จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

กองปราบเปิด "มอเตอร์ไซค์รับใช้ประชาชน"


 

 


วันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555 เวลา 13:08 น.

กองปราบเปิด "มอเตอร์ไซค์รับใช้ประชาชน"

 

วันนี้ (28 เม.ย.) ที่กองบังคับการปราบปราม พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป. ประธานในงาน พร้อมด้วย พ.ต.อ.ปิยะเจริญสุข  ผกก.1 บก.ป. ร่วมกันเปิดโครงการ "มอเตอร์ไซค์รับใช้ประชาชน" ตามหลักเกณฑ์ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนและหลักการตำรวจสมัยใหม่ 5 ทฤษฎี 1 หลักการ ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ซึ่งมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมจากชมรมมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ต่างๆ จากทั่วประเทศกว่า 100 คน

พ.ต.อ.ประสบโชค กล่าวว่า  โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ช่วยเปลี่ยนทัศนคติและลดช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่รถ จักรยานยนต์กับตำรวจให้ดีขึ้น ให้ตำรวจกองบังคับการปราบปรามได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่วางแผนสนับสนุน และให้คำปรึกษาแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้ตำรวจกองบังคับการปราบปรามได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่วางแผนสนับ สนุน และให้คำปรึกษาแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในการป้องกันอาชญากรรม โดยกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ประพฤติตนอย่างถูกต้อง ภายใต้กฎหมายและกติกาของสังคม เพื่อเป็นโครงการแบบอย่างให้กับโครงการอื่นๆ ต่อไป

"ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีผู้เข้ามาร่วมอบรมโครงการ มอเตอร์ไซค์รับใช้ประชาชน เป็นจำนวนมากซึ่งหลังจากการอบรมในวันนี้แล้ว หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เข้าร่วมอบรมรวมทั้งเครือข่ายของแต่ละ กลุ่มที่จะร่วมกันเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ว่าจะเป็นกองบังคับ การตำรวจปราบปรามเองก็ดี หรือตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร และสามารถนำแนวทฤษฎีหลักการของตำรวจสมัยใหม่ 5 ทฤษฎี 1 หลักการ ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สังคม และประเทศชาติต่อไป"  พ.ต.อ.ประสพโชค กล่าวทิ้งท้าย.

ขอขอบคุณ ข้อมุลจาก เดลินิวส์

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.เจรจาร่วมมือสหประชาชาติ


 วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 14:01 น.

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.เจรจาร่วมมือสหประชาชาติ

วันนี้ ( 24 เม.ย.) ที่สำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้เจรจาทำความร่วมมือกับสหประชาชาติ(UNODC)  หรือสำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ในประเทศไทยและประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีนายแกรี่ ลิวอิส ผู้แทนสำนักงาน UNODC แห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และคณะผู้บริหารเข้าร่วมพิธี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเจรจาทำความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากทางUNODC ได้เห็นด้วยกับแนวทางของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การนำของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่และผลักดันทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน หรือ Community Policing ในประเทศไทย จนได้รับการยอมรับให้บรรจุในยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2564 โดยถือว่า ตำรวจหลายประเทศได้นำทฤษฎีดังกล่าว ไปใช้ในการลดปัญหาอาชญากรรมเป็นผลสำเร็จ ทางUNODC จึงติดต่อขอความร่วมมือกับ บช.ก. เพื่อขานรับและสนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะเริ่มใช้มาตรกรสากลมาปรับเปลี่ยนการทำงานของทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจให้มีศักยภาพมากขึ้นในการเข้าประชาชน โดยจะชูเรื่องปัญหาในเด็กและเยาวชนเป็นหลัก เนื่องจากปัจจุบันจะพบว่า เด็กและเยาวชนมีอัตราการก่อปัญหาอาชญากรรมและปัญหายาเสพติดที่สูงขึ้น คาดว่าจะประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลา 5 ปี

ขอขอบคุณข้อมุลจาก เดลินิวส์

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ไทยรัฐ สหบาท ไม่มองข้ามผลงาน

 
19 เมษายน 2555
ส่องตำรวจ


เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องของชุดตำรวจ กก.5 บก.ป. ที่มี พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ที่เพิ่งขึ้นมาเป็น ผกก.ปพ.บก.ป. พ.ต.อ.อภิชัย ดุษฎีพฤฒิพันธุ์ เพิ่งเป็น ผกก.3 บก.ทล. จ.ส.ต.มนัส มังน้อย ผบ.หมู่ กก.5 บก.ป. จ.ส.ต.วิชัย จำเริญ ผบ.หมู่ กก.5 บก.ป. ได้ร่วมกับ ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม จัดงานรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อสืบสานประเพณีไทยใน วันสงกรานต์ ทีมงานตำรวจได้มอบเงินให้กับผู้นำชุมชนและมอบของที่ระลึกให้กับผู้สูงอายุ
โดยมีบุคคลสำคัญในพื้นที่ร่วมงาน อาทิ นายกเทศมนตรีตำบลศาลายา และ ลุงเอี่ยม ผู้ที่เสียสละบริจาคเงินให้กับวัดไร่ขิง อ.สามพราน
เป็น ส่วนหนึ่งของ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้สานต่อโครงการตำรวจผู้รับใช้ ชุมชนที่ริมคลองมหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม มาตั้งแต่เดือน ก.ค.2554
โครงการ ได้ประสบความสำเร็จ จนทำให้ประชาชนในชุมชนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น จนทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างประชาชนกับตำรวจ ช่วยให้อาชญากรรมและยา เสพติดในชุมชนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
จากความ ตั้งใจในการสานต่อนโยบายสำคัญของหน่วย บช.ก. พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ได้พิจารณาให้เป็น ผู้ชนะเลิศ โครงการ หนึ่ง ผลงานหนึ่งตำแหน่งหรือ โครงการ OTOP” ของ บช.ก.
พ.ต.อ.อธิปได้ขยับเป็น ผกก.ปพ.บก.ป. และ พ.ต.อ.อภิชัยได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็น ผกก.3 บก.ทล.
พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ได้แสดงให้ตำรวจได้เห็นเป็นตัวอย่างว่า ถ้าตำรวจ บช.ก.อยากได้รับความก้าวหน้า ต้องแข่งกันทำงาน ตามแนวทางตำรวจสมัยใหม่ หรือตามแนวทาง 5 ทฤษฎี 1 หลักการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ได้นำมาขยายเพื่อให้องค์กรตำรวจได้พัฒนาทันประเทศอื่น
แค่ความตั้งใจทำงานในหน้าที่ตำรวจอย่างเต็มที่จนได้รับการยอมรับจากประชาชน ไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นให้วุ่นวาย
เพราะความสำเร็จสูงสุดของงานตำรวจ อยู่ที่ความพึงพอใจของชุมชน.

สหบาท
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมภ์สหบาท 

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

"พงศ์พัฒน์"เดินหน้านโยบาย "5 ทฤษฎี 1 หลักการ" ลดหวาดระแวงของประชาชน

"พงศ์พัฒน์"เดินหน้านโยบาย "5 ทฤษฎี 1 หลักการ" ลดหวาดระแวงของประชาชน

Pic_253107 “หยุด...กลับหลังหัน เริ่มต้นใหม่ เพื่อการรับใช้ที่ดีกว่า” เป็นนโยบายสำคัญของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ทันทีที่เข้ามารับตำแหน่ง ผบช.ก.

จากประสบการณ์ในชีวิตตำรวจที่ผ่านทั้งงานสืบสวน สอบสวน สายตรวจ   ได้รับความไว้เนื้อ เชื่อใจทำงานร่วมกับหน่วยงานตำรวจสำคัญในต่างประเทศ ได้เห็นระบบการทำงานที่ทันสมัย พยายามคิดหาวิธีการเพื่อปรับเปลี่ยนให้ตำรวจไทยเป็นที่ยอมรับ ได้เรียนรู้ ได้คิด ได้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นสากล ไม่ทำลายองค์กรตำรวจ

จนเข้ามา รับตำแหน่ง ผบช.ก.ได้ประกาศนโยบาย “ตำรวจกลับหลังหัน” หรือ Turn   around ซึ่งเป็นการทำงานของตำรวจยุคใหม่ ที่ศึกษามาจากแนวคิดของ Willian Bratton อดีตผู้บัญชาการตำรวจลอสแอนเจลิส ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากวงการตำรวจว่า เป็นตำรวจที่เก่งที่สุดในรอบ 100 ปี

เป็นเครื่องสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของตำรวจเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคนี้

จากนโยบาย “ตำรวจกลับหลังหัน” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ แต่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ต้องการสื่อสารตำรวจต้องเลิกทำในเรื่องที่ทำผิดๆ ตั้งแต่วิธีคิด วิธีปฏิบัติ จนถึงเป้าหมายของงานตำรวจ

แล้วหันมาทำในสิ่งที่ถูกต้องตามแนวทางที่ เป็นสากล ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเขาคิดและทำกัน

เคย มีการศึกษาวิจัยกันมานานแล้วว่า การที่ตำรวจมุ่งลดอาชญากรรมโดยใช้การจับกุมและใช้ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ไม่เคยทำให้อาชญากรรมลดลง

แต่การทำงานตามแนวทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ ชุมชน (Community Policing) ที่มุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างตำรวจกับประชาชน จนเกิดการร่วมมือกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนและประชาชน ที่สำคัญคือมุ่งลดความหวาดระแวง จะทำให้อาชญากรรมค่อยๆลดลงได้เอง

หาก ต้องการให้อาชญากรรมลด สังคมสงบสุข ตำรวจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติและเป้าหมาย โดยเปลี่ยนเป้าหมาย จากมุ่งจับกุมเพื่อลดอาชญากรรม เป็นมุ่งลดความหวาดระแวงภัยของประชาชน (Fear Reduction) เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ

จากเดิมที่ตำรวจเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายไป สู่ประชาชน (Top Down) เปลี่ยนเป็นรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชน แล้วนำมากำหนดเป็นนโยบาย (Bottom Up) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน

ใน การปฏิบัติของตำรวจ ถ้าเรามุ่งที่จะจับกุม มุมมองของตำรวจต่อประชาชน จะเป็นไปในลักษณะผู้ที่คอยจับผิด ประชาชนมองตำรวจด้วยความหวาดระแวงไม่ไว้ใจ เพราะเจอตำรวจอาจถูกจับ ตำรวจถูกกดดันจากนโยบายที่วัดผลงานจากสถิติจับกุมทำให้ต้องหาทางจับกุมให้ ได้มากๆไม่คำนึงว่าอะไรคือความต้องการหรือปัญหาที่ประชาชนอยากให้ตำรวจช่วย เหลือ ทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับประชาชน ตลอดจนจับผิดตัว

ทุก วันนี้ตำรวจกับประชาชน มีโอกาสเจอกันตอนที่เกิดเรื่อง หรือประชาชนทำความผิด ทำให้ตำรวจและประชาชนห่างกันออกไปเรื่อยๆ ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึงเป็นเรื่องที่ตำรวจต้องรีบแก้ไข เพราะทำไปแล้วประชาชนก็ไม่รัก อาชญากรรมก็ไม่ลด แก้ปัญหาก็ไม่ได้

จึงไม่แปลกที่นโยบาย บช.ก.ในยุคนี้ เน้นเป้าหมายเพื่อลดความหวาดระแวงภัยของประชาชน โดยให้ประชาชนเกิดความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัย เมื่อเดินในสถานที่เปลี่ยว ในเคหสถาน ในการใช้ชีวิตประจำวัน ฯลฯ สำหรับวิธีการมุ่งสู่เป้าหมาย ต้องใช้หลักการทำงานของตำรวจสมัยใหม่

ประกอบ ด้วย 5 ทฤษฎี กับ 1 หลักการ คือ 1.ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforce-ment Approach) โดยการทำหน้าที่จับผู้ร้าย 2.ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์  (Police Community  Relations) โดยทำหน้าที่เป็นเพื่อนของชุมชน  3.ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ 4.ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม (C.P.T.E.D.) โดยทำหน้าที่เป็นนักวางแผนป้องกัน 5.ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตราความเรียบร้อย

1. หลักการพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชน (C.O.P.P.S) โดยทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์และแก้ปัญหาการทำงานของตำรวจตามแนวทางดังกล่าว จะทำให้ตำรวจไม่ใช่หน่วยงานที่คอยแต่จะมุ่งหน้าจับกุมถือเป็นการเปลี่ยนโฉม หน้าองค์กรตำรวจ...

สอดคล้องแนวคิด พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.ที่หาระบบที่ดีเพื่อให้งานตำรวจมีประสิทธิภาพจากหน่วยงานบังคับใช้ กฎหมายเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองและให้บริการ (Protect and Serve) ซึ่งเป็นหัวใจที่แท้จริงของตำรวจ หากทำได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวทาง 5 ทฤษฎี กับ 1 หลักการ ตำรวจจะทำงานอยู่กับประชาชน ได้รับข้อมูลข่าวสาร และปัญหาโดยตรงจากประชาชน ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างตรงตามความต้องการของประชาชน

การ เปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลา หากเปลี่ยนได้ใน 5 ปี 10 ปี ถือว่าเร็วมาก ยิ่งการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตำรวจยิ่งยากเป็นพิเศษ ต้องเจอการต่อต้านต่างๆมากมาย แต่ก็ต้องทำ เพราะหากไม่เริ่มลงมือเปลี่ยนแปลงกันตั้งแต่วันนี้ ยังคงใช้วิธีการแบบเดิมๆ ทำกันมาอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้น

หากตำรวจเลือกทำเพียงหน้าที่เดียว คือ การบังคับใช้กฎหมาย สถานการณ์ก็คงเป็นอย่างทุกวันนี้ ไม่มีอะไรดีขึ้น ยังไม่เห็นทางออก สุดท้ายองค์กรตำรวจอาจไปไม่รอด

แต่หากพวกเราช่วย กันคนละไม้คนละมือ ศึกษาและตั้งใจนำความรู้ตำรวจสมัยใหม่ไปใช้อย่างจริงจัง ทำหน้าที่ครบทั้ง 6 ด้าน ตามแนวทาง 5 ทฤษฎี กับ 1 หลักการ จะทำให้ตำรวจสามารถทำงานอยู่กับประชาชน ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารและปัญหาโดยตรงจากประชาชน สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างตรงตามความต้องการของประชาชน ที่สำคัญจะทำให้ความหวาดระแวงของประชาชนลดลง แล้วอาชญากรรมจะลดลงตาม ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างแท้จริง สังคมจะมีความสุข ตำรวจก็จะมีความสุข ไม่ต้องทุกข์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ย้ำกับ “ทีมข่าวอาชญากรรม” ว่า “นโยบายตำรวจกลับหลังหัน ตำรวจทั่วไปมักเข้าใจว่า หมายถึงเฉพาะเรื่องผลประโยชน์  แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการสื่อให้ตำรวจทั่วไปได้รู้ว่า เราจะต้องเลิกทำในเรื่องที่ทำผิดๆอยู่  ตั้งแต่วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ตลอดจนถึงเป้าหมายของงานตำรวจ แล้วหันมาทำในสิ่งที่ถูกต้อง คือ ถูกต้องตามแนวทางที่เป็นสากล ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกเขาคิด เขาทำกัน เช่น คิดว่างานตำรวจคืองานจับกุม การจับกุมมากๆ เป็นเรื่องดี จับกุมมากสังคมจะสงบสุข”

“หรือใช้วิธี การป้องกันแบบจัดสายตรวจตระเวนเซ็นตู้แดง หรือไม่ก็ออกตรวจโดยไม่มีข้อมูล แล้วหวังว่าเหตุร้ายจะไม่เกิด หรือการทำงานแบบคอยเหตุ (Reactive) คือรอให้เหตุเกิดก่อนแล้วจึงระดมกันสืบสวนหลังเกิดเหตุ  เพื่อติดตามจับกุมคนร้ายมาลงโทษให้ได้ โดยเชื่อว่าสามารถลดอาชญากรรมได้ แต่แนวคิดเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ตำรวจคิดเอง ไม่ใช่ความจริง ซึ่งจริงๆแล้วมีการศึกษาวิจัยยืนยันแล้วว่าวิธีคิดและวิธีการที่ทำกันมา ไม่เคยลดอาชญากรรมได้ ไม่เคยมีประเทศไหนในโลกสามารถลดอาชญากรรมได้ด้วยวิธีการเหล่านี้เลย สรุปว่าตำรวจตั้งใจทำงานอย่างเต็มกำลัง ตรากตรำ แต่กลับถูกสังคมตำหนิ สรุปว่าเหนื่อยเปล่า   นี่ก็เพราะวิธีการที่เราใช้ยังไม่ถูก”

เป็น นโยบายสำเร็จรูปที่ได้มาจากประสบการณ์ และทฤษฎีของตำรวจสากลที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ คาดหวังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจเพื่อประโยชน์อย่างแท้จริงต่อพี่ น้องประชาชน

แม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่อย่างน้อยก็ได้คิดทำเพื่อช่วยประคับประคองนาวาตำรวจที่นับวันยิ่งผุกร่อนลงไป.

ทีมข่าวอาชญากรรม

รถสายตรวจวิทยุ ให้บริการรับใช้ประชาชนเล่นสงกรานต์ ณ ตรอกข้าวสาร