุมชน ประกอบกับ งานจับกุมปราบปรามต่างหากที่จะเป็นคำตอบของความสำเร็จในการทำงานตำรวจ
- ความเป็นจริงที่ดำรงอยู่กับวงการตำรวจบ้านเราในปัจจุบัน ย่อมไม่ใช่เรื่องปุบปับที่ทำได้ง่ายๆ หรือทำได้เร็วๆอย่างที่ใจต้องการ
- การเปลี่ยนแปลงโดยเหมาะควร ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างและปลูกฝังความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องก่อน จึงเกิดการปฏิบัติ และผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

..........LL..........

youtube


 
 27 มกรคา 2554
 

'ผู้รับใช้ชุมชน'ปรับวงจรชีวิตตร.

'ผู้รับใช้ชุมชน' ปรับวงจรชีวิต..ตำรวจ : ตะลุยข่าว โดยโต๊ะรายงานพิเศษ

               "...ยังจำได้ไหมว่า เคยเป็นคนเก่ง เคยมีอุดมการณ์ แต่เมื่อมาปฏิบัติหน้าที่แล้ว อุดมการณ์ก็ยิ่งลดน้อยลง คนดีคนเก่ง ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม ต้นทุนทางสังคมต่ำทันทีเมื่อสวมเครื่องแบบ..." หนึ่งในประโยคเด็ดจากพรีเซนเทชั่น เรื่อง "วงจรชีวิตตำรวจ" ซึ่งสะท้อนภาพวงจรชีวิตตำรวจที่แรกๆ ก็ยังมีอุดมการณ์ยังแรงกล้า พออยู่นานไป อุดมการณ์กลับหดหาย ขณะเดียวก็สะท้อนภาพอีกแง่มุมของตำรวจที่ดีรับใช้ชุมชน...ปรากฏอยู่ภายใน ห้องประชุมกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง 

               ต่อสายตาของ ดร.อิสระพัฒน์ ธีรพัฒน์สิริ และ ดร.สิรภพ รักษ์ธนธัช ผู้เชี่ยวชาญสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมาร่วมรับฟังและเสนอแนะแนวคิด "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ให้แพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาค ก่อนจะนำแนวคิดดังกล่าวไปหาข้อสรุปร่วมกับ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ถึงการให้ตำรวจทั่วประเทศนำแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติ

               ทั้งนี้  "ตำรวจรับใช้ชุมชน" เกิดจากแนวคิดของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เป็นผู้ผลักดันให้ตำรวจไทยรู้จักและใช้วิธีการทำงานตำรวจสมัยใหม่ เน้นการบริการ ป้องกัน ปราบปราม มุ่งลดความหวาดระแวง ตำรวจและประชาชนเป็นหุ้นส่วนต่อกัน และแนวความคิดนี้ได้มีการนำไปใช้ในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในเรื่องการลดอาชญากรรม จึงมีการศึกษาและนำมาทดลองในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ยังเป็นหัวหน้า สน.บางขุนนนท์ เมื่อปี พ.ศ.2535 จนกระทั่งมาเป็น ผบช.ก.จึงมีการผลักดันอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่การจัดนิทรรศการตำรวจยุคใหม่ไม่ทำผิด, เปิดโรงเรียนตำรวจนอกเวลา และในที่สุดกลายเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2555-2564

               ระหว่างการประชุม ร.ต.อ.ศ.ดร.สุธรรม เชื้อประกอบกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สไกป์ข้ามประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยความคิดเห็น พร้อมยกตัวอย่าง ในอเมริกามีการนำแนวคิด "ตำรวจรับใช้ชุมชน" มาใช้ สามารถช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างดี เพราะความช่วยเหลือจากเครือข่ายภาคประชาชน
 
               ดร.อิสระพัฒน์ ยอมรับว่า เป็นแนวคิดที่ดี ต้องมีการสนับสนุนให้ตำรวจไม่ใช่ต้นทางของปัญหาเสียเอง จึงต้องทำให้ตำรวจนั้นเป็นสีขาวเสียก่อน และจากระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่รองรับและสนับสนุนการทำงานในแนว คิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ด้วยการส่งตำรวจลงไปฝังตัวในแต่ละชุมชนนั้น อยากเสนอแนะว่า ควรให้ตำรวจที่จะลงไปรับใช้ชุมชนนั้นเป็นตำรวจที่มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชน นั้นๆ จริงๆ จะทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกดี และช่วยให้แนวคิดตำรวจรับใช้ชุมชนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

               ด้าน  พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. กล่าวว่า ขณะนี้ชุมชนทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 8 หมื่นแห่ง มีสถานีตำรวจ 1,460 สถานี การส่งตำรวจลงไปเหมือนเป็นการฉีดยาลงไปในเซลล์แตกตัวลงไปในชุมชนเพื่อลดความ รุนแรงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น จึงต้องสร้างตำรวจที่เป็นผู้รับใช้ชุมชนก่อน เพื่อเรียนรู้กับชุมชน ซึ่งจะต่างจากตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่จะเข้าไปในชุมชน แต่ไม่ได้เข้าไปฝังตัวกับชาวบ้าน

               พ.ต.ท.วรวุฒิ คุณะเกษม รอง ผกก.5 บก.ป. เสริมว่า ตอนนี้ก็ได้มีการนำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชนลงไปใช้ในชุมชนเซิงหวายแถว ดอนเมือง โดยการคัดเลือกตำรวจ 2 นาย จาก บก.ปอศ. ที่มีจิตอาสาเข้าไปใช้ชีวิต ฝังตัว กินนอนอยู่ในชุมชนนี้ ไปอยู่เหมือนเป็นเพื่อนบ้าน ที่เข้าไปดูปัญหาของชุมชน มีปัญหาอะไรก็ช่วยแก้ไข ตั้งแต่ประมาณปีที่แล้ว ซึ่งผลตอบรับที่ได้ก็ถือว่าดี และชาวบ้านก็พอใจมาก !!

............

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก คม ชัด ลึก