จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ต.หัวทาง จ.สตูล ข่าวช่อง 7

 



ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ต.หัวทาง จ.สตูล

ข่าวช่อง 7

กองปราบฯลงชุมชน

 

กองปราบฯลงชุมชน
เปิดแนวรุกในโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.

เป็น โครงการที่นำตำรวจเข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้หลักการ จนบันทึกสำรวจศึกษาข้อมูลอาชญากรรม และรวบรวมรายละเอียด เพื่อวางแผนแก้ปัญหาอาชญากรรม

พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. รับนโยบายมาปฏิบัติเดินเครื่องเปิดศูนย์ “ชุมชนทัพพระยา” อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มอบให้ พ.ต.อ.นิรันดร์ นามสุวรรณ ผกก.2 บก.ป. และ พ.ต.ท.ณัฐพงศ์ ตรงเที่ยง สว.กก.2 บก.ป. ควบคุมการทำงานร่วมกับ นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเทศบาลเมืองพัทยา ส่ง ตำรวจกองปราบฯ 1 นาย เข้าไป “ฝังตัวในพื้นที่”  เพื่อสร้างความคุ้นเคย  และลดความหวาด

ระแวงของชาวบ้านที่มีต่อตำรวจ

พ.ต.ท. ณัฐพงศ์มอบหมายให้ ร.ต.ต.สุริยา ส่งศรี หรือ “หมวดไก่” อายุ 56 ปี เพิ่งปรับยศมาจากชั้นประทวน ตามโครงการเลื่อนไหลเป็น “หมวดใหม่ป้ายแดง” เคยทำงานสืบสวนอยู่กับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง มาอย่างโชกโชน ส่งตัวให้เข้าไปสัมผัสกับชาวบ้านใน อ.บางละมุง
“หมวดไก่” เล่าว่าเป็นนักสืบมาตลอดชีวิต จับผู้ต้องหานับไม่ถ้วน เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายก็มาก เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นร้อยตำรวจตรี ซึ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตรับราชการ ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้มาปฏิบัติหน้าที่ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”   มันเป็นนิมิตใหม่ของตำรวจกองปราบฯ และเป็นงานที่ท้าทาย

ได้มาเช่า บ้านอยู่ในชุมชน เริ่มไปเคาะประตูบ้าน แวะเยี่ยมผู้นำชุมชน ตกเย็นก็กินข้าวร่วมกับชาวบ้าน แรกๆชาวบ้านก็แปลกใจว่าตำรวจกองปราบฯเข้ามาทำอะไร แต่เราเข้าไปหาทุกวัน ทำบ่อยๆ แสดง ความจริงใจจนชาวบ้านยอมรับและคุ้นเคยกัน เริ่มเข้าไปปรับสภาพแวดล้อม ชาวบ้านบอกว่าทางเข้าหมู่บ้านมันเปลี่ยวมักจะมีเหตุวิ่งราวทรัพย์กันบ่อย ก็แนะนำว่าต้องตัดหญ้าข้างทาง ติดไฟส่องสว่าง ชาวบ้านก็ทำตาม เหตุร้ายก็น้อยลงไป

บางรายมาขอคำปรึกษาลูกติดยาเสพติดจะทำอย่างไร ก็เรียกตัวมาตรวจฉี่ หากพบสีม่วงก็ส่งบำบัด ส่วนคนที่ขายยาเสพติดก็เก็บข้อมูลมาเพื่อจับกุม

นี่คือการทำงานของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

พล.ต.ต. สุพิศาลตั้งเป้าหมายจะขยายพื้นที่ไปที่พัทยา แหล่งท่องเที่ยว เพราะชาวต่างชาติที่เข้ามายังมีคนไม่ดีปะปนกันอยู่ จึงต้องสร้างเครือข่ายของชาวต่างชาติที่สุจริต เพื่อคอยแจ้งข่าวกับตำรวจกองปราบฯ

วันนี้ กองปราบปรามก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นแล้วครับ.

สหบาท

ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ครอบครัวข่าว 3 เมื่อ 28 สิงหาคม 2555

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Malaysia cops teach fresh skills to Thais CSD plans community policing model in South


http://www.bangkokpost.com/news/local/309498/null

Malaysia cops teach fresh skills to Thais

CSD plans community policing model in South

PERLIS, MALAYSIA: The Crime Suppression Division (CSD) plans to propose that the Royal Thai Police adopt a "community approach" as an additional method to combat the southern unrest.
Malaysia has claimed success in implementing this approach in Perlis state where community police officers (CPOs) are sent into communities to establish a rapport with locals and get them to cooperate with police in fighting and deterring crime.
Azmi Bin Hamid, head of the public relations department of the Perlis police, said the state police had been pioneering the community policing project for about six years now.
A large number of local residents have become members of the project, which is in effect in about 60% of the state, said Mr Hamid. Cooperation between police and locals has led to the crime rate plunging by about 50%, he said.
"To win the trust of the locals, it's most important that the CPOs take off their police hats and try to integrate into the communities as much as possible," he said.
The Perlis police only last month learned that a similar idea of community policing was also being tested in Satun province.
They then invited the Thai police to Perlis to learn from their experience, said Mr Hamid.
He told a group of Thai CSD police visiting Perlis last week that he was confident the Malaysian community policing model could be applied in the Satun project as both Perlis and Satun have a lot in common, such as culture, traditions and religion.
A lesson learned from the Perlis project was that police had to spend a great deal of time associating with the residents regularly to win their hearts and support, said Pol Col Thinakorn Rangmat, chief of the CSD's Subdivision 6, who led about 30 police officers on the Perlis study tour.
What's more, the police would have to form a network of fellow police officers and volunteers who should also be equipped with sufficient means of communication among each other, he said.
This way, news and information could be transmitted actively and promptly among them, said Col Thinakorn.
"As suggested by the Perlis police, I strongly believe the community policing idea will be applicable to the effort to contain the violence in the three Muslim-dominated provinces in the deep South as well," he said.
One year ago, Pol Col Thinakorn started piloting a community policing project in Hua Thang community in Satun's Muang district and he said the preliminary outcome of the project had been satisfactory.
The key to the success of the community policing programme was to establish trust between the authorities and members of the community, said Central Investigation Bureau chief Pol Lt Gen Pongpat Chayaphan.
He said the community policing programme also had helped reduce the level of distrust between people and authorities and secured working cooperation among them.
Conversely, distrust between police and locals is the key to success for insurgents and terrorists, Pol Lt Gen Pongpat said, adding that several countries had adopted the community policing practice to combat crime, other social problems and even terrorism.
In Thailand, he said, a proposal would be made to the national police chief to consider implementing community policing more broadly to help combat the southern unrest.
The latest spate of violence resurfaced in the deep South in 2004.
Since then more than 4,600 people have been killed and nearly 9,000 people wounded in the region, according a report by the army.

credit news to Bangkok post .

ชูสตูลโมเดลช่วยดับไฟใต้ 5รัฐมาเลย์ชื่นชมโครงการ‘ผบช.ก.’ตร.ผู้รับใช้ชุมชน

http://www.lopburi1.go.th/school/thairath1/logo.jpg
จันทร์ 27 สิงหาคม 2555 























http://www.thairath.co.th/content/newspaper/286499
ชูสตูลโมเดลช่วยดับไฟใต้ 5รัฐมาเลย์ชื่นชมโครงการ‘ผบช.ก.’ตร.ผู้รับใช้ชุมชน กลุ่มทุนมูลนิธิ 5 รัฐมาเลย์ หนุนโครงการ “ตร.ผู้รับใช้ชุมชน” ของนายพลเจ้าทฤษฎี “พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์” ผบช.ก. ยก “ชุมชนบ้านหัวทาง” อ.เมืองสตูล ที่กองปราบปรามลงไปกรุยทางเป็น “สตูลโมเดล” เชื่อเอามาใช้แก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ด้านตำรวจมาเลย์เผยทำมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2006 ลดความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติ โดยเฉพาะความหวาดระแวง ต้นตอปัญหาเหตุรุนแรงในภาคใต้ได้สำเร็จ ขณะที่ ผกก.6 บก.ป.บอกดับไฟใต้ต้องร่วมใจกันทุกฝ่าย กลุ่มทุน 5 รัฐมาเลย์ เชื่อโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นแนวทางดับไฟใต้ได้ โดยเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 26 ส.ค. ที่มัสยิดปะดังเบซาร์ สะลาตัน รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. พร้อมคณะ เดินทางเข้าพบนายริชวาน บิน มูฮัมหมัด อิสสะ หัวหน้าด่านศุลกากร รัฐปะลิส พ.ต.อัสมี บิน ฮาเม็ด หน.ตำรวจประชาชนสัมพันธ์ รัฐปะลิส และหัวหน้าชุดตำรวจผู้รับใช้ชุมชนประเทศมาเลเซีย และดะโต๊ะ ซอรี มูฮำมัด ฮัดซี บิน ตัน สือรี เชค อะหมัด ส.ว.รัฐปะลิส ตัวแทนกลุ่มมูลนิธิ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย ที่รวมกลุ่มกันบริจาคทุนช่วยเหลือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย เพื่อพูดคุย และร่วมกันผลักดันโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่กองปราบปรามนำมาใช้ในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมืองสตูล จนประสบความสำเร็จ ไปใช้แก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ นายริชวาน บิน มูฮัมหมัด อิสสะ หัวหน้าด่านศุลกากร รัฐปะลิส กล่าวว่า การทำงานของตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนั้นเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน เพราะเคยมาศึกษาวิจัยที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ว่า มีแนวทางใดบ้างที่จะช่วยเหลือพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสงบสุขกลับคืนมา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่สำคัญคือ การหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกันระหว่างรัฐกับประชาชน ตรงนี้ได้พยายามที่จะให้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาดูตัวอย่างที่ จ.สตูล จะได้เห็นถึงความเป็นเอกภาพในการทำงานต่างๆของรัฐ และประชาชนสามารถเป็นต้นแบบที่จะนำไปใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ เพราะเป็นการทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน สำหรับปัญหาอีกอย่างคือ คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ยอมรับว่าเขาเป็นคนไทยมุสลิม บอกว่า เป็นคนมลายู ที่เป็นอิสลาม ผิดจากที่ จ.สตูล ทุกคนบอกว่าเป็นคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะทำอย่างไรที่จะพังกำแพงความคิดนี้ให้สลายไป เวลานี้ประเทศมาเลเซียเอง ถ้ามองปัญหาแล้วมีมากกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ เพราะมีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา ต่างวัฒนธรรม รัฐบาลมาเลเซียเลยออกนโยบายซาตู– มาเลเซีย หรือมาเลเซียเป็นหนึ่งเดียว หลอมรวมคนในประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ทำสำเร็จมาแล้ว อยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องของไทยนำไปทำบ้าง ทำให้คนในชายแดนภาคใต้รู้สึกว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน คงจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ด้าน พ.ต.อัสมี บิน ฮาเม็ด หน.ตำรวจประชาสัมพันธ์ รัฐปะลิส กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติด้วยโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ของประเทศมาเลเซีย ดำเนินการมา 6 ปี โดยประยุกต์มาจากประเทศออสเตรเลีย นำมาปรับใช้จนประสบความสำเร็จ โดยช่วง 6 เดือนแรกที่ริเริ่มโครงการ จำนวนคดีอาชญากรรมของชุมชนลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยอาศัยความจริงใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตั้งใจในการรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในชุมชน จนทำให้เกิดการรวมตัวของชุมชน เข้ามาช่วยงานทุกด้านเพื่อให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่ เป็นเรื่องที่ประชาชนและตำรวจร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรในการลดคดีอาชญากรรม เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ขอชื่นชมตำรวจกองปราบปรามที่ได้นำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้ในพื้นที่ชุมชนหัวทาง อ.เมือง สตูล จนทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว ลดความหวาดระแวงที่เป็นต้นเหตุของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคิดว่าจะต้องประสานความร่วมมือเพื่อผลักดันให้ทางการไทยให้ความสำคัญกับโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับมูลนิธิ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยรัฐปะลิส เคดาห์ เประ กลันตัน และปีนัง เป็นการรวมกลุ่มของแหล่งทุนที่บริจาคร่วมกันใน 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย ที่ติดชายแดนไทย เพื่อช่วยเหลือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ในเรื่องศาสนา โดยมีลูกชายของสุลต่านรัฐกลันตัน ร่วมอยู่ในมูลนิธิด้วย อีกทั้งเคยเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยียนชุมชน บ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมืองสตูล ได้ยอมรับการทำงานของตำรวจกองปราบปรามที่ทำเรื่องตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จึงได้เชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเข้าชมโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนของประเทศมาเลเซีย ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2006 เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล และเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีในระดับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ขณะที่ พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป.กล่าวว่า การเข้าพื้นที่ชุมชนหัวทาง อ.เมือง จ.สตูล ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เพื่อทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจในการลดปัญหาในพื้นที่ชุมชน ครั้งแรกประชาชนส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจตำรวจ แต่หลังเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ระยะหนึ่ง ประชาชนมีความไว้วางใจ ไม่หวาดระแวง รักตำรวจ เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างตำรวจกับประชาชน โดยประชาชนได้พูดถึงความประทับใจที่มีต่อตำรวจผู้รับใช้ชุมชนในกลุ่มชาวไทยมุสลิม จนกลุ่มมูลนิธิ 5 รัฐ ของประเทศมาเลเซียเข้ามาเยี่ยมชมโครงการ และยอมรับว่า ทำให้ลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐได้จริง และสนับสนุนให้มีการนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้ในการแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ประสานรัฐและชาวบ้านเป็นเนื้อเดียวกัน ลดความหวาดระแวงชุมชนกับรัฐ ผกก.6 บก.ป.กล่าวต่อว่า จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคณะมูลนิธิ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย ที่ได้ดำเนินการโครงการนี้มาตั้งแต่ปี2006 มีการปลูกฝัง สร้างความรัก ความเข้าใจ และความไว้ใจระหว่างตำรวจและประชาชนตั้งแต่เด็ก และเยาวชน โดยจะต้องทำให้รู้สึกว่าตำรวจใกล้ชิดกับเขา มีความจริงใจ สม่ำเสมอ สัมผัสได้ สร้างแนวร่วมเครือข่ายเพื่อนตำรวจ อาสาสมัคร เปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารในการระวังป้องกันภัยทั้งตนเอง และชุมชน มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางเดียวกับนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กำชับให้ตำรวจใกล้ชิดชุมชนและประชาชน น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากทุกฝ่าย ไม่ใช้ตำรวจเพียงหน่วยเดียวเท่านั้น

ขอบคุณภาพและเนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คืนแรก 'เจ๋ง ดอกจิก' นอนเรือนจำชั่วคราว 'หลักสี่'

 http://www.thairath.co.th/images/global/header/logo_print.jpg

23 สิงหาคม 2555  

เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบเรียบร้อย ณ ศาลอาญารัชดาโดยหน่วยคอมมานโด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม

Pic_285533
คืนแรก นายยศวริศ ชูกล่อม "เจ๋ง ดอกจิก" นอนเรือนจำชั่วคราว "หลักสี่" ขณะที่เสื้อแดงเตรียมยกไปเยี่ยมพรุ่งนี้ ด้าน "ณัฐวุฒิ-จตุพร" ให้กำลังใจ ขอให้เข็มแข็ง เชื่อผ่านช่วงเวลานี้ไปได้...
วัน ที่ 20 ส.ค. ที่ศาลอาญา นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร​และสหกรณ์ แกนนำกลุ่ม นปช. กล่าวภายหลังศาลมีคำสั่งให้ถอนป​ระกันตัวนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ "เจ๋ง ดอกจิก" ว่า ให้นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ ในฐานะโฆษกกลุ่ม นปช. ไปพูดคุยทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม และกล่าวว่า พร้อมทำตามเงื่อนไขของศาล ซึ่งไม่ได้มีอะไรแปล​กใหม่คือการห้ามเดินทางออกนอกปร​ะเทศ และต่อจากนี้จะต้องแสดงออกทางกา​รเมืองอย่างสุขุมรอบคอบ ศาลไม่ได้ปิดกั้นการใช้สิ​ทธิเสรีภาพในแสดงออกทางการเมือง​
ทั้ง นี้ นายณัฐวุฒิ เผยว่า ภายหลัง​ที่ศาลมีคำสั่งถอนประกันนายยศวริศทุกคนก็กอดกัน และบอกกับนายยศวริศว่า สิ่งที่จะทำให้ผ่านวันเวลาเหล่า​นี้ไปได้คือ หัวใจที่เข้มแข็ง
ส่วน กรณีที่ศาลเพิ่มเงื่อนไขการถอนประกันตัวคดีก่อการร้าย นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ไม่ใช่การกำหนดเงื่อนไขใหม่ ทั้งการห้ามออกนอกประเทศ หรือห้ามก่อความวุ่นวาย แต่ยอมรับว่าจากนี้ไป นปช.ต้องเคลื่อนไหวอย่างรอบคอบ ซึ่งศาลเองก็ไม่ได้ห้าม ไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพในการเคลื่อนไหว
ขณะที่ นายจตุพร พรหม พันธ์ุ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ต้องขอบคุณศาลและขอบคุณประชาชนที่ให้กำลังใจ ขอแสดงความเสียใจกับนายยศวริศ ที่ถูกเพิกถอนประกันในครั้งนี้ พวกตนและทนายความจะพยายามดำเนินการประกันตัวตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็ม ที่ แต่คาดว่าไม่น่าจะดำเนินการได้ทันในวันนี้ โดยจะให้ทีมกฎหมายเตรียมความพร้อม และหารือกันอย่างโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะการยื่นเงินสดจำนวน 2 ล้านบาท เพื่อขอประกันตัวนายยศวริศ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านายยศวริศมีความเข้มแข็ง และเชื่อว่าจะผ่านสถาานการณ์เช่นนี้ไปได้
ส่วน กรณีที่ศาลอาญาได้กำหนดเงื่อนไขข้อห้ามใหม่ ทำให้กลุ่ม นปช.ต้องปรับการปราศรัยบนเวทีในครั้งต่อไปหรือไม่ นายจตุพร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ไม่ทำให้ลำบากมากขึ้น แต่ยอมรับว่าคงต้องระมัดระวังในการปราศรัยมากขึ้น แต่เมื่อศาลอาญากำหนดเงื่อนไขเป็นเช่นนี้ ส่วนตัวก็ไม่ขัดข้อง
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากศาลอาญารัชดาได้ยกเลิกสิทธิการเพิกถอนชั่วคราวของนายยศวริศ ทางเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ได้ควบคุมตัวไปคุมขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยได้นำตัวมาโดยรถตู้ที่ทางเรือนจำจัดไว้ หมายเลขทะเบียน อห 2001 กทม. โดยมีรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามนำขบวน โดยนายยศวริศยังคงมีสีหน้าเเจ่มใส โบกมือ เเละยิ้มทักทายกับสื่อมวลชน
ขณะ เดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 2 เเละ สน.ประชาชื่น ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจ เเละเจ้าหน้าที่จราจรมาคอยดูเเลความสะดวกเเละความปลอดภัย เพราะเกรงว่าจะมีกองเชียร์เสื้อเเดงมาให้กำลังใจ เเต่ปรากฏว่าไม่มีชาวเสื้อเเดงเดินทางมาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เเต่อย่างใด เหตุการณ์โดยรวมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างปกติ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่า กลุ่มคนเสื้อเเดงจะมาเยี่ยมนายยศวริศในวันพรุ่งนี้ ตามระยะเวลาที่ทางเรือนจำกำหนด
ต่อ มา เจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัว นายยศวริศเข้าทำประวัติผู้ต้องขังที่แดนแรกรับเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที เจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายยศวริศขึ้นรถเรือนจำเพื่อย้ายไปควบคุมที่เรือนจำชั่ว คราวหลักสี่ เนื่องจากถือเป็นผู้ต้องขังคดีการเมือง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ถูกส่งตัวไปควบคุมภายในเรือนจำชั่วคราวหลักสี่



 ขอบคุณเนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ปลายทางดับไฟใต้ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน คอลัมน์สหบาท

 http://www.thairath.co.th/images/global/header/logo_print.jpg
 23 สิงหาคม 2555


http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/285363
      ปลายทางดับไฟใต้
      หลังจาก กก.6 บก.ป.ได้ดำเนินโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ที่ ชุมชนบ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล ตามแนวนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. ด.ต.สุทธินันท์ อนันธขาล และ ด.ต.จิต จิเบ็ญจะ ผบ.หมู่ กก.6 บก.ป. ทำหน้าที่เป็น CPO ได้รับการสนับสนุนจากชาวชุมชนหัวทางที่ส่วนใหญ่เป็นคนไทยมุสลิม จากความหวาดกลัว ไม่เชื่อมั่นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลายเป็นความรัก ความร่วมมือ ลดความหวาดกลัว ตำรวจกองปราบปรามได้นำแนวนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เข้าไปช่วยกันทำให้ชาวบ้านสร้างภูมิคุ้มกันในทุกๆด้าน ภายใต้หลักการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางชุมชน จากความพึงพอใจของพี่น้องไทยมุสลิมในชุมชนหัวทาง ได้ขยายผลออกไปสู่กลุ่มหมู่บ้านไทยมุสลิมทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มมุสลิม 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย ที่เป็นการร่วมกลุ่มที่มีลูกชายสุลต่านรัฐกลันตันอยู่ในมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในเรื่องศาสนา ได้เดินทางเข้ามาเยี่ยมชุมชนบ้านหัวทาง และติดตามรูปแบบการทำงานโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน พร้อมแสดงความชื่นชมการทำงานที่ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงานร่วมกันของรัฐกับประชาชน เป็นไปตามแนวทางวิจัยของมูลนิธิ ที่เคยฝังตัวอยู่ในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ได้พบว่า ปัจจัยที่เป็นปัญหาสำคัญคือ การหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจกันระหว่างรัฐกับประชาชน แต่ชุมชนหัวทางได้แสดงให้เห็นถึงการทำงานช่วยเหลือกันและกันของตำรวจกองปราบปราม จนเป็นเนื้อเดียวกัน ตำรวจเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของตำรวจ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความเป็นเอกภาพในการทำงานของรัฐและประชาชน น่าจะเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ เพื่อทำให้คนในประเทศไทยรู้สึกว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน เป็นประเทศเดียวกัน เพราะอดีตประเทศมาเลเซียมีปัญหามากกว่าประเทศไทยเพราะมีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา ต่างวัฒนธรรม รัฐบาลกลางได้ออกนโยบาย “ซาตูมาเลเซีย” หรือ “มาเลเซียเป็นหนึ่งเดียว” หลอมรวมคนในประเทศมาเลเซียให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จมาแล้ว “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” น่าจะเป็นทางสว่างในการเยียวยาและดับไฟใต้ได้.
 สหบาท

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์สหบาท

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อดุลย์ พงศ์พัฒน์ ดันสุดตัว "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" หนทางสว่างดับไฟไต้


แกะรอยรายสับดาห์ ไทยรัฐ “อดุลย์-พงศ์พัฒน์” ดันสุดตัว “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” หนทางสว่างดับไฟใต้


ทีมข่าวอาชญากรรม
19 สิงหาคม 2555, 05:00 น.
“อดุลย์-พงศ์พัฒน์” ดันสุดตัว “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” หนทางสว่างดับไฟใต้

เป็นสถานการณ์ที่บั่นทอนความรู้สึกอย่างมากของพี่น้องคนไทยกับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ตั้งแต่ปี 2547 กลุ่มก่อความไม่สงบได้ปฏิบัติ การก่อเหตุอย่างไม่มีวันจบสิ้นจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

รัฐบาลหลายสมัยไม่สามารถคลี่คลายความหวาดระแวงของพี่น้องคนไทยด้วยกัน

ความ แตกต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบ ประเพณี วัฒนธรรม ความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่ เป็นกำแพงใหญ่ที่ทำให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ยอมรับว่าเป็นคน ไทยมุสลิม

การ เข้าไปพัฒนา สร้างความเข้าใจ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความสันติสุขโดยเร็วที่สุด เป็นความตั้งใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ให้ นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล

โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจลดความหวาด ระแวงต่อกันของประชาชน ชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อน เปราะบาง เป็นชนวนเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นอกเหนือจากกลุ่มผลประโยชน์ นักการเมือง ที่อยู่เบื้องหลังการจุดชนวนไฟใต้ให้ลุกลาม

ภารกิจ ที่ใหญ่หลวงของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร. นายตำรวจที่ได้ชื่อเป็นนักรบ นักคิดและนักพัฒนา ตลอดชีวิตราชการ พล.ต.อ.อดุลย์ ได้ทุ่มเท เสียสละอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยพื้นที่ภาคใต้ พยายามหาทางดับไฟใต้ จนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของตัวแทนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

จนเป็นที่ยอมรับเชื่อถือของผู้นำศาสนาและพี่น้องคนไทย-มุสลิมในพื้นที่

จากนโยบาย การทำงานที่อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจและความเป็นธรรม โดยยึดถือแนวทางพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ พล.ต.อ.อดุลย์ ในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) และศูนย์ปฏิบัติการชายแดนภาคใต้ (ศชต.) เข้ามาอุดช่องโหว่ของปัญหาไฟใต้

ได้ มีการปรับแผนใหญ่อีกครั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ ผบช.ศชต.เป็น ผบ.ศปก.สน. มีอำนาจสั่งการทุกหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เป็นเอกภาพ ปรับภารกิจของ ศชต. ภ.จว. และ สภ.ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการปฏิบัติการทางยุทธการด้านความมั่นคง มากขึ้น

เพิ่มขีดความสามารถสืบสวนคดีสำคัญ การสอบสวนและนิติวิทยาศาสตร์ให้ ศชต.และ ศปก.ตร.สน. มอบ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้า พล.ต.ท.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฎฐ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วย ผบ.ตร.อดีต ผบช.สพฐ.ตร.เข้าร่วมวางแผน

แม้จะมีเหตุรุนแรง เกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าเทียบกับอดีตที่ผ่านมาถือว่ามีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก ด้วยแนวทางพัฒนากำลัง พัฒนาหน่วยที่เป็นระบบของ พล.ต.อ.อดุลย์ ได้เห็นความเข้มแข็งของการป้องกัน การสืบสวน สอบสวน การเข้าถึงชุมชน และการมีส่วนร่วมของพี่น้องคนไทย-มุสลิมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

แต่เงื่อนไขไฟใต้ที่ลุกโชนเป็นช่วงๆเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน

กลุ่ม ผู้ก่อความไม่สงบ “ผู้บงการ” จงใจสร้างสถานการณ์ให้เกิดความหวาดกลัวของผู้คนในพื้นที่ แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลไทย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สามารถปกป้องคุ้มครองประชาชน

ต้องการท้าทายอำนาจรัฐควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้

มี การพัฒนาเทคนิควิธีการที่จะทำให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นในสถานที่ต่างๆ ไม่ต่างจากกลุ่มก่อการร้าย ตั้งแต่ข่มขู่ ลงมือปฏิบัติการตั้งใจทำให้เกิดความหวาดกลัวเพิ่มขึ้นในสังคม คนร้ายทั่วไปฆ่าคนตายจะปกปิดซุกซ่อนหรือนำศพไปทิ้ง แต่ผู้ก่อการร้ายฆ่าคนตัดคอและทิ้งศพไว้กลางถนน เพื่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นในชุมชน

ยิ่งเราหวาดกลัวเท่าไร ผู้ก่อความไม่สงบยิ่งประสบความสำเร็จมากเท่านั้น

การ ใช้ความรุนแรง ใช้เล่ห์เหลี่ยม ละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้ประชาชนในสังคมมองดูเจ้าหน้าที่ว่ามีพฤติกรรมเลวร้ายยิ่งกว่าผู้ก่อการ ร้าย จะโกรธเกลียดรับไม่ได้กับการกระทำของตำรวจ ขาดความเชื่อถือศรัทธาตำรวจ

กลายเป็นวงจรอุบาทว์ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจ

นอก จากไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ไม่ทำให้เกิดผลดีแล้ว ยังจะทำให้เป็นบาดแผล มีแต่จะยิ่งทำให้ความร้าวฉานบานปลายต่อไปอีก จะตกหลุมพรางของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่หาเรื่องกล่าวหาฝ่ายรัฐชอบใช้วิธี รุนแรง

หนทางที่จะเยียวยาแก้ไขไฟใต้ที่คุกรุ่นมานาน ต้องใช้ความร่วมมือของชุมชนประชาชน ใช้ความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่น เพื่อลดความหวาดกลัว

วิธีที่ดีที่สุดในการดับไฟใต้ คงไม่พ้น...ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)

ซึ่ง เป็นทฤษฎีเดียวในโลกที่ใช้สู้กับการก่อการร้ายได้โดยนักสังคมศาสตร์ด้าน อาชญาวิทยาระดับโลก 2 ท่าน คือ วิคเตอร์ อีแคพเพลเลอร์ และนายแลรี เค ไกเนส ได้ยืนยันความเหมาะสมที่สุดของทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนต่อการแก้ปัญหาการ ก่อการร้ายไว้ว่า

“ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นหลักปรัชญาที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรตำรวจในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายและ ปัญหาความหวาดกลัวที่เกิดจากการก่อการร้ายเหล่านั้น” และ “จริงๆแล้วทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนสามารถป้องกันการก่อการร้ายได้ดีกว่า วิธีอื่นๆทุกวิธีที่มุ่งใช้ความรุนแรง”

เพราะหลักการสำคัญของทฤษฎี ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มุ่งลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระหว่างประชาชนกับประชาชน และระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ขณะที่หลักการของการก่อการร้ายเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นกับ ประชาชน สร้างความหวาดระแวงและไม่เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ

หลักการของ “ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ตรงข้ามกับการก่อการร้ายและก่อความไม่สงบ

หาก เราสามารถดำเนินการตามแนวทางตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ย่อมมีโอกาสเอาชนะการก่อการร้ายได้ เพราะหัวใจหลักคือ การสร้างความรู้จักคุ้นเคยกับประชาชน การเข้าครอบครองยึดพื้นที่ การลดความหวาดระแวงของประชาชน  และสร้างความหวาดระแวงให้คนร้าย

เป็น แนวทางที่ได้จากทฤษฎีที่ใช้ได้ผลในหลายประเทศ และประสบการณ์ที่ใช้มาตลอดชีวิตของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ได้พยายามผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาอาชญากรรม การก่อการร้าย เพื่อให้เห็นทางสว่างในการคลี่คลายสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์เป็นตำรวจที่ได้มีโอกาสทำงานด้านการข่าวและ ก่อการร้ายร่วมกับหน่วยงานสำคัญของโลก มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และมีความตั้งใจที่จะเห็นการพัฒนาตำรวจให้เป็นที่ยอมรับ

จากผลการ ปฏิบัติตามโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ของชุด กก.6 บก.ป.ของ พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. ที่ชุมชนบ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล ได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนา พี่น้องคนไทยมุสลิม

กลุ่ม “มูลนิธิ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย” ที่มีส่วนช่วยเหลือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ในเรื่องทางศาสนาได้เข้ามาสัมผัสการทำงานของชุด “กองปราบปราม” จนได้ยอมรับว่าน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีในการประสานให้รัฐและชาวบ้านเป็นเนื้อ เดียวกัน เป็นการทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการ “ลดความหวาดระแวง” ความที่ไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน หล่อหลอมให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งเดียวกัน ทลายกำแพงความแตกต่างของไทย-มุสลิมในพื้นที่

โดยเฉพาะการ “ลดความกลัว” ที่เป็นเงื่อนไขของกลุ่มก่อความไม่สงบลดลง

ซึ่งองค์กรสำคัญของประเทศเพื่อนบ้านมองว่า เป็นหนทางแสงสว่างดับไฟใต้ที่ลุกโชนยาวนาน

ไม่ มีหนทางไหนที่จะยุติไฟใต้ได้อย่างถาวร นอกจากความเข้าใจเข้าถึงชุมชน การเดินตามกรอบของกฎหมาย เข้าหา และดึงชุมชนมาเป็นพวก เพราะทฤษฎีที่สำคัญผู้ก่อการร้ายไม่เคยชนะในประเทศระบอบประชาธิปไตยที่เคารพ หลักการด้านสิทธิมนุษยชน

ความสำเร็จของการต่อสู้กับการก่อการร้าย ไม่ได้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไม่ใช่การข่าว แต่มาจากชุมชนและประชาชน ที่จะเอาชนะก่อการร้ายได้ โดยเพิ่มความร่วมมือรัฐ–ชุมชน

ลดความหวาดกลัว หวาดระแวงที่เป็นความตั้งใจของกลุ่มก่อการร้าย กลุ่มแบ่งแยกดินแดน.


ทีมข่าวอาชญากรรม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมภ์ทีมข่าวอาชญากรรม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ติวเข้ม'ภาษาจีน'รับประชาคมอาเซียน

15 สิงหาคม 2555

ติวเข้ม'ภาษาจีน' รับ..ประชาคมอาเซียน : สารพันตำรวจ โดยทัศชยันต์ วาหะรักษ์

               หนีห่าว...(สวัสดี), หนีห่าวมะ...(สบายดีหรือเปล่า), เซี่ย เซี่ย ซิ่ง ซิน เวน นิน กุ่ย ซิง...(ขอบคุณครับคุณแซ่อะไรครับ)
                เสียงภาษาจีนดังสลับกับคำแปลภาษาไทย ปนด้วยเสียงหัวเราะและเสียงปรบมือดังหลุดลอดมาจากห้องเรียนชั่วคราว ภายในห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 10 โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ๊นเซส ย่านเยาวราช เมื่อวันก่อน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า โครงการอบรมให้ความรู้ภาษาจีนแก่ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบ สวนกลาง (บช.ก.) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน..เริ่มต้นขึ้นแล้ว
                นักเรียนภาษาจีนรุ่นแรกของ บช.ก.มีทั้งหมด 24 นาย ตั้งแต่ระดับผู้บังคับการไล่เรียงลงไปจนถึงชั้นประทวน พวกเขามาเรียนรู้ภาษาจีนตามแนวคิดริเริ่มของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ซึ่งต้องการให้ตำรวจในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านภาษา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชน
                "ภาษายังเป็นปัญหาของตำรวจไทย เมื่อต้องประสานงานกับตำรวจต่างประเทศ ขณะที่ตำรวจประเทศอื่นเขาสามารถสื่อสารได้ดีพูดได้ 2-3 ภาษา เมื่อมาเทียบกับตำรวจเราแล้วถือว่าเรายังด้อยกว่าเขามาก จึงจำเป็นต้องยกระดับความรู้ด้านภาษาให้แก่ตำรวจไทย เพื่อสื่อสารกับต่างประเทศได้ รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการเฝ้าระวังป้องกันเหตุต่างๆ ให้ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวบ้านเรา หากตำรวจสามารถพูดได้หลายภาษาก็จะง่ายต่อการปฏิบัติงาน" พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ บอกถึงที่มาของการฝึกอบรมภาษาจีนให้แก่ตำรวจในสังกัด
                พร้อมกับบอกถึงเหตุผลที่ต้องเลือกภาษาจีนว่า อีก 3 ปีข้างหน้าประตูประชาคมอาเซียนจะเปิด คาดว่านอกเหนือจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาจีนจะเป็นอีกภาษาที่จะมีการใช้กันมาก เนื่องจากปัจจุบันประชากรโลกถึง 1 ใน 4 เป็นคนจีน ในภูมิภาคอาเซียนภาษาจีนก็มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ ในไทยเองแต่ละปีก็มีผู้ที่ใช้ภาษาจีนเดินทางเข้ามาจำนวนมาก หากตำรวจไทยมีความรู้ในการใช้ภาษาจีนก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน จึงได้ขอความอนุเคราะห์จากพระธรรมภาวนาวิกรมช่วยประสานสำนักงานฮั่นปั้น ประจำประเทศไทย ซึ่งสอนภาษาจีนให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดไตรมิตรอยู่แล้ว ให้มาช่วยสอนภาษาจีนให้แก่ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางด้วย และหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนรุ่นแรกแล้วจะมีการประเมินผลเพื่อขยายผล จัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อๆ ไป    
                ด้าน ร.ต.ต.กฤชทนง เสาวรส รองสวป.สทท.3 กก.1 บก.ทท. หนึ่งในนักเรียนภาษาจีนยอมรับว่า ที่ผ่านมาความไม่รู้ด้านภาษาเป็นอุปสรรคใหญ่ในการทำงาน และยิ่งอีก 3 ปีข้างหน้าประชาคมอาเซียนจะเปิด คาดว่าจะมีชาวต่างชาติจำนวนมากเดินทางเข้าประเทศไทย ภาษาต่างประเทศจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพราะเป็นภาษาที่คนทั่วโลกใช้กันมาก
                "ทุกวันนี้คนจีนและผู้ที่ใช้ภาษาจีนเข้ามาเที่ยวบ้านเราเยอะมาก ผมในฐานะตำรวจท่องเที่ยวต้องสัมผัสกับพวกเขาเยอะ หากผมสามารถสนทนากับเขาได้รู้เรื่องก็จะง่ายต่อการปฏิบัติหน้าที่" ร.ต.ต.กฤชทนง บอกถึงความตั้งใจ
                สอดคล้องกับ ด.ต.พรชัย วงศ์กาวิน ผบ.หมู่ ปพ.บก.ป. ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ภาษาจีนอีกคน บอกว่า ตำรวจนอกจากจะให้บริการหรือปกป้องรักษาชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยแล้ว ยังต้องบริการและปกป้องรักษาชีวิตทรัพย์สินของทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยด้วย ปัจจุบันชาวจีนนิยมเข้ามาเที่ยวไทยจำนวนมาก ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในบางครั้งเราไม่สามารถหาล่ามแปลได้ทันท่วงที เพราะมีตำรวจที่พูดจีนได้น้อย
                "บ่อยครั้งที่ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศแล้วเราอยากแนะนำในการดูแลความ ปลอดภัย และอยากพูดปลอบโยนหรือให้กำลังใจในกรณีที่เขาประสบเหตุ แต่ทำไม่ได้ เพราะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง เมื่อได้ฝึกภาษาจีนน่าจะนำไปใช้ได้มาก เพราะคนจีนเข้ามาเที่ยวบ้านเราเยอะ" ด.ต.พรชัย บอกด้วยน้ำเสียงมุ่งมั่น
                สำหรับการฝึกอบรมภาษาจีนดังกล่าวออกแบบการเรียนการสอนโดยทีมงานของ "มาดามผางลี่" ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (ฮั่นปั้น) ประจำประเทศไทย มีพระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม สนับสนุน และมี พ.ต.ท.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ รองผกก.ปพ.บก.ป.ทำหน้าที่หัวหน้าผู้ประสานงานโครงการ โดยจะใช้เวลาหลังเลิกงานประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน 5 สัปดาห์ เรียนรู้ภาษาจีน โดย เน้นการพูดคุยสนทนากับครูชาวจีนอย่างใกล้ชิด และจะมีการประเมินผลหลังผ่านการอบรม และจะมีการคัดเลือกผู้มีผลการเรียนดีและมีความสนใจไปเรียนรู้ภาษาจีนเพิ่มใน ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ปีด้วย

..........
(หมายเหตุ : ติวเข้ม'ภาษาจีน' รับ..ประชาคมอาเซียน  : สารพันตำรวจ โดยทัศชยันต์ วาหะรักษ์)
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสืิอพิมพ์ คม ชัด ลึก

ห้องเรียนขงจื่อ-ร.ร.ไตรมิตรฯ ติวเข้มภาษาจีนตำรวจครั้งที่2



15 สิงหาคม 2555
เมื่อ เร็วๆ นี้ได้มีพิธีเปิดการอบรมการสอนภาษาจีน สำหรับข้าราชการตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมของข้าราชการตำรวจ ให้มีทักษะทางด้านภาษาจีน สามารถสื่อสาร ทำงานกับตำรวจในประเทศอาเซียน และประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ต่อไปในอนาคต ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 10 โรงแรม แกรนด์ไชน่า ปริ๊นเซส ถนนเยาวราช



โดยมี พระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ประธานห้องเรียนขงจื่อ โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ประธานมูลนิธิร่มฉัตร พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. มาดามผางลี่ ผู้แทนสำนักงาน ฮั่นปั้น ประจำประเทศไทย พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ., พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป., พล.ต.ต. อดิศร์ งามจิตสุขศรี ผบก.ทท., พร้อมด้วยคณะครูสอนภาษาจีน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน

เจ้า คุณธงชัยกล่าวว่า ถือว่าเป็นนิมิตที่ดีของมิตรภาพไทย-จีน และมิตรภาพที่ดีของการพัฒนาการเรียนการศึกษาภาษาจีนของกรมตำรวจ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลทุกข์-สุขของประชาชน เป็นการแสดงออกของตำรวจไทยเราว่ามีความสามารถ มีวิสัยทัศน์ที่ดี จากผู้บัญชาการ แล้วไปสู่ผู้บริหารที่รับผิดชอบต่อมา เป็นสิ่งที่ดีมากที่ทางอาตมภาพซึ่งทำงานร่วมกับสถาบันฮั่นปั้น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการสอนภาษาจีนทั่วโลกยกเว้นประเทศสาธารณรัฐประชาชน จีน ซึ่งในประเทศไทยมี มาดาม ผางลี่ เป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการศึกษาภาษาจีนทั้งหมด ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ถือว่าท่านทั้งหลายได้มาเรียน มาศึกษาภาษาจีนที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีน ซึ่งจะได้รับวุฒิบัตร

โรงเรียน ไตรมิตรวิทยาลัย วันนี้ ถือว่ามีความพร้อมดีที่สุดในการเรียนการศึกษาภาษาจีน รวมทั้งในโรงเรียนไตรมิตรฯ ทั้งหมดตั้งแต่ ม.1-ม.6 เรายังมีการให้การศึกษาภาษาจีนกับชุมชน และวันนี้ก็ดีใจ ที่มีส่วนให้การศึกษาแก่ตำรวจผ่านมาแล้ว 1 รุ่น ซึ่งมีตำรวจสถานีตำรวจพลับพลาไชย ซึ่งถือว่าเป็นท้องที่เยาวราช ไชน่าทาวน์เราเริ่มเรียนเป็นคอร์สแรก ที่จริงได้พูดกับผู้บัญชาการสอบสวนกลางเป็นเวลานาน ถึงการเรียนในครั้งนี้


'วันนี้ เป็นวันดีซึ่งเป็นวันกองทัพจีนด้วย ท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้ ถือว่าเป็นตัวแทนของกองทัพไทยได้ มีศักยภาพที่จะติดอาวุธทางปัญญา ช่วยเหลือประชาชน ตรงนี้ ถือเป็นนิมิตที่ดี โรงเรียนไตรมิตรฯ เราพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในเรื่องการพัฒนานี้ และขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจ ต้องเรียนกับท่านทุกภาคส่วนของการพัฒนาในครั้งนี้ว่า อาตมามองดูจากตำรวจที่มาวันนี้ล้วนแต่มีพื้นฐานอยู่บ้างแล้วจากการได้สัมผัส และขอขอบคุณท่านผู้บัญชาการสอบสวนกลาง ที่เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กรของตำรวจให้ตำรวจไทยเรามีคุณภาพที่ ดี ขอบคุณท่านประชาคมชาวเยาวราช ที่ท่านทั้งหลายได้ร่วมกันบุกเบิกพัฒนาในการทำให้มิตรภาพไทย จีน ให้กระชับแน่นแฟ้นเป็นอย่างดี ถือว่าสำคัญมากทำให้รู้ว่าประเทศไทยตื่นตัวในการพัฒนาประเทศ และขอฝากความหวังว่าท่านจะช่วยในการสื่อสารเรื่องนี้อย่างดียิ่ง อาตมาขออนุโมทนากับทุกๆ คน และขอให้กำลังใจให้การเรียนการศึกษาของท่านประสบความสำเร็จ' เจ้าคุณธงชัยกล่าว


การเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับข้าราชการ ตำรวจ ในครั้งนี้ เริ่มเรียนบัดนี้เป็นต้นไป เรียนสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. และจะสอนพื้นฐานภาษาจีน ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเฉพาะข้าราชการตำรวจ และศิลปวัฒนธรรมจีน เพื่อให้ตำรวจไทยมีความรู้ความสามารถสื่อสารภาษาจีนเตรียมพร้อมเข้าสู่ ประเทศอาเซียนต่อไปในอนาคต


หน้า 31

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตร.ปคบ. จับมือ สมอ. ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำขึ้นห้าง

 

ตร.ปคบ. จับมือ สมอ.
ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำขึ้นห้าง
ด้วยปัจจุบันปัญหาสินค้านำเข้าที่มีราคาถูก แต่คุณภาพต่ำไม่คงทนและผลิตไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ใช้ได้ แต่กลับมีตัวแทนจำหน่ายนำมาวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการรณรงค์เพื่อไม่ให้ประชาชนไปซื้อมาใช้ และออกปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง

แต่ผู้กระทำผิดไม่เข็ดหลาบ แถมกับมาทำซ้ำอีก จนกลายเป็นปัญหาอาชญากรรม ด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม ทาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้เห็นความสำคัญและห่วงใยประชาชน ที่ใช้สินค้าไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานและอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงมีนโยบายมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละ บก.ในสังกัด ให้ตระหนักถึงปัญหาอาชญากรรม ที่เพิ่มมากขึ้นตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมได้สั่งกำชับให้ทุกหน่วยในสังกัด บช.ก. ปฏิบัติงานเชิงรุก โดยแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ให้ทำงานตามวิธีการ “ตำรวจสมัยใหม่ 5 ทฤษฎี 1 หลักการ” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชน ซึ่งได้เห็นชอบและบรรจุไว้ใน แผนยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ทางกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) นำโดย พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล ผบก. และ พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม รอง ผบก.ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง กล่าวเปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสินค้าประเภทต่างๆ ที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ที่วางจำหน่ายตามแหล่งจำหน่าย ห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศอย่างแพร่หลายจำนวนมาก มีการแข่งขันทางการค้าและลดต้นทุนการผลิต จึงทำให้สินค้าด้อยคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน ทางประชาชนผู้บริโภคจึงอาจได้รับอันตรายแก่ชีวิตและสุขภาพ จึงมีแนวความคิดจัดทำกิจกรรมตามโครงการ “ตำรวจ ปคบ.ร่วม สมอ. ผู้รับใช้ชุมชน” โดยร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ห้างสรรพสินค้าโลตัส โรบินสัน เซ็นทรัล และท๊อป ฯลฯ จับมือกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ในการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ติดสลากอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

พล.ต.ต.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า เป้าหมายและหลักการที่สำคัญของแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จะได้ร่วมกันทำกิจกรรมตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ตามข้างต้น เพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ร่วมกันใส่ใจดูแลและเอาใจใส่ประชาชน เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้าและบริการ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยและชีวิต

โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก และสตรี ซึ่งถูกกระทำอันเนื่องมาจากสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันทางการค้า มีการลดราคาสินค้าลง ทำให้คุณภาพสินค้าต่ำ ด้อยคุณภาพและไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ

ทางเราจะให้ความรู้และคำแนะนำ ทำความเข้าใจแก่ชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย ให้นำสินค้าที่ถูกต้อง มีคุณภาพมาจำหน่าย เช่น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ต้องมีเครื่องหมายมาตรฐาน (มอก.) สินค้าต้องมีสลากและคำแนะนำที่ถูกต้อง ไม่หลอกลวง ไม่โฆษณาเกินจริง และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค

นอกจากนี้ยังทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการและ ผู้บริโภค แจ้งข้อมูลเบาะแสผู้กระทำความผิด เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเครือข่าย จะทำให้ ชุมชน (ห้างสรรพสินค้า) มีความเข้มแข็ง มีความปลอดภัย ปัญหาการประทุษร้ายต่อทรัพย์ในห้างสรรพสินค้าและประชาชนผู้บริโภคหมดไปโดย สิ้นเชิง

ด้าน พ.ต.อ.จักษ์ เพ็งสาธร ผกก.3 บก.ปคบ. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางตำรวจ กก.3 บก.ปคบ. ได้ร่วมจัดทำกิจกรรมตามโครงการ “ตำรวจ ปคบ.ร่วม สมอ.ผู้รับใช้ชุมชน” ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก โดยร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สินค้าและบริการติดสลากถูกต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

พ.ต.อ.จักษ์ กล่าวอีกว่า การนำแนวทางตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จะประสบความสำเร็จเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมแก้ไข โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่ประชาชนนิยมมาซื้อสินค้าเพื่อบริโภค โดยห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ก็เป็นชุมชนหนึ่งที่ บก.ปคบ.ได้เข้ามาดำเนินโครงการ และยังมีอีกหลายๆ ชุมชนที่ทาง บก.ปคบ. จะได้เข้าไปดำเนินการ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน

พ.ต.อ.จักษ์ กล่าวต่อท้ายว่า และที่ผ่านมา การกระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยอุตสาหกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีมาตรฐาน จำนวน 100 รายการ แต่ได้มีผู้ประกอบการทำการผลิต นำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชนในประเทศเป็นจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.บก.ปคบ.ได้ปฏิบัติงานเชิงรุกระดมกวาดล้างจับกุมผู้กระทำผิดมาอย่างต่อ เนื่อง แต่ปรากฏว่าผู้กระทำผิดไม่เข็ดหลาบกับมาทำซ้ำอีก จึงได้คิดวิธีและหาทางแก้ไขมาโดยตลอดมิได้นิ่งเฉย จนกระทั่งจัดทำโครงการร้านค้าปลอดภัย จากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่มาตรฐาน (SafetyZone) ด้วยการจับมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น สมอ.สคบ. และ อย.ก็ได้ผลในการลดและควบคุมอาชญากรรมได้อย่ามีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดเอาสินค้าที่ภายใต้การควบคุมของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาขายและจำหน่ายให้ประชาชน พร้อมกับจัดสัมมนาพนักงานผู้คัดเลือกและควบคุมคุณภาพสินค้ามาขาย

หากประชาชนมีปัญหาหรือมีเบาะแสใดๆ สามารถติดต่อ บก.ปคบ.ได้หลายช่องทาง ดังนี้ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือตู้ ปณ. 459 ปณศ.สามเสนใน พญาไท กทม. 10400 โทรสารหมายเลข 0-2513-4242 และเว็บไซต์ www.consumer police.go.th

ทีมข่าวอาชญากรรม-รายงาน

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากหนัง่สืิอพิมพ์บ้านเมือง ครับ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

(เดลินิวส์) "เดอะกิ๊ก"ลุยคลองมหาสวัสดิ์ พบปะชาวบ้านตามโครงการตำรวจรับใช้ประชาชน

http://www.logothailand.com/shop/l/logothailand/img-lib/spd_20080421145326_b.jpg
 
  
 
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (12 ส.ค.) พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ลงพื้นที่ริมคลองมหาสวัสดิ์ หมู่ 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อพบปะชาวบ้านและรับฟังปัญหาความต้องการของชุมชน หลังตำรวจกองปราบนำโครงการตำรวจผู้รับใช้ประชาชนเข้ามาในพื้นที่ โดยมีนายกเทศมนตรีตำบลศาลายา ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในชุมชนให้การต้อนรับ พร้อมขอบคุณกับความร่วมมือ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด การป้องปรามอาชญากรรม รวมถึงความไม่เป็นระเบียบที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละหน่วยก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องการจับดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมายังไม่สามารถลดปัญหาต่างลงได้

จากประสบการณ์และการได้มีโอกาสไปสอนนักศึกษาในต่างประเทศ เขาใช้โครงการในลักษณะนี้คือให้ตำรวจเข้าทำความรู้จักกับชาวบ้าน ฝังตัวกินอยู่ในชุมชน จนเป็นเสมือนญาติพี่น้อง ช่วยเหลือประสานงานในการแก้ปัญหาความต้องการ รวมถึงช่วยพัฒนาชุมชนให้เกิดความเจริญ ตัวอย่างที่เลียบคลองหมาสวัสดิ์แห่งนี้ ตำรวจกองปราบเริ่มเข้ามาตั้งแต่ก่อนเกิดปัญหาน้ำท่วมหนัก อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมกันต่อสู่กับน้ำ จนถึงเรื่องของอาหารการกิน เครื่องอุปโภคบริโภค และสาธารณสุข ถึงวันนี้ทุกคนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ปัญหายาเสพติดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปัญหาลักเล็กขโมยน้อยก็หายไป รถของชาวบ้านจอดไว้ไม่เคยหาย พร้อมกันนี้อยากจะฝากให้ทุกคนช่วยบอกต่อ เรื่องโครงการตำรวจผู้รับใช้ประชาชน บอกลูกบอกหลาน บอกคนในครอบครัว ให้ทุกคนได้รับรู้และเข้าใจ การได้ร่วมมือกัน นอกจากแก้ปัญหาต่างๆได้แล้ว ยังเป็นพลังความสามัคคี เพื่อจะได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความอยู่ดีมีสุขของชุมชน
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ครับ

www.facebook.com/communitypolicingthailand
www.csdthailand.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มีตำรวจ-ชุมชนอุ่นใจ

 

มีตำรวจ-ชุมชนอุ่นใจ



โพลประเมินกรุงกลัวอาชญากรรม

ผบช.ก.เดินหน้าสานโครงการ ตำรวจ ผู้รับใช้ชุมชน ลงพื้นที่พบปะชาวบ้านชุมชนวัดคุณหญิงส้มจีนย่านคลองหลวง ปทุมธานี ได้รับเสียงสะท้อนตอบรับในทางดี สามารถทำให้อาชญากรรมและปัญหายานรกในพื้นที่หายเกลี้ยง หวังวัดใจผู้บังคับบัญชาขยายคลุมทุกพื้นที่ ส่วน “เอแบคโพล” เผยผลสำรวจการประเมินความหวาดกลัวอาชญากรรมของคนกรุงกับมาตรการจับปืนของ ผบช.น. ส่วนใหญ่เชื่อว่า ลดความหวาดระแวงโจรได้ ขณะที่อีกไม่น้อยต้องการตำรวจชุมชนสร้างความอบอุ่นประชาชนดีกว่า

เมื่อ สายวันที่ 4 ส.ค. พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่ชุมชนวัดคุณหญิงส้มจีน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมี พ.ต.ต.ปริญญา กลิ่นเกษร สว.ส.ทล.ประตูน้ำพระอินทร์ เจ้าของโครงการคอยต้อนรับ ก่อนพบปะพูดคุยรับฟังปัญหาของชาวชุมชนเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวแก่ชาวบ้านว่า ตำรวจสมัยใหม่ต้องใส่ใจคุณภาพชีวิตของประชาชน ต้องอยู่กับประชาชนให้ประชาชนอุ่นใจ จากนั้นได้สอบถามชาวชุมชนว่า รู้สึกอย่างไรที่มีตำรวจอยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งส่วนมากพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาชญากรรมลดลงมาก เด็กวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด ปัจจุบันหายไปหมด คนขายก็ไปขายกันที่อื่น พวกลัก เล็กขโมยน้อย แต่ก่อนเดือนเดียวมีเป็นสิบราย ก็หายไปหมด

อย่างไรก็ ตาม มีผู้หญิงคนหนึ่งในชุมชนยกมือถามว่า อยู่ชุมชนฝั่งตรงข้ามถนน ถูกข่มขู่จากพวกติดยาเสพติดบ่อย อยากให้ขยายโครงการเข้าไปในชุมชนของตนบ้าง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์รับปากว่า ในอนาคตคาดหวังว่าจะเป็นอย่างนั้น คือ ให้มีตำรวจอยู่ทุกชุมชน แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้บังคับบัญชา และเรื่องงบประมาณด้วย ตรงนี้อยากให้ชาวบ้านที่คิดว่าโครงการนี้ดีก็ให้ช่วยกันบอกต่อ เชื่อว่าจะเป็นบุญเป็นกุศลกับผู้ที่ตั้งใจทำ อีกทั้งยังเป็นผลดีกับลูกหลานในชุมชนของตนเอง

วันเดียวกัน นายนพดล กรรณิกา ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า จากผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประเมินความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม มาตรการจับกุมอาวุธปืน และความต้องการของสาธารณชนต่อ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.คนปัจจุบัน กรณีศึกษาตัวอย่างข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรและระดับประทวน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจใน บช.น.ใช้การเลือกตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อของสถานีตำรวจจำนวนทั้งสิ้น 441 นาย และตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยในเขต กทม. โดยสุ่มเลือกเขต แขวง ชุมชน ครัวเรือน 1,392 ตัวอย่าง สำรวจระหว่างวันที่ 25 ก.ค.-3 ส.ค.55 พบว่า เมื่อสอบถามความรู้สึกหวาดกลัวของประชาชนต่ออาชญากรรม ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาก่อนการสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.0 รู้สึกหวาดกลัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.4 หวาดกลัวเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 4.6 เท่านั้นที่หวาดกลัวลดลง

เมื่อถามถึงมาตรการจับ กุมอาวุธปืนของ ผบช.น.คนปัจจุบัน กับความรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมในชุมชน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 ของตำรวจ กับร้อยละ 25.1 ของประชาชนที่ระบุว่ามาตรการจับกุมอาวุธปืนช่วยลดความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม ได้มาก และร้อยละ 23.4 ของตำรวจ กับร้อยละ 29.0 ของประชาชนระบุมาตรการดังกล่าวช่วยลดความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ของตำรวจ กับร้อยละ 27.2 ของประชาชนระบุช่วยลดได้ค่อนข้างน้อย และร้อยละ 1.1 ของตำรวจ กับร้อยละ 18.7 ของประชาชนระบุช่วยลดได้น้อยถึงไม่ช่วยลดความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมลงเลย

สำหรับ ผลการวิจัยในคำถามสิ่งที่ประชาชนอยากให้ ผบช.น.คนปัจจุบันกวดขันเข้มงวดในเรื่องใด ส่วนใหญ่อันดับแรกหรือร้อยละ 97.8 อยากให้กวดขันจับกุมการขับรถเกินความเร็วที่กฎหมายกำหนด รองลงมาคือร้อยละ 97.3 อยากให้เข้มงวดกับสถานบริการบันเทิงเปิดเกินเวลา ร้อยละ 96.7 อยากให้กวดขันจับกุมรถไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ร้อยละ 96.1 อยากให้กวดขันตรวจค้นยาเสพติดในชุมชน ร้อยละ 94.6 อยากให้ปิดสถานบันเทิงใกล้สถาบันการศึกษา และร้อยละ 92.6 อยากให้กวดขันอาวุธปืน ตามลำดับ และที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.2 ของตัวอย่างประชาชน ร้อยละ 66.0 ของตัวอย่างตำรวจคิดว่าการมีตำรวจฝีมือดีประจำป้อมตำรวจใกล้บ้านตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ช่วยให้ความอบอุ่นใจแก่ประชาชนได้มากกว่ามาตรการจับกุมอาวุธปืน

นอก จากนี้ ทั้งตัวอย่างประชาชนและข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 72.6 ของประชาชน และร้อยละ 71.7 ของตำรวจเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อข้อความที่ว่า การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนเป็นเรื่องที่ดี แต่ที่ดีกว่าคือ การมีโครงการตำรวจประจำชุมชน ขณะเดียวกัน ข้าราชการตำรวจร้อยละ 96.8 และร้อยละ 85.3 ในกลุ่มประชาชนที่คิดว่า ถ้าเพิ่มตำรวจสายตรวจมากขึ้นในชุมชนจะช่วยลดความหวาดกลัวลงไปได้ และเกินกว่าร้อยละ 90 ของทั้งประชาชนและตำรวจ คิดว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจให้มาก ขึ้น

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก. จัดอบรมภาษาจีนตำรวจเพิ่มศักยภาพ






วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 10 โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ้นเซส กรุงเทพฯ พระธรรมภาวนาวิกรม(เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตร , พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. , พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ. , พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. , มาดามผังลี่ ผู้แทนสำนักงานฮั่นปั้น ประจำประเทศไทย ร่วมเปิดพิธีการอบรมการเรียนภาษาจีนสำหรับตำรวจสอบสวนกลาง

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่า ตนมองเห็นปัญหาเรื่องภาษาของตำรวจไทยเมื่อต้องทำงานประสานกับตำรวจต่าง ประเทศ ในขณะที่ตำรวจประเทศต่างๆสามารถสื่อสารได้ดีกว่าตำรวจเรามาก ส่วนใหญ่สามารถพูดได้คนละ 2-3 ภาษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้ได้มีทักษะภาษา ให้สามารถสื่อสารทำงานกับตำรวจหรือให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทั้งด้าน อำนวยความสะดวก และการพูดคุยซักถามให้การช่วยเหลือด้านคดี สอดคล้องกับการที่จะเปิดประเทศในภูมิภาคเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ตอนนั้นภาษาสากลจะมีความสำคัญมาก นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาจีนนับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

เนื่องด้วยประชากรในโลก 1 ใน 4 เป็นคนจีน จึงมีความคิดอยากเริ่มพัฒนาความสามารถทางภาษาตำรวจไทยตั้งแต่วันนี้และตน เห็นว่า ภาษาจีนน่าสนใจมาก จึงกราบขอความอนุเคราะห์จาก พระธรรมภาวนาวิกรม(เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตร ช่วยประสานสำนักงานฮั่นปั้น ประจำประเทศไทยที่เป็นหน่วยงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจากประเทศจีนและ ช่วยทำการสอนให้กับนักเรียนที่โรงเรียนวัดไตรมิตรอยู่แล้ว ให้มาทำการอบรมภาษาจีนให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง โดยเน้น ฟัง พูด และการอบรมรุ่นแรกจะเรียน สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 2-3 ชั่วโมง 5 สัปดาห์หลังเลิกงาน รุ่นแรก 24 คน เรียนได้ตั้งแต่ผบก.จนถึงผู้บังคับหมู่ มีตำรวจหลายรายสนใจขอเข้าเรียนเป็นจำนสนมาก เป็นสัญญาณที่ดีแสดงว่า ตำรวจไทยมีความตื่นตัวสนใจใฝ่รู้ ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรจะประเมินผล หากประสบผลสำเร็จจะเปิดรุ่นต่อไป นอกจากนี้ตนได้รับข่าวดีสำหรับตำรวจที่มีผลการประเมินหลังผ่านการอบรมรอบแรก ว่า มาดามผังลี่ ผู้แทนสำนักงานฮั่นปั้น ประจำประเทศไทย จะมอบทุนเรียนภาษาจีนที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์  เดลินิวส์

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ป.บุกรวบตัวเอ้ มาเฟีย'ยุโรป

Thairath

 ป.บุกรวบตัวเอ้ มาเฟียยุโรป

1ใน5มีบัญชีดำคดีติดตัวอื้อซ่าหนีมาซุกภูเก็ต

สถานทูต เบลเยียมประสานกองปราบปราม บุกจับมาเฟียใหญ่ ที่ทางการเบลเยียมต้องการตัวมากที่สุด และ 1 ใน 5 ตัวเอ้บัญชีดำสหภาพยุโรป หลังสืบสวนพบหลบหนีมากบดานอยู่ภูเก็ต แฉประวัติยาวเหยียด ทั้งต้องคดีฆ่าโหดอดีตภรรยา ฉ้อโกงบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ค้าของผิดกฎหมาย และฟอกเงินให้เครือข่ายอาชญากรทั่วยุโรป

กองปราบฯรวบผู้ต้องหาชาว เบลเยียมที่หนีคดีมากบดานอยู่ในประเทศไทย เปิดเผยขึ้นที่ บก.ป. เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 31 ก.ค. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พล.ต.ต.มณฑล เงินวัฒนะ ผบก.ตท. พ.ต.อ.ประสพโชค  พร้อมมูล รอง  ผบก.ป. พร้อมเจ้าหน้าที่สถานทูตเบลเยียมประจำประเทศไทย แถลงจับกุมนายมาร์ค เดอ ชัทเทอร์ อายุ 57 ปี สัญชาติเบลเยียม  ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 890/2555  ลงวันที่  27  ก.ค.  ความผิดฐานเป็นผู้ร้ายข้ามแดน  พร้อมของกลางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร รถยนต์โตโยต้า คัมรี่ สีขาว ทะเบียน กค 6972 พิจิตร รถ จยย. 1 คัน และเอกสารหลักฐานจำนวนมาก  จับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลางได้ที่บ้านเลขที่ 77/7 ถนนไสยวน ซอยสามัคคี 2 ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต

พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวว่า  พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ได้รับการประสานจากสถานทูตเบลเยียมและสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ช่วยติดตามจับกุมนายมาร์คซึ่งเป็นคนร้ายข้ามชาติ  มาเฟียรายสำคัญที่ทำความผิดคดีสำคัญในประเทศเบลเยียมหลายคดี ทั้งฆาตกรรมและคดีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน มีหมายจับตำรวจเบลเยียม นอกจากนี้ ยังทำผิดลักษณะเป็นเครือข่ายองค์กร อาชญากรรมร่วมกับมาเฟียประเทศอิตาลี อิสราเอลและอีกหลายประเทศ ต่อมาหลบหนีมาอาศัยอยู่ใน ประเทศไทย จึงประสานงานร่วมกันหลายหน่วยงานก่อนออกหมายจับผู้ต้องหา

ผบก.ป.กล่าว อีกว่า  ต่อมาเมื่อวันที่  28  กรกฎาคม ตำรวจสืบสวนทราบว่า  ผู้ต้องหาหลบหนีมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต จึงวางแผนนำกำลังร่วมกับตำรวจท้องที่จับกุม  แต่ครั้งแรกไม่พบตัว เนื่องจากผู้ต้องหาเปลี่ยนที่พัก จนกระทั่งวันที่ 30 ก.ค. จึงพบผู้ต้องหาที่บ้านหลังดังกล่าวสามารถจับกุมตัวไว้ได้ เบื้องต้นทราบว่า หลังจากผู้ต้องหาก่อคดีในประเทศตัวเองแล้ว  หลบหนีไปอาศัยอยู่ในหลายประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. เดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ โดยถือหนังสือเดินทางหมายเลข EH976320 มาอาศัยอยู่ใน จ.ภูเก็ต

“สำหรับ ประวัตินายมาร์คพบว่า  เป็นมาเฟียอันดับ  1  ที่ตำรวจเบลเยียมต้องการตัวมากที่สุด  และเป็น 1 ใน 5 มาเฟียรายสำคัญที่อยู่ในบัญชีดำของประเทศสหภาพยุโรป  ส่วนพฤติการณ์ผู้ต้องหาเกี่ยวพันการค้าสิ่งผิดกฎหมายที่ลักลอบนำเข้าจากนอก ประเทศเบลเยียม  ฟอกเงินที่ได้จากการกระทำความผิดในประเทศอิสราเอลและอีกหลายประเทศ  รวมทั้งฉ้อโกงทรัพย์โรงงานน้ำมันรายใหญ่แห่งหนึ่งจนศาลมีคำสั่งปรับเป็นเงิน 20 ล้านยูโร นอกจากนี้ เมื่อ 15 ปีก่อนก่อเหตุฆ่าอดีตภรรยาตัวเองแล้วนำศพไปซ่อน  ครั้งนั้นผู้ต้องหาได้รับความช่วยเหลือจากนายตำรวจระดับสูงในประเทศเบลเยียม จึงหลบหนีคดีมาได้” ผบก.ป.กล่าว

พล.ต.ต.สุพิศาลกล่าวต่อว่า หลังจากนี้ ตำรวจจะดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป  อย่างไรก็ดี ช่วงก่อนการส่งตัว  เจ้าหน้าที่จะสืบสวนขยายผลการจับกุม  และเร่งติดตามผู้ต้องหาที่เป็นอาชญากรข้ามชาติ  ซึ่งพบว่าหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวสำคัญอันเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของ ประเทศ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ