จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขอเชญเยี่ยมชมงาน "เติมพลังสุขภาพเพิ่มพลังสดใสใส่ชีวิต งานสุขภาวะดีวิถึไทย"

ขอเชญเยี่ยมชมงาน "เติมพลังสุขภาพเพิ่มพลังสดใสใส่ชีวิต งานสุขภาวะดีวิถึไทย" ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 26/29 ก.ค. 2555 อาคาร 5 - 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี



 
 
 
 


ความผาสุกในชีวิต” ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของคนเราในปัจจุบัน ที่แวดล้อมไปด้วยมลภาวะต่าง ๆ ความเครียดจากการทำงาน ซึ่งนำมาสู่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมา การสร้างนิสัยใส่ใจสุขภาพ “Healthy Lifestyle” จึงถือเป็นวิธีที่จะนำไปสู่การสร้างความผาสุกในชีวิต ทั้งต่อตนเองและครอบครัว ไปพร้อมๆ กัน ขณะที่กระแสการรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันโรคภัย (Preventive Healthcare) ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่องจนเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดความมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน นำโดย TAHPER  สนับสนุนโดย  สสส. Thailand Health & Wellness 2012 สุขภาวะดี วิถีไทย ครั้งที่ 3 สุดยอดงานแสดงสินค้าและบริการเพื่อคนรักสุขภาพแห่งปี สร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้คนไทยรู้จักการระวังป้องกัน รวมทั้งส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง 
พบกับ Wellness Trends  กลยุทธ์สร้างความอยู่ดี มีสุข เพื่อคนทุกวัย เพื่อคนไทยทุกคน
กองบังคับการปราบปราม โดย พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ  ได้รับเกียรติจาก สสส. และทุกภาคส่วนราชการ เอกชน ออกบู้ทให้ความรู้แก่ประชาชน ปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย เยี่ยมชนเทคโนโลยีตำรวจสมัยใหม่

สวนกลางซ้อมปราบม็อบ พลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ตรวจเยี่ยม


http://jobthaitoyou.com/wp-content/uploads/2012/01/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%877.jpg

พลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตรวจเยี่ยมกำลังพล และชมการสาธิตการฝึกซ้อมปราบปรามจลาจล โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ประมาณ 500 นาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความชำนาญ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการเข้าควบคุมสถานการณ์จริง การฝึกซ้อมเป็นไปตามแบบมาตรฐานสากลที่ใช้เข้าระงับเหตุจลาจล เริ่มจากการเจรจาต่อรองกับกลุ่มผู้ชุมนุม มีโล่เป็นแนวกำบังหากมีการขว้างปาสิ่งของ จนถึงขั้นต่อไป ใช้รถคลื่นเสียง, ใช้แรงดันน้ำ จนถึงการใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งตามกฎหมายสามารถใช้แก๊สน้ำตา ที่มีลักษณะโยนหรือขว้างเท่านั้น ห้ามใช้ปืนยิงแก๊สน้ำตา

ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กล่าวว่า ผลการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจไม่พบข้อผิดพลาด แต่ยังขาดแคลนเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ระงับเหตุ และได้เสริมเทคนิค นำรถจักรยานยนต์มาใช้ เพื่อสามารถช่วยเหลือคนเจ็บออกมาจากที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที

ชุมชนบ้านหัวทาง


Thairath ชุมชนบ้านหัวทาง

"อยากให้กระจายงานนี้ไปที่อื่นด้วย เพราะเราอยากให้ที่อื่นได้รับโอกาสที่ดีนี้ด้วย เพราะมันเป็นสิ่งที่คิดว่ามันดีมากๆ เลย แต่ว่าเพราะเราได้ที่เดียว แล้วพี่น้องที่อื่นยังรออยู่ คิดว่าท่าน ทำกับเราไว้แล้ว ผมคิดว่าท่านไม่สมควรที่จะอยู่กับเราตลอดไป เพราะท่านต้องทำแบบนี้กับพี่น้องทุกคน ถ้าทำทั้งประเทศได้ยิ่งดีใหญ่ ไม่ใช่ทำเฉพาะเรา เพราะแนวคิดนี้สุดยอดของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ สิ่งเหล่านี้พี่น้องที่อื่นยังรออยู่ ต้องขยายงานออกไปที่อื่นด้วย พี่น้องคนอื่นกำลังรอสิ่งเหล่านี้”

เป็นสิ่งที่ได้มาจากความรู้สึก ของ นายวัชรินทร์ อบทอง โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดเราดอตุ้ลญันนะห์ ชุมชนบ้านหัวทาง ชื่นชมแนวคิดที่ได้จากประสบการณ์ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. และงานวิจัยจากต่างประเทศ

ในเรื่อง “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”  ที่ พ.ต.อ.ทินกร  รังมาตย์  ผกก. 6 บก.ป. ได้นำมาทดลองปฏิบัติในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวทาง อ.เมือง จ.สตูล

จากการ ร่วมกันคิดของตำรวจและชาวบ้าน เข้าดำเนินการ แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องในชุมชนบ้านหัวทาง แค่ช่วงเวลา 1 ปี ชุมชนคุมคดีอาชญากรรม ลดความหวาดกลัวของชุมชน ประชาชนมีความอบอุ่นใจ

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ พยายามหาแนวคิดเพื่อให้ตำรวจได้คิด และเปลี่ยนแปลงวิธีทำงาน

ได้ พยายามผลักดันให้ตำรวจทุกหน่วยหันมาให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือของ ชุมชน ซึ่งตำรวจจะต้องแสดงให้เห็นว่าพร้อมเป็นผู้รับใช้ชุมชนในทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่การจับกุมดำเนินคดี

จากเรื่องยาเสพติด เด็กแว้นที่สร้างความรำคาญให้ชาวบ้าน คดีลักทรัพย์เป็นเรื่องที่ปวดหัวให้กับชาวบ้าน แต่ไม่รู้จะพึ่งพา ใครเข้ามาช่วยเหลือ แต่มีตำรวจชุดหนึ่งที่มีความเต็มใจเข้าไปรับฟังปัญหา เป็นตัวกลางประสานเพื่อแก้ไขทุกข์ร้อนที่หนักอกชาวบ้าน ก็ไม่แปลกที่จะได้รับความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาชุมชน ช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน

จากความประทับใจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านกล้าพูด กล้าแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนกระทำไป และอยากให้ขยายผลไปในทุกพื้นที่

เป็นเรื่องไม่ยาก หากทุกโรงพัก คิดหาโครงการร่วมกับชาวบ้าน

จะทำให้สังคมผาสุกกว่านี้!!!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สหบาท
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ท่าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก จะมาตรวจเยี่ยมการฝึก กำลังพลกองร้อยควบคุมฝูงชน บช.ก

 

ข่าว ปชส.

ท่าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์  ผบช.ก จะมาตรวจเยี่ยมการฝึก
กำลังพลกองร้อยควบคุมฝูงชน บช.ก
ณ บริเวณลานฝึกหน้าเสาธง บก.ป
วันนี้ เวลา 13.00 น.

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กองปราบฯลงชุมชน

 Thairath

 วันพุธ ที่ 18 กรกฎาคม 2555

กองปราบฯลงชุมชน


เปิดแนวรุกในโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.

เป็น โครงการที่นำตำรวจเข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้หลักการ จนบันทึกสำรวจศึกษาข้อมูลอาชญากรรม และรวบรวมรายละเอียด เพื่อวางแผนแก้ปัญหาอาชญากรรม

พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. รับนโยบายมาปฏิบัติเดินเครื่องเปิดศูนย์ “ชุมชนทัพพระยา” อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มอบให้ พ.ต.อ.นิรันดร์ นามสุวรรณ ผกก.2 บก.ป. และ พ.ต.ท.ณัฐพงศ์ ตรงเที่ยง สว.กก.2 บก.ป. ควบคุมการทำงานร่วมกับ นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเทศบาลเมืองพัทยา ส่ง ตำรวจกองปราบฯ 1 นาย เข้าไป “ฝังตัวในพื้นที่”  เพื่อสร้างความคุ้นเคย  และลดความหวาด

ระแวงของชาวบ้านที่มีต่อตำรวจ

พ.ต.ท. ณัฐพงศ์มอบหมายให้ ร.ต.ต.สุริยา ส่งศรี หรือ “หมวดไก่” อายุ 56 ปี เพิ่งปรับยศมาจากชั้นประทวน ตามโครงการเลื่อนไหลเป็น “หมวดใหม่ป้ายแดง” เคยทำงานสืบสวนอยู่กับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง มาอย่างโชกโชน ส่งตัวให้เข้าไปสัมผัสกับชาวบ้านใน อ.บางละมุง
“หมวดไก่” เล่าว่าเป็นนักสืบมาตลอดชีวิต จับผู้ต้องหานับไม่ถ้วน เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายก็มาก เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นร้อยตำรวจตรี ซึ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตรับราชการ ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้มาปฏิบัติหน้าที่ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”   มันเป็นนิมิตใหม่ของตำรวจกองปราบฯ และเป็นงานที่ท้าทาย

ได้มาเช่า บ้านอยู่ในชุมชน เริ่มไปเคาะประตูบ้าน แวะเยี่ยมผู้นำชุมชน ตกเย็นก็กินข้าวร่วมกับชาวบ้าน แรกๆชาวบ้านก็แปลกใจว่าตำรวจกองปราบฯเข้ามาทำอะไร แต่เราเข้าไปหาทุกวัน ทำบ่อยๆ แสดง ความจริงใจจนชาวบ้านยอมรับและคุ้นเคยกัน เริ่มเข้าไปปรับสภาพแวดล้อม ชาวบ้านบอกว่าทางเข้าหมู่บ้านมันเปลี่ยวมักจะมีเหตุวิ่งราวทรัพย์กันบ่อย ก็แนะนำว่าต้องตัดหญ้าข้างทาง ติดไฟส่องสว่าง ชาวบ้านก็ทำตาม เหตุร้ายก็น้อยลงไป

บางรายมาขอคำปรึกษาลูกติดยาเสพติดจะทำอย่างไร ก็เรียกตัวมาตรวจฉี่ หากพบสีม่วงก็ส่งบำบัด ส่วนคนที่ขายยาเสพติดก็เก็บข้อมูลมาเพื่อจับกุม

นี่คือการทำงานของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

พล.ต.ต. สุพิศาลตั้งเป้าหมายจะขยายพื้นที่ไปที่พัทยา แหล่งท่องเที่ยว เพราะชาวต่างชาติที่เข้ามายังมีคนไม่ดีปะปนกันอยู่ จึงต้องสร้างเครือข่ายของชาวต่างชาติที่สุจริต เพื่อคอยแจ้งข่าวกับตำรวจกองปราบฯ

วันนี้ กองปราบปรามก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นแล้วครับ.

สหบาท

ขอขอบคุณข้อมมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอมลัมภ์สหบาท

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รวบ เอเย่นยาบ้า หลังล่อซื้อตามยุทธวิธี Contact and Cover

รวบ เอเย่นยาบ้าเครือข่ายคุกเชียงราย ล่อซื้อตามยุทธวิธี Contact and Cover

 

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 เวลา 17:07 น.
ที่ กองปราบปราม เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 11 ก.ค. 2555  พ.ต.อ.อภิชาติ ศิริสิทธิ์ รอง ผบก.ป.พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป.พ.ต.ท.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผกก.ปพ.บก.ป.และ พ.ต.ท.ภูการวิก โชติกเสถียร รอง ผกก.ปพ.บก.ป.แถลงข่าวจับกุม นายสงกรานตร์ เตจ๊ะวงค์ อายุ 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 177 หมู่ที่ 2 ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย และนายสัญจร รินนายรักษ์ อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 151 หมู่ที่ 3  ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย พร้อมของกลางยาบ้า  24,000 เม็ด โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง และกระเป๋าหนังสีน้ำตาลอีก 1 ใบ โดยจับกุมตัวได้ที่ปั๊มน้ำมัน ปตท. ปากซอยทางเข้าโรงแรมสุขใจรีสอร์ท ถ.รังสิต-นครนายก 43 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
พ.ต.อ.อภิชาติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่สืบทราบว่า มีกลุ่มเอเย่นค้ายาบ้าจาก จ.เชียงรายขนยาเสพติดมาจำหน่ายให้ผู้ค้าใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล หลายครั้ง จึงวางแผนให้สายลับล่อซื้อเป็นเงิน 1.6 ล้านบาท โดยผู้ต้องหาจะนำยาบ้ามาส่งที่ปั๊ม ปตท.เมื่อถึงเวลานัดหมายเจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวจับกุมดังกล่าว สอบสวนทราบว่า ผู้ต้องหาเคยติดคุกอยู่ในเรือนจำกลาง จ.เชียงราย ระหว่างนั้นได้รู้จักกับ นายนัท ผู้ต้องหาคดียาเสพติด ซึ่งเป็นขาใหญ่ในคุก เมื่ออกจากคุก ไม่รู้จะทำงานอะไร เพราะไม่มีใครรับเข้าทำงาน   จึงรับจ้างนายนัท นำยาเสพติดมาส่งให้ผู้ค้าใน กทม.และปริมณฑล ได้ค่าจ้างเที่ยวละ 1 หมื่นบาท เพิ่งทำครั้งแรก และถูกจับกุมดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่นำตัวส่ง บก.ปส.ดำเนินคดีต่อไป
ด้าน พ.ต.อ.อธิป กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมคดีดังกล่าวผ่านการฝึกอบรม “Contact and Cover” หรือ ยุทธวิธีการตรวจค้นและคุ้มกัน ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.  ที่ต้องการนำความรู้ตำรวจสมัยใหม่มาสอนให้ตำรวจไทยได้เรียนรู้ และเพื่อนำไปใช้ในการลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่บางคนอาจจะยังไม่ชำนาญยุทธวิธีการเข้าตรวจค้นจับกุมที่ ถูกต้อง ซึ่งอาจผิดพลาด ถูกคนร้ายยิงใส่ทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากช่อง 7 , หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เปิดชุมชนตัวอย่างชัด โครงการ "พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" 1ปีคดีลด-ชาวบ้านอุ่นใจ

Thairath
วัน อาทิตย์ 8 กรกฎาคม 2555

Pic_274165
แนวคิดของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์  ผบช.ก. ที่พยายามปลูกฝังผู้ใต้บังคับ บัญชาให้ทำหน้าที่ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ และงานวินัยของตำรวจต่างประเทศ ที่นำมาใช้จนประสบความสำเร็จในการควบคุมคดีอาชญากรรม ลดความหวาดกลัวของชุมชน จึงนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการทำงานใหม่ให้กับข้า ราชการตำรวจทั่วประเทศคาดหวังจะทำให้ตำรวจเปลี่ยนทัศนคติทิศทางการทำงาน

จาก การเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน เป็นการหันหน้าเข้าหาประชาชน ทำหน้าที่ปกป้องและให้บริการ สร้างความคุ้นเคย ให้ความจริงใจ จนได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เปลี่ยนจากเป้าหมายจับกุมให้ได้มากๆ มาเป็นการมุ่งลดความหวาดระแวงภัยให้กับประชาชน

วิธีการง่ายๆ คือ การส่งตำรวจเข้าไปอยู่ในชุมชน สร้างความคุ้นเคย ให้ความจริงใจ จนกว่าจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ทำให้ตำรวจได้สัมผัสและรับรู้ปัญหาร่วมกับพี่น้องประชาชนในชุมชน

จน ทราบถึงปัญหาเร่งด่วนที่คนในชุมชนอยากให้ตำรวจทำให้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับชุมชน แก้ไขปัญหาตามสภาพความเป็นจริงแต่ละพื้นที่ พลิกผันเปลี่ยนแปลงตามแนวทางของชุมชน

โครงการนำร่องนำโดย พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป.เล็งเห็นถึงนโยบาย จนมาสู่การปฏิบัติในสนามจริง จัดทำโครงการในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวทาง ต.พิมาย อ.เมือง จ.สตูล ตั้งแต่ปี 2554

มอบ หมายให้ ด.ต.สุทธินันท์ อนันธขาล ผบ.หมู่ กก.6 บก.ป.หรือ “บังยาซีน” ซึ่งเป็นคนในชุมชนบ้านหัวทาง เป็นตัวหลักในการประสานงานกับชุมชน อาศัยช่วงพักจากภารกิจประจำในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาพักในชุมชนบ้านหัวทาง

จึงสังเกตพบว่าปัญหา ของชุมชนเหมือนกับที่อื่นๆทั่วไป คือ ปัญหายาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น ปัญหารถซิ่งเด็กแว้น การลักเล็กขโมยน้อย และการมั่วสุมของนักเรียนวัยรุ่นต่างพื้นที่

ด.ต.สุทธินันท์ หรือ บังยาซีน ได้จัดทำข้อมูลและเก็บรวบรวมสภาพปัญหาต่างๆ จากชาวบ้านและโต๊ะอิหม่าม ที่ทนไม่ไหวกับปัญหาในชุมชน จึงนัดประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการป้องกันชุมชน ชาวบ้านอยากให้ตั้งอาสาสมัครดูแลชุมชน จน ด.ต.สุทธินันท์ ได้เปิดตัวกับชาวชุมชนว่า เป็นตำรวจกองปราบปราม ขอจัดตั้งอาสาสมัครดูแลหมู่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้มาก่อนว่าเป็นตำรวจ เห็นแต่เพียงเป็นลูกหลานในหมู่บ้านและอยู่มานาน จึงเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้ตั้งอาสาสมัครดูแลหมู่บ้านกับคนในชุมชน

พ.ต.อ.ทินกร เห็นว่าเป็นความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางตำรวจชุมชนของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ จึงได้เสนอเข้าทำโครงการแสดงจุดยืนกับชาวบ้าน พร้อมให้การสนับสนุนการทำงานของ ด.ต.สุทธินันท์ ในทุกๆ เรื่องที่เป็นปัญหาของชาวบ้าน ขอให้ไว้วางใจร่วมคิด และร่วมทำด้วยกัน

เมื่อ ได้ร่วมกันวิเคราะห์แก้ไขปัญหาในแต่ละเรื่องต่อเนื่องตลอดเวลา 1 ปี ทำให้ปัญหาต่างๆ ลดลงอย่างชัดเจนชาวบ้านมีความอบอุ่นใจ มีความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาลักเล็กขโมยน้อยหายไป

นอก จากความชื่นชมของชาวบ้าน สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ “บังยาซีน” หรือ ด.ต.สุทธิ-นันท์ ตำรวจระดับเล็กๆที่มีความภูมิใจในอาชีพตำรวจ ได้ทำงานรับใช้พี่น้องชาวบ้าน “ปิดทองหลังพระ” ให้กับสังคมตำรวจโดยรวม

ได้รับการร้องขอจากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านหัวทางมาโดยตลอดให้เข้าทำโครงการในชุมชนบ้าง

หาก ตำรวจทุกหน่วยนำโครงการนี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจังทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศ นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหารากหญ้าของสังคม ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ตำรวจไทย ลดช่องว่าง ความหวาดระแวง ระหว่างตำรวจกับประชาชน

สมกับสโลแกนของ กก.6 บก.ป. ที่ว่า “ตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจ” เราจะเป็นหุ้นส่วนของกันและกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน ช่วยกันทำให้ชุมชนมีความผาสุกอย่างแท้จริง

“ก่อน หน้าเราเดือดร้อนกับเรื่องรถแข่ง เพราะส่งเสียงดังจนชาวบ้านนอนไม่หลับ ไหนจะเรื่องปัญหายาเสพติดและลักเล็กขโมยน้อยก็มากขึ้น เมื่อตำรวจกองปราบฯ มาลงพื้นที่ เขามาไม่เหมือนตำรวจหน่วยอื่น คือ เข้ามาสนิทใกล้ชิดเหมือนญาติพี่น้อง ถามว่าชุมชนต้องการอะไร ทำให้พวกเรากล้าพูด กล้าแสดงออก ไม่มีความหวาดระแวงว่าเขามาทำอะไรให้เราไม่สบายใจ นอกจากนี้ในเรื่องความสามัคคีระหว่างพี่น้องต่างศาสนาก็ไม่มีปัญหา เพราะชุมชนเรามีพี่น้องไทยพุทธอยู่ 1 ครัวเรือน แต่ก็อยู่กันได้ฉันท์พี่น้อง จนแยกกันไม่ออก มีงานที่มัสยิด เพื่อนบ้านที่เป็นไทยพุทธเขายังมาช่วยตลอด ซึ่งหากชุมชนใดมีปัญหาดังกล่าว ทางเรายินดีที่จะให้ท่านมาศึกษาดูงานที่ชุมชนหัวทางได้”

นาย วัชรินทร์ อุบอิบ โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดเราดอตุ้ลญันนะห์ ในชุมชนบ้านหัวทาง กล่าวอย่างภาคภูมิใจ เช่นเดียวกับ นายวีระวัฒน์ เก็บมา-เก็น หนึ่งในอาสาสมัครย้ำว่า อาสาสมัครมีประมาณ 30 คน ผลัดเวรกันผลัดละ 10 คน ก่อนหน้านี้มีวัยรุ่นในหมู่บ้านกินน้ำกระท่อม สูบกัญชา หลังโครงการนี้ตั้งขึ้นมาพบว่า สามารถช่วยให้ชุมชนปลอดภัยจากยาเสพติด ลักขโมย และแก๊งรถแข่งได้ เดี๋ยวนี้ รถจักรยานยนต์จอดเสียบกุญแจลืมไว้หน้าบ้านหรือบนฟุตปาทในเวลากลางคืน ก็ไม่หายแล้ว จากที่เมื่อก่อนหายกันบ่อยมาก

ความ มั่นใจของคนในชุมชนหลังได้รับการปฏิบัติการตามทฤษฎี “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ที่ได้พยายามผลักดันให้ตำรวจทุกหน่วยหันมาให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือ ของชุมชน ซึ่งตำรวจจะต้องแสดงให้เห็นว่าพร้อมเป็นผู้รับใช้ชุมชน ในทุกเรื่องไม่ใช่แค่การจับกุมดำเนินคดีตลอด 1 ปี ที่เริ่มโครงการ ตำรวจมีแนวร่วมมากขึ้น จนมีเสียงตอบรับของคนในชุมชนว่า

“ตำรวจจะจับ พวกตนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สักวันพวกตนก็จะกลับมาอีก แต่เมื่อตำรวจมาอย่างนุ่มนวลพร้อมรับฟังและร่วมกันแก้ปัญหา พวกเราก็พร้อมจะเป็นพวก ขอเพียงอย่าทิ้งพวกเราไป ขอให้อยู่เคียงข้างกับพวกเราตลอดไป”

“ชุมชนบ้านหัวทาง” จึงเป็นอีกหนึ่งโมเดลของการแก้ปัญหาสังคม ลดช่องว่างระหว่างตำรวจกับประชาชน

ดั่งคำขวัญที่ว่า “เป็นตำรวจอาชีพ เพื่อความผาสุกของประชาชน”.

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก

ทีมข่าวอาชญากรรม
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำรวจน้ำ ปัตตานี " ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) "

 ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)

" ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) "

วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ตำรวจน้ำ จว.ปัตตานี นำนโยบาย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง การทำงานตามวิธีตำรวจสมัยใหม่โดยนำ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) มาใช้ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ท่าเทียบเรือประมง ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรียนรู้ทฤษฎี "ต้นไม้อาชญากรรม" ศาสตร์ "ตร.สมัยใหม่" สู้ภัยโลกาภิวัตน์




 5 กรกฎาคม 2555

   หลายภาคส่วนในสังคมไทยกำลังวิตกกังวลกับภัยอาชญากรรมที่ร้ายแรงมากขึ้นทุกขณะ แต่สิ่งที่น่าวิตกยิ่งกว่าคือการไล่แก้ปัญหาแบบ "วิ่งไล่ตามปัญหา" และมุ่งแก้เฉพาะปลายเหตุ เช่น ยาเสพติดระบาดก็ไปไล่จับคนขนยา หรือพอถึงหน้าเทศกาลฟุตบอลยูโร ก็ไล่จับโต๊ะพนันบอล
       วิธีการลักษณะนี้นอกจากจะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้แล้ว ยังทำให้ปัญหายิ่งบานปลาย เพราะอาชญากรรมวันนี้ไม่ได้แยกส่วนกันอีกต่อไป และอาชญากรก็ไม่ได้ต่างคนต่างอยู่ กลุ่มใครกลุ่มมัน แต่ทั้งอาชญากรรมและอาชญากรต่างเชื่อมโยงประสานกันในมิติต่างๆ กลายเป็น "ต้นไม้อาชญากรรม" ที่กำลังเติบใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วประเทศไทย เรียกว่าแตะตรงไหนก็เจอ และไม่แปลกที่บ้านเรามีข่าวร้ายไม่เว้นแต่ละวัน



        อาชญากรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นยุคโลกาภิวัตน์ มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ได้พัฒนาขึ้นเป็น "องค์กรอาชญากรรม" หรือ Organized Crime  หรือ Criminal Organization ในทางทฤษฎีหมายถึงกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปที่รวมตัว ประสาน หรือดำเนินงานร่วมกันในรูปแบบต่างๆ ในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อหรือกระทำความผิดร้ายแรงฐานใดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

       จะเห็นได้ว่า "องค์กรอาชญากรรม" อาจเป็นองค์กรที่พบปะและดำเนินงานร่วมกันเพียงชั่วคราว เป็นกิจกรรมเฉพาะกิจ ไม่จำเป็นต้องตั้งกลุ่มเหนียวแน่นเป็น "อั้งยี่" หรือ "ซ่องโจร" อีกต่อไป

        องค์กรอาชญากรรมมีโครงสร้างการดำเนินงานที่สลับซับซ้อน กิจกรรมที่สำคัญขององค์กรอาชญากรรม คือ การสนองความต้องการสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย เช่น การพนัน การค้าประเวณี ค้ายาเสพติด ค้ามนุษย์ และมักขยายตัวเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมธุรกิจที่ถูกกฎหมาย โดยเข้าไปแทรกแซงการดำเนินธุรกิจเหล่านั้นด้วยการผูกขาด เลี่ยงภาษี ข่มขู่ ทวงหนี้ ก่อการร้าย หรือปั่นหุ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้จำนวนมหาศาล

        หากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรอาชญากรรมก็จะจ่ายสินบนแก่เจ้าหน้าที่บางรายเพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย หรือจ้างวานฆ่าบุคคลที่องค์กรอาชญากรรมไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงการนำเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปลงทุนในธุรกิจที่ถูกกฎหมาย เพื่อฟอกเงินให้เป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วนำกลับมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรอาชญากรรมต่อไปด้วย

         หากมองในมิติสังคมที่มีปัญหาหลากหลาย จะพบว่าทั้งปัญหาความยากจน การทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาด้านการศึกษา ความไม่เท่าเทียมกัน หรือปัญหาทางสังคมอื่นๆ แม้แต่เรื่องทางพันธุกรรม เหล่านี้ล้วนเป็น "ราก" ของอาชญากรรมที่มีลำต้นเปรียบเสมือน "ต้นไม้" รากเหล่านี้ล้วนมีส่วนหล่อเลี้ยงให้เกิดอาชญากรรม และทำให้อาชญากรรมประเภทต่างๆ แผ่กิ่งก้านสาขา ยิ่งมีการใช้ "โลกาภิวัตน์" ให้เป็นประโยชน์ ยิ่งทำให้ "ต้นไม้อาชญากรรม" เติบใหญ่ขึ้น และเชื่อมโยงประสานกันเป็นโครงข่ายมากยิ่งขึ้นไปอีก

        ตัวอย่างเช่น การเฟื่องฟูของโต๊ะพนันฟุตบอล ทำให้มีเงินจำนวนมหาศาลสะพัดในวงการพนัน ก็จะเริ่มใช้บริการองค์กรอาชญากรรมอื่นเข้ามาช่วยในบางกิจกรรม อาทิ กลุ่มโพยก๊วนเพื่อหิ้วเงินออกนอกประเทศ หรือเมื่อเริ่มมีการเบี้ยวหนี้พนัน ก็ต้องใช้แก๊งทวงหนี้หรือซุ้มมือปืนเข้ามาจัดการ เงินก็จะไหลเข้าไปสู่องค์กรอาชญากรรมเหล่านั้น นำเงินไปซื้ออาวุธเพิ่ม ก็จะเชื่อมประสานไปยังกลุ่มค้าอาวุธ

        เมื่อคนในองค์กรอาชญากรรมมีเงินมากขึ้น ก็จะนำเงินไปใช้ในบ่อนการพนัน สถานบริการ ซึ่งสถานที่เหล่านั้นก็เป็นแหล่งแพร่กระจายยาเสพติดอีก

        นี่คือความน่ากลัวของ "ต้นไม้อาชญากรรม" ซึ่งการทำงานด้วยทฤษฎี "ตำรวจสมัยเก่า" ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกแล้ว

        มีอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การทำงานของเครือข่ายค้ายาเสพติดสมัยนี้ มีการ "คัดเอาท์" หรือ "ตัดตอน" ไม่ให้สาวถึงกลุ่มผู้ค้าตัวจริงถึง 4-5 ขั้นตอน 
มี การว่าจ้างคนส่งของที่มีหน้าที่แค่นำของมาทิ้งไว้ตรงจุดนัดพบเท่านั้น จากนั้นจะมีอีกทีมหนึ่งมีหน้าที่แค่มาดูว่าของมาถึงแล้วจริงๆ ส่วนทีมที่จะมารับของไปกับคนที่จะนำเงินไปจ่ายเป็นอีกทีมหนึ่ง ซึ่งแต่ละทีมเป็นอิสระแก่กัน ไม่รู้จักกัน
        หากทีมไหนพลาดถูกจับกุม ก็จะไม่สามารถสาวไปถึงทีมอื่นๆ ได้เลย ฉะนั้นอย่าไปคิดถึงขั้นจับตัวผู้บงการหรือนายทุนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง เพราะความเป็นไปได้เท่ากับศูนย์!

        ทั้งหมดนี้คือความจำเป็นของการปรับยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ได้บรรจุแนวทาง "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" หรือ Community Policing เข้าเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรและบุคลากร โดยมอบหมายให้ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) กูรูว่าด้วยทฤษฎี "ตำรวจสมัยใหม่" เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อน

         ที่ผ่านมา พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ได้นำแนวคิด "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ไปประยุกต์ใช้กับงานตำรวจในสังกัดอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดมีรูปธรรมเกิดขึ้นแล้วที่ชุมชนคุณหญิง วัดส้มจีน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในชื่อโครงการ “คืนชุมชนสีขาวให้สังคม” ของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งสามารถลดสถิติอาชญากรรม และลดความหวาดระแวงของประชาชนที่มีต่อตำรวจได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

         ไม่เพียงแปลงแนวคิดไปสู่การปฏิบัติเท่านั้น แต่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ยังถ่ายทอด “ศาสตร์ตำรวจสมัยใหม่” ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การทำงานตามแนวคิดดังกล่าวเพื่อสื่อสารทำความ เข้าใจกับสังคมด้วย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้เชิญ ศ.ดร.สุธรรม เชื้อประกอบกิจ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตำรวจศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคนนิซอว์ สเตท มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เดินทางข้ามทวีปมาบรรยายพิเศษให้ตำรวจสอบสวนกลาง ในหัวข้อ “Police Leader and Police Innovation” หรือ “ผู้นำตำรวจกับความคิดตำรวจสมัยใหม่” ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี


         ศ.ดร.สุธรรม กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า สิ่งที่วงการตำรวจไทยดำเนินการมาถือว่าดีแล้ว เช่น โครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีกับประชาชน ก่อให้เกิดการร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา แต่ยังขาดการต่อยอดและปรับปรุงโดยนำแนวคิดการทำงานตำรวจสมัยใหม่มาใช้

         "องค์ความรู้ด้านตำรวจของสหรัฐนั้น ได้เก็บข้อมูลและสรุปเป็นทฤษฎีมาเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาว่า การออกตรวจโดยไม่มีเป้าหมาย การจับกุมอย่างเดียว หรือการทำงานเชิงรับอย่างเดียวโดยไม่มีเชิงรุกนั้น ไม่เป็นผลดีต่องานตำรวจและสังคม จึงก่อให้เกิดแนวคิดตำรวจสมัยใหม่ขึ้นมา"

         สำหรับแนวคิดหรือหลักการของ "ตำรวจสมัยใหม่" มีอยู่ 4 ประการ ซึ่ง ศ.ดร.สุธรรม เห็นว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตำรวจไทยได้ ได้แก่ 1.ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน 2.หลักการทำงานที่มุ่งเน้นเฉพาะปัญหา 3.ทฤษฎีหน้าต่างแตก และ 4.งานตำรวจที่มุ่งเน้นจุดล่อแหลมของอาชญากรรม


        เมื่อถามถึงปัญหาภาพลักษณ์ตำรวจไทยที่ยังคงถูกวิจารณ์อยู่เสมอ จะเป็นการยากในการพัฒนาสู่ความเป็น "ตำรวจสมัยใหม่" หรือไม่ ศ.ดร.สุธรรม ย้อนถามว่า เหตุใดตำรวจไต้หวัน เกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์เพื่อนบ้านของเราซึ่งใช้ระบบบริหารงานตำรวจแบบรวมศูนย์เช่น เดียวกัไทย กลับมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า

        "ผมคิดว่าเราต้องแก้ที่วัฒนธรรมดั้งเดิม ความคิดแบบเดิมๆ หรือเรื่องผลประโยชน์ ถ้ายังยึดติดอยู่ก็คงเปลี่ยนแปลงลำบาก แต่อย่างน้อยผู้นำตำรวจต้องเริ่มเป็นก้าวแรก และต้องทำไปเรื่อยๆ"

        แต่กระนั้น ถึงแม้จะมีความพยายามในการใช้แนวคิดทฤษฎี "ตำรวจสมัยใหม่" อย่างกว้างขวางทั่วโล แต่ ศ.ดร.สุธรรม ก็เห็นว่า ถึงที่สุดแล้วสิ่งสำคัญที่สุดย่อมอยู่ที่การพัฒนาบุคลากรเป็นอันดับแรก

       “เจมส์ คิว วิลสัน นักการตำรวจคนสำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เขียนหนังสือเกี่ยวกับการปรับระบบงานตำรวจมากมาย แต่หนังสือเล่มสุดท้ายเขากลับเขียนถึงเรื่องจิตสำนึก เช่น ความเห็นอกเห็นใจ จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และให้ลืมเรื่องการวิจัยหรือทฤษฎีต่างๆ เสีย แต่ให้เอาเรื่องพื้นฐานของคนให้ได้ก่อน"

       "บท เรียนนี้จึงต้องมาคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจเริ่มจากการพัฒนาตัวเอง มีจิตสำนึกรู้หน้าที่ โดยที่ผู้บังคับบัญชาช่วยเหลือลูกน้องให้มีความสุขตามอัตภาพ และทำอย่างไรให้ตำรวจมีความเป็นวิชาชีพอย่างแท้จริง"

..........ll..........