จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รวบคาแท่นพิมพ์ ปั๊มแบงก์ปลอม

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/7/7c/NewsCh7_Logo.png/350px-NewsCh7_Logo.png

31 พฤษภาคม 2555


 

 กองปราบจับแท่นพิมพ์-ธนบัตรปลอม-สลากกินแบ่งปลอม

ลอตเตอรี่ที่ถูก2ตัวใช้สี-กระดาษตปท.

ป.ทลายแหล่งผลิต เอกสารปลอมย่านบางเขน ยึดของกลางเป็นธนบัตรสกุลต่างๆ ใบกำกับภาษีรถยนต์ หนังสือเดินทางประเทศอิสราเอล  รวมไปถึงลอตเตอรี่ที่ถูกรางวัลเลขท้าย  2 และ  3  ตัว  พร้อมอุปกรณ์การพิมพ์จำนวนมาก  เจ้าตัวสารภาพ เพิ่งพ้นโทษคดีปลอมแปลงธนบัตร ก่อนออกมาเป็นลูกจ้างช่างพิมพ์  เก็บเงินจนซื้อเครื่องพิมพ์มือสองได้  แล้วลาออกมาทำเอง โดยสนนราคาแล้วแต่ความยากง่ายของเนื้องาน

กองปราบฯจับอดีตช่างพิมพ์ ปลอมทั้งแบงก์ปลอมทั้งรางวัลเลขท้ายลอตเตอรี่ เปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 31 พ.ค. พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป. พ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี รอง ผอ.กองสลากกินแบ่งรัฐบาล ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมนายเสถียร สายศิลป์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 661/1 ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง พร้อมของกลาง แท่นพิมพ์ 3 เครื่อง เครื่องตัดกระดาษ 1 เครื่อง แผ่นแม่พิมพ์สำหรับพิมพ์ธนบัตร 100 แผ่น แผ่นแม่พิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล 75 แผ่น แผ่นใสสไลด์สลากกินแบ่งรัฐบาล 7 แผ่น แผ่นใสสไลด์ชำระภาษีรถยนต์ 6 แผ่น ธนบัตรไทยปลอม ฉบับละ 1000 บาท 12 ฉบับ ธนบัตรจีนปลอมฉบับละ 100 หยวน 114 ฉบับ และธนบัตรปลอมประเทศสหรัฐอเมริกา โปแลนด์ แทนซาเนีย กินี จีน พม่า ลาว และมาเลเซีย อย่างละ 1 ฉบับ หนังสือเดินทางประเทศอิสราเอล 1 เล่ม จับกุมได้ที่บ้านเลขที่ 120/14 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน เบื้องต้น แจ้งข้อหาปลอมเงินตรา มีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมแปลงเงินตราและปลอมแปลงเอกสารทางราชการ

พ.ต.อ. ประสพโชคเปิดเผยถึงการจับกุมครั้งนี้ว่า ชุดสืบสวนกองปราบฯ นำโดย พ.ต.อ.ฐิติวัฒน์ สุริยฉาย ผกก.3 บก.ป. และพ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป.ได้เบาะแส มีกลุ่มคนร้ายนำธนบัตรปลอมทั้งของไทยและต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ จึงร่วมกันสืบสวนติดตามมานานกว่า 1 เดือน จนทราบว่านายเสถียรเป็นผู้รับจ้างผลิตธนบัตรปลอมในสกุลเงินต่างๆ รวมทั้งรับจ้างผลิตลอตเตอรี่ที่ถูกรางวัลเลขท้าย 2 และ 3 ตัว เพื่อนำไปขึ้นเงินตามร้านค้าสถานที่ต่างๆที่รับขึ้นเงินรางวัลด้วย ชุดสืบสวนกองปราบฯจึงขอหมายศาลเข้าตรวจค้นบ้านของนายเสถียร และพบของกลางจำนวนมาก สำหรับหนังสือ เดินทางประเทศอิสราเอล อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเป็นของจริงและเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายหรือไม่

ขณะ ที่นายเสถียรรับสารภาพว่าเมื่อปี 47 เคยถูกจับคดีปลอมธนบัตรมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลตัดสินจำคุก 10 ปี แต่รับสารภาพเหลือโทษ 5 ปี หลังพ้นโทษออกมารับจ้างเป็นช่างซ่อมเครื่องพิมพ์ จนเก็บเงินได้ 4 หมื่นบาท ไปซื้อแท่นพิมพ์มือสองจากโรงพิมพ์เก่า ก่อนลาออกมารับจ้างพิมพ์ธนบัตรปลอมสกุลต่างๆ สลากกินแบ่งรัฐบาล ใบกำกับภาษีรถยนต์ คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ คิดราคาตามความซับซ้อนของงาน ส่วนการปลอมแปลงเลขท้าย สลากกินแบ่งรัฐบาล จะมีนายอ๊อด ไม่ทราบนามสกุล เป็นคนว่าจ้าง อ้างว่าสามารถเอาไปขึ้นเงินรางวัลได้ง่าย ตนคิดค่าจ้าง 30,000 บาท ต่อสลาก 200 ใบ ทำมาแล้วประมาณ 10 งวด พิมพ์งวดละ 100-200 ฉบับ แต่ละงวดเมื่อทำเสร็จแล้วนายอ๊อดจะมารับไป  แต่ไปขึ้นเงินรางวัลที่ไหนไม่รู้ ส่วนธนบัตรไทยปลอมฉบับละ 1000 บาท ของกลางที่เจ้าหน้าที่ยึดได้ มีผู้นำมาให้เป็นตัวอย่างเพื่อทำปลอม แต่ยังไม่ทันตกลงค่าจ้างถูกจับเสียก่อน สำหรับหนังสือ เดินทางประเทศอิสราเอล มีผู้มาให้ทดลองลองพิมพ์ว่าทำได้หรือไม่ สำหรับวัสดุที่ใช้พิมพ์ อย่างเช่น สีที่ใช้ต้องสั่งมาจากประเทศสิงคโปร์ กระดาษสั่งมาจากประเทศมาเลเซีย เพราะจะทำให้พิมพ์เหมือนของจริง ทำมาแล้ว 1 ปี

ด้านพ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี รอง ผอ.กองสลากฯกล่าวว่า จากการตรวจดูสลากกินแบ่งที่ผู้ต้องหาผลิต มีข้อแตกต่างที่ลายน้ำ ถ้าเป็นสลากปลอม ลายน้ำจะเกิดจากการพิมพ์ ส่วนของจริงลายน้ำผลิตมาจากโรงงาน มีความคมชัดมากกว่า จากการสอบถามผู้ต้องหาจะปลอมสลากที่ถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว ของกลางที่พบเป็นสลากในงวดวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยจะไปขึ้นเงินกับตัวแทนจำหน่าย ไม่ส่งผลกระทบกับกองสลากฯโดยตรง หลังจากนี้ จะนำเรื่องไปเข้าที่ประชุมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ให้มีความซับซ้อนมากขึ้น

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผู้การกองปราบฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนใน จ.สตูล ช่วยเหลือเรื่องศิลปะการป้องกันตัว-กฎหมาย-คอมพิวเตอร์ หวังใช้ชุมชนเป็นโมเดลต้นแบบดับไฟใต้




       วันนี้ (27 พ.ค.) เวลา 11.00 น. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. เดินทางตรวจเยี่ยมโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนตามนโยบาย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. โดยมีนายวัชรินทร์ อบทอง โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดเราด่อตุ้ลญันนะห์ พระครูปลัดวรพล ฐิติคุโณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดควนกาหลง นายประสิทธิ์ แบ้สกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสตูลและชาวบ้านชุมชนหัวทาง ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูลร่วม 100 คนให้การต้อนรับ
      
       พล.ต.ต.สุพิศาลกล่าวว่า โครงการตำรวจผู้นับใช้ชุมชนเป็นการริเริ่มของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ซึ่งได้มาจากทฤษฏีของตำรวจสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในอีกมิติหนึ่ง โดยก่อนหน้านี้เราจะเห็นว่าปัญหาอาชญากรรมไม่ได้ลดน้อยลง ถึงแม้ตำรวจจะจับเท่าไหร่ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดก็ไม่ได้ลดลงไป นอกจากนี้ ตำรวจยังเป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน ทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้าหาชาวบ้าน เข้าไปถามความต้องการของชาวบ้านว่าขาดเหลือสิ่งใด ซึ่งชาวบ้านในชุมชนหัวทางอยากให้ทางกองปราบปรามช่วยเหลือเรื่องศิลปะการ ป้องกันตัว ความรู้เรื่องกฎหมาย และคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังจัดกำลังอาสาสมัครช่วยสอดส่องดูแลกันเองภายในชุมชน
      
       “ที่ผ่านมาพบว่าปัญหายาเสพติด ลักขโมย แก๊งรถซิ่งก็หายไป และยังสร้างความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย ซึ่งโครงการนี้เชื่อว่าอาจเป็นชุมชนต้นแบบ หรือโมเดลให้ชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อใช้ดับไปใต้ได้” ผบก.ป.กล่าว
      
       ด้าน นายวัชรินทร์ อบทอง โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดเราด่อตุ้ลญันนะห์ กล่าวว่า ชุมชนเรามีประชากรประมาณ 200 คน ซึ่งก่อนหน้านี้เราเดือดร้อนกับเรื่องรถแข่งมาก ชาวบ้านถึงกับนอนไม่หลับ นอกจากนี้ยังมีปัญหายาเสพติดและลักเล็กขโมยน้อย เมื่อตำรวจกองปราบปรามมาลงพื้นที่เขามาไม่เหมือนตำรวจหน่วยอื่น คือเข้ามาสนิทใกล้ชิดเหมือนญาติพี่น้องทำให้พวกเรากล้าพูดกล้าแสดงออก ไม่มีความหวาดระแวงว่าจะมาทำอะไรให้ไม่สบายใจ ซึ่งหลังโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาเกือบ 3 ปี ปัญหาดังกล่าวก็หมดไป หากชุมชนใดที่มีปัญหาดังกล่าวทางเรายินดีที่จะให้ท่านมาศึกษาดูงานที่ชุมชน เราได้
      
       ส่วน พ.ต.อ.ทินกรกล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีการดำเนินการมาประมาณ 3 ปี โดยให้เจ้าหน้าที่เข้ามาคลุกคลีกับชาวบ้านเพื่อลดความหวาดระแวง ซึ่งทางเราพบว่าก่อนหน้านี้ชุมชนดังกล่าวมีคดีลักทรัพย์และยาเสพติดระบาด อย่างหนัก จึงเข้าไปหารือกับโต๊ะอิหม่ามและชาวบ้าน กระทั่งร่วมกันตั้งโครงการดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นานปัญหาดังกล่าวก็เริ่มหมดไป

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พิธีสวนสนามอาสาสมัครตำรวจบ้าน อำเภอพาน (๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕)

เมื่อ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลาประมาณ ๑๒.๓๐ น. สถานีตำรวจภูธรพาน ได้จัดกิจกรรมโครงการสวนสนามของอาสาสมัครตำรวจบ้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการมี ส่วนร่วมกิจการตำรวจ ณ โรงเรียนพานพิเศษพิทยา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมี พลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธานในพิธี และมี พลตำรวจตรีสุรเชษฐ์ โทปุณญานนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย พันตำรวจเอกไพรัช คุ้มล้วนล้อม ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพาน พันตำรวจโท สุวรรณ เข็มวงษ์ รอง ผกก.(ป.) พร้อมข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรพาน และพี่น้องอาสาสมัครตำรวจบ้านในอำเภอพาน ทั้ง ๑๕ ตำบล จำนวนประมาณ ๑,๘๕๐ นาย ให้การต้อนรับ

ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น.ได้มีการสาธิตแสดงการส่งกำลังบำรุ่งทางอากาศโดยกองบังคับการตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ให้พี่น้องประชาชนที่ร่วมงานได้ชม



หลักจากนั้น เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.แขกผู้มีเกียรติและพี่น้องอาสาสมัครตำรวจบ้านพร้อม ณ ลานฝึกสนามฟุตบอลโรงเรียนพานพิเศษพิทยา





เวลา ประมาณ ๑๔.๐๐ น. พลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เดินทางโดยรถยนต์มาถึงโรงเรียนพานพิเศษพิทยา พันตำรวจโทภูมิปรีชา เผ่าปินตา สวป.สภ.เวียงเชียงรุ่ง ปฏิบัติหน้าที่ สวป.สภ.พาน รายงานยอดกำลังทั้งหมดเสร็จแล้ว พันตำรวจเอกไพรัช คุ้มล้วนล้อม ผกก.กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของอาสาสมัครตำรวจบ้านและวัตถุประสงค์ของ โครงการ ฯ หลังจากนั้นประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทแก่ผู้ร่วมงาน



ต่อมาเป็นพิธีสวนสนามของสมาชิกอาสาสมัครตำรวจบ้าน ๑๕ ตำบล ประกอบด้วย
๑.ตำบล เมืองพาน ๒.ตำบลแม่เ็ย็น ๓.ตำบลม่วงคำ ๔.ตำบลเวียงห้าว ๕.ตำบลดอยงาม ๖.ตำบลหัวง้ม ๗.ตำบลสันติสุข ๘.ตำบลเจริญเมือง ๙.ตำบลทรายขาว ๑๐.ตำบลธารทอง ๑๑.ตำบลป่าหุ่ง ๑๒.ตำบลสันกลาง ๑๓.ตำบลทานตะวัน ๑๔.ตำบลสันมะเค็ด ๑๕.ตำบลแม่อ้อ



เสร็จสิ้นการสวนสนามของอาสาสมัครตำรวจบ้านเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.หลังจากนั้น ประธานในพิธีเดินทางกลับ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำความรู้จัก‘ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน’ ยุทธศาสตร์ใหม่ป้องปรามอาชญากรรม

 http://www.naewna.com/uploads/news/source/7262.jpg

ขึ้นชื่อว่าอาชีพตำรวจ หลายคนฟังแล้วอาจจะรู้สึกกลัวไม่ว่าจะทำผิดกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ขนาดพ่อแม่จำนวนมากยังเปลี่ยนคำขู่เด็กดื้อ จาก “ผีจะมาหลอก” เป็น “ตำรวจจะมาจับ” เด็กที่ดื้องอแงนั้นถึงกับเงียบในทันที
ทั้งนี้เพราะภาพลักษณ์ของตำรวจที่เราเห็นกันทั่วๆ ไปคือความดุดัน แข็งกร้าวเนื่องจากพวกเขาถูกฝึกมาให้เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับความกดดันต่างๆ ในยามที่จะต้องออกปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ ไม่เพียงผู้ร้ายจะหวั่นเกรงเท่านั้น แม้แต่ประชาชน พลเมืองดีทั่วไปก็ยังพลอยกลัวตำรวจไปด้วย ทำให้หลายคนที่มีเบาะแสอาชญากรรม สิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่อยากจะแจ้งแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี จนเป็นที่มาของ โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) ที่กำลังจะถูกนำมาใช้แทนโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิม
โดยเมื่อช่วงที่ผ่านมา สำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สหประชาชาติ (UNODC) ได้เชิญ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ในฐานะผู้นำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ ชุมชนมาช่วยลดปัญหาอาชญา กรรมในประเทศไทย เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและสตรี โดยใช้ “แนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลง การบริหารงานตำรวจจากเดิม เป็นการบริหารงานตำรวจยุคใหม่ ที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
“ที่ผ่านมา ตำรวจไทยเน้นการทำงานตามทฤษฎีบังคับใช้กฎหมายมาเป็นเวลานาน ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ ถ้าเรามุ่งที่จะจับกุมอย่างเดียว มุมมองของตำรวจต่อประชาชนจะเป็นไปในลักษณะผู้ที่คอยจับผิด ประชาชนจะมองตำรวจด้วยความหวาดระแวงไม่ไว้ใจ เพราะเจอตำรวจแล้วอาจถูกจับ ขณะเดียวกันตำรวจก็จะถูกกดดันจากนโยบายที่วัดผลงานจากสถิติการจับกุม ทำให้ต้องหาทางจับกุมให้ได้มากๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับประชาชน ตลอดจนการจับผิดตัว”
เป็นเสียงสะท้อนจาก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ผบช.ก. บอกเล่าถึงนโยบายเดิมที่นอกจากจะไม่ช่วยให้อาชญากรรมลดลงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชนยังเลวร้ายลงอีกด้วย ทั้งที่องค์กรตำรวจของไทย ก่อตั้งมานาน แต่จากสถิติอาชญากรรมแล้วยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์สูงมากเมื่อเทียบกับอีกหลายๆ ประเทศในโลก ที่แย่ไปกว่านั้น เมื่อตำรวจเน้นยุทธศาสตร์การจับกุมเพียงอย่างเดียว ผลคือ หลายๆ ครั้งกลายเป็นการจับผิดตัว ผู้กระทำผิดยังลอยนวลขณะที่ผู้บริสุทธิ์ตกเป็นแพะรับบาป ทั้งนี้เพราะผลงานของตำรวจถูกชี้วัดในด้านยอดการจับกุมผู้กระทำผิดมากกว่า ภาพรวมของจำนวนอาชญากรรมที่ลดลง
เมื่อเราถามต่อไปอีกว่าตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ต่างจากตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่เป็นโครงการเดิมอย่างไร พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์อธิบายว่าตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นโครงการในลักษณะจากบนลง ล่าง (Top-Down) กล่าวคือ ฝ่ายตำรวจจะเป็นผู้วางนโยบายและใช้นโยบายนั้นกับประชาชนในพื้นที่ แต่โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนั้น นโยบายต่างๆ จะมาจากการระดมความคิดเห็น มีการประชุมรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ แล้วจึงนำมาสรุปเป็นนโยบาย ซึ่งเป็นลักษณะจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up) ซึ่งผลที่ได้คือประชาชนในพื้นที่จะรู้สึกเป็นมิตรกับตำรวจมากขึ้น
“ที่ผ่านมาเราคิดว่างานตำรวจคืองานจับกุม การจับกุมมากๆ เป็นเรื่องดีจับกุมมากสังคมจะสงบสุข โดยใช้วิธีการทำงานแบบตระเวนตรวจอย่างไม่มีข้อมูล แล้วหวังว่าจะช่วยป้องกันเหตุการสืบสวนหลังเกิดเหตุเพื่อไล่ติดตามจับกุมคน ร้าย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอาชญากรรมให้ได้… แต่จริงๆ แล้ว วิธีคิดและวิธีการที่ทำกันมา ไม่เคยลดอาชญากรรมได้ ไม่เคยมีประเทศไหนในโลกสามารถลดอาชญากรรมได้ ด้วยวิธีการเหล่านี้”
สำหรับโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนี้มีที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลักๆ ประกอบ ด้วย 5 ทฤษฎี 1 หลักการดังนี้ ในส่วนของ 5 ทฤษฎี คือ 1.ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย (Law Enfor cement) โดยการทำหน้าที่จับผู้ร้าย 2.ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (Police Community Relations) โดยทำหน้าที่เป็นเพื่อนของชุมชน 3.ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (CommunityPolicing) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ 4.ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม (C.P.T.E.D.) โดยทำหน้าที่เป็นนักวางแผนป้องกัน 5.ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตราความเรียบร้อย
และ 1 หลักการ คือ หลักการพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชน (C.O.P.P.S) โดยทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ตำรวจไม่ใช่หน่วยงาน ที่คอยแต่จะมุ่งหน้าจับกุมอย่างเดียว แต่จะเปลี่ยนโฉมหน้าองค์กรตำรวจจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เป็นหน่วยงานผู้ให้บริการ (Protect and Serve) ซึ่งเป็นงานที่แท้จริงของตำรวจ
“การทำงานในอดีตส่วนใหญ่ผู้บังคับบัญชาจะออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำแต่เพียงอย่างเดียว จากนั้นจะใช้วิธีการจับผิด และลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม ขณะที่แนวทางการบริหารยุคใหม่ ผู้บังคับบัญชาต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีทักษะในการทำงานจริงๆ รวมถึงต้องมีเทคนิค มีจิตวิทยาในการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมมือกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายโดยไม่ ต้องใช้การบังคับ เพราะความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถบังคับตำรวจให้ทำงานได้ ถ้าถูกบังคับ เขาก็จะทำเฉพาะต่อหน้าเท่านั้น ผู้บริหารยุคใหม่ต้องยอมรับในเรื่องนี้”
ซึ่งหากเทียบเคียงกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์และตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นงานคล้ายกัน แต่ถ้าได้ศึกษาโดยละเอียดแล้ว จะพบว่าตำรวจชุมชนสัมพันธ์นั้นเป็นทฤษฎี ตรงข้ามกับตำรวจผู้รับใช้ชุมชน โดยตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เป็นการดำเนินงานในลักษณะบนลงล่าง ตำรวจเป็นฝ่ายกำหนดกิจกรรมเองทั้งหมด ประชาชนเป็นฝ่ายให้ความร่วมมือในกิจกรรมของตำรวจ โดยไม่ได้นำเอาข้อมูลฝ่ายประชาชน มากำหนดกิจกรรมที่จะทำ ดังนั้นสิ่งที่ตำรวจทำอาจไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนต้องการก็ได้ สุดท้ายตำรวจชุมชนสัมพันธ์จึงใช้ไม่ได้ผล ไม่สามารถลดอาชญากรรมได้ ประชาชนยังคงไม่ชอบตำรวจ
ซึ่งตำรวจส่วนใหญ่ในโลกเลิกใช้ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ไปแล้ว สำหรับตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นการดำเนินงานในแบบล่างขึ้นบน เริ่มต้นจากความไว้เนื้อเชื่อใจ นำไปสู่ความร่วมมือทำกิจกรรม โดยประชาชนเป็นผู้บอกปัญหาและให้ความร่วมมือในการวางแผนดำเนินกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมจึงสนองตอบความต้องการของประชาชน ผลลัพธ์ที่ได้จึงสามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ และสามารถลดอาชญากรรมได้จริง
ซึ่งตำรวจกว่า 90% ทั่วโลก ยอมรับและเปลี่ยนจากตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มาเป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนกันมานานแล้ว แม้แต่สำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรมประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมและยาเสพติด (UNODC) ก็ยังให้การยอมรับ เช่นในประเทศยูกันดานำไปใช้แก้ปัญหาการละเมิดทางเพศเด็ก ประเทศเคนยานำไปใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อเอดส์ เป็นต้น
“ทุกวันนี้ตำรวจกับประชาชน มีโอกาสเจอกันตอนที่เกิดเรื่องหรือประชาชนทำความผิด ทำให้ตำรวจและประชาชนห่างกันออกไปเรื่อยๆ ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึงเป็นเรื่องที่ตำรวจต้องรีบแก้ไข เพราะทำไปแล้วประชาชนก็ไม่รัก อาชญากรรมก็ไม่ลด แก้ปัญหาก็ไม่ได้ ดังนั้นพวกเราต้องพยายามข้ามความเป็นองค์กรตำรวจชุมชนสัมพันธ์ให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะฝังรากลึกอยู่ในองค์กรตำรวจไทยมานานมาก แต่ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงไร พวกเราก็ต้องร่วมมือกันเพื่อก้าวผ่านไปด้วยกันให้ได้ ให้ถูกต้องเสียที” พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้วยวิสัยทัศน์ใหม่นี้ จะเห็นได้ว่าวงการตำรวจไทยยังต้องปรับปรุงอีกมาก เพื่อเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิมๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ที่เป็นสากล ซึ่งจะสำเร็จผล ลดการก่ออาชญากรรม ได้จริงตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการปรับทัศนคติใหม่ของบุคลากรในวงการตำรวจทุกคน

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กองปราบฯเคาะสนิม














วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2555 เวลา 10:54 น.



     ที่กองปราบปราม วันนี้ (21 พ.ค.)  พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. ได้เป็นประธานพิธีเปิดอบรมการฝึกยุทธวิธีในการปฏิบัติงานการเข้าจับกุมคน ร้ายของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม หรือ คอนแทค แอนด์ คับเวอร์ ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ที่ได้ริเริ่มเชิญอาจารย์ หรือครูฝึก จากประเทศสหรัฐอเมริกา มาสอนให้กับตำรวจชั้นสัญญาบัตรในกองบัญชาการสอบสวนกลาง และจากนี้ไปตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ผ่านการฝึกมาจะได้สอนในรุ่นต่อไป โดยกองปราบปรามจะจัดฝึกอบรมจำนวน 10 ชุด ชุดละ 100 นาย ซึ่งชุดนี้เป็นชุดแรก โดยใช้เวลาฝึกชุดละ 3 วัน หลังจากผ่านการฝึกอบรมเสร็จแล้วตำรวจทุกนายจะได้บัตรคอนแทค แอนด์ คับเวอร์ ในการจบหลักสูตรอีกด้วย

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ผบช.สอบ สวนกลางเปิดอบรมโครงการ “คืนชุมชนสีขาวให้สังคม โดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” พร้อมด้วยโครงการ “บช.ก.โกอินเตอร์”




http://sattahippost.com/wp-content/uploads/2012/05/IMG_1078.jpg

ผบช.สอบสวนกลางเปิดอบรมโครงการ “คืนชุมชนสีขาวให้สังคม โดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” พร้อมด้วยโครงการ “บช.ก.โกอินเตอร์”
          ( 21 พ.ค.55 ) โรงแรมเมาเทนบีช เมืองพัทยา พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์   ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. พร้อมด้วย พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา ผบก.ทล. ร่วมเปิดอบรมโครงการ “คืน ชุมชนสีขาวให้สังคม โดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ประชาชน” ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการปรับแนวความคิด เสริมสร้างให้เกิดความรู้ความ เข้าใจ้ตามแนวทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนอย่างถ่องแท้ เข้าใจหลักปฏิบัติได้ อย่างถูกต้อง สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพเป็น ไปในทิศทางเดียวกัน  และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสอบสวน กลาง และกองบังคับการตำรวจทางหลวง
          โดยผู้เข้ารวมอบรมในครั้งนี้จำนวน 216 คน จาก ตำรวจทางหลวง 80 คน ระดับรองสารวัตร สถานีละ 1 คน และตำรวจชั้นประทวนที่สนใจ รวม 54 นาย ข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม 13 คน ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง 20 คน นอกจากนั้นโครงการดังกล่าวได้ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการดังกล่าวได้เชิญ ผู้เข้าร่วมรับฟังจาก สำนักงานตรวจการแผ่นดิน 2 คน สำนักงาน UNODC แห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเซียตะวันออกและแปซิฟิก 5 ท่าน และจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวงขลา 1 ท่าน
          ด้าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์   ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เผยว่า ทางตำรวจได้ค้นพบการแก้ปัญหาอาชญากรรมมานานแล้ว และพยายามทำ หลักการดังกล่าวนั้นเป็นหลักการที่ตำรวจและประชาชนทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นงานเชิงรุกของตำรวจ ซึ่งโครงการดังกล่าวเคยทดลองมาหลายครั้งจนแน่น ใจว่าใช้ได้ในการแก้ปัญหาอาชญากรรม    จึงถึงเวลาแล้วที่โครงการดังกล่าวจะ ได้แพร่หลายให้ทั่ว   ซึ่งมีเป้าหมายยาเสพติดในชุมชนลดลง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเจ้า หน้าที่ตำรวจจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย และรู้จักทางเดินที่ดีในหลัก ประชาธิปไตย
          นอกจากนั้น พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์   ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ยังเผยอีกว่านอกจากโครงการดังกล่าวแล้วทาง บช.ก.ยังมีโครงการ “ บช.ก.โกอินเตอร์” คือการส่งตำรวจไปเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ ประสานงานขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเคนเนเซอร์ มลรัฐ จอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งข้าราชการตำรวจในสังกัด บช.ก. ตั้งแต่ระดับชั้นประทวนจนถึงนายพลไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในวิชาตำรวจศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ให้กับบุคคลากรเพื่อสร้าง ตำรวจยุคใหม่   ซึ่งผู้ที่ไปเรียนต่อจะได้รับสิทธิพิเศษค่าเล่าเรียนในอัตราพลเมืองรัฐ จอร์เจีย ซึ่งทำหใ้ค่าเล่าเรียน๔ูกลงจากเดิมประมาณ 70 เปอร์เซ็น จากค่าใช้จ่ายปกติ นอกจากนั้นผู้ไปเรียนจะได้เรียนรู้หลักการตำรวจใหม่ๆ และเป็นสากล และเข้าเป็นอีกหนึ่งพลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ตำรวจไทยมุ่ง สู่การเป็นองค์กรตำรวจสมัยใหม่