จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมมานโดกองปราบ ติดเขี้ยวเล็บสู่ประชาคมอาเซียน


สุดดีใจหญิงวัย 51 ปีไม่มีบัตรประชาชนมากว่า 35 ปี ตำรวจกองปราบฯ ลงพื้นที่ตามโครงการ " ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน " ไปพบ พาตามหาหลักฐานก่อนพาทำบัตร และได้รับสิทธิคืน

สุดดีใจหญิงวัย 51 ปีไม่มีบัตรประชาชนมากว่า 35 ปี ตำรวจกองปราบฯ ลงพื้นที่ตามโครงการ
" ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน "
ไปพบ พาตามหาหลักฐานก่อนพาทำบัตร และได้รับสิทธิคืน

วันนี้ (29 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก ด.ต.มานพ เพ็งหล่ำ ผบ.หมู่

กก.2 บก.ป.ว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามได้ให้ความช่วยเหลือหญิงวัย 51 ปี ที่ชุมชนบ้านรอ อ.เมือง จ.อ่างทอง ที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมานาน 35 ปีได้เป็นประชาชนคนไทยสมบูรณ์แบบ มีสิทธิทุกอ่างที่คนไทยพึงมี หลังต้องอยู่อย่างใช้ชีวิตแบบคนไทยแต่ขาดสิทธิมานานนับ 35 ปี

จึงรุดไปตรวจสอบพบ น.ส.สมควร ภู่พงษ์ อายุ 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 28/6 ถนนบ้านรอ ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง เปิดเผยว่า ตนเองเกิด และเติบโตที่ชุมชนบ้านรอ มีพี่น้อง 9 คน อายุ 18-20 ปี ตนเองได้ไปทำงานเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และได้คัดสำเนาทะเบียนบ้านที่ชุมชนบ้านรอ ไปอยู่ที่บ้านนายจ้างที่ อ.บางปะอิน และเมื่อเลิกเป็นกระเป๋ารถเมล์ก็ได้ไปทำมาค้าขายอยู่ที่กรุงเทพฯ หลายปี จนบัตรประชาชนได้ขาดตนเองไม่ได้ต่อบัตรประจำตัวประชาชนปล่อยเรื่อยมา และเมื่อกลับมาอยู่บ้านเดิมที่ชุมชนบ้านรอ ตนเองไม่มีซื่อในทะเบียนบ้านเดิม เนื่องจากย้ายออกไปอยู่ที่ อ.บางปะอิน เมื่อหลายปีก่อน เมื่อกลับไปติดต่อบ้านนายจ้างเก่าที่ อ.บางปะอิน ก็หาไม่พบบ้านหลังดังกล่าว จึงกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้านพี่สาวในชุมชนบ้านรอ โดยที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ไม่มีสิทธิต่างๆ ตามประชาชนคนไทยพึงมี ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก

และเมื่อได้มีโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเข้ามาในหมู่บ้านจึงเกิดความสนิท สนมและไว้เนื้อเชื่อใจกับ ด.ต.มานพ จึงนำเรื่องไปปรึกษา และได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมได้สิทธิของคนไทยพึงมีกลับมาเผยทั้งน้ำตาอย่างดีใจ

ด.ต.มานพ เพ็งหล่ำ เปิดเผยว่า ที่มาที่ไปของการให้ความช่วยเหลือคุณยายสมควร ครั้งนี้ สืบเนื่องจาก พล.ต.ท.พงษ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้มีดำริโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน และให้แต่ละกองบังคับการในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำไปดำเนินการให้เกิดผล บก.ป.โดย พล.ต.ต.สุพิศาล ภัคดีนฤนาท ผบก.ป. ก็รับนโยบายดังกล่าว และมีการสั่งการให้ทุก กก.ใน บก.ป.จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีจิตอาสาเข้าปฏิบัติตามโครงการดังกล่าว กก.2 บก.ป.ก็เริ่มดำเนินการมาเป็นเวลานาน พ.ต.อ.นิรันดร์ นามสุวรรณ ผกก.2 บก.ป. พ.ต.ท.ศราณุ โสมทัต รอง ผกก.2 บก.ป.เป็นหัวหน้าผู้ควบคุม และ พ.ต.ท.ต่อศักดิ์ ปานกลิ่นพุฒ สว.กก.2 บก.ป.เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติ ซึ่งในส่วน กก.2 บก.ป.นั้นได้เลือกชุมชนนำร่องที่ จ.อ่างทอง ประกอบด้วยชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี

ซึ่งเมื่อครั้งที่ ตร.กก.2 บก.ป.เข้าเริ่มโครงการครั้งแรกนั้น ได้พบยายสมควร ซึ่งพักอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านรอ เมื่อมีกิจกรรม และการช่วยเหลือพร้อมกับพบปะพูดคุยจนคุณยายไว้เนื้อเชื่อใจ จึงได้เปิดเผยให้เจ้าหน้าที่ฟังว่า ตนเองไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมานา 35 ปี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตรวจสอบความจริงพร้อมนำเรียนต่อ พ.ต.ท.ต่อศักดิ์ ปานกลิ่นพุฒ สว.ฯ และได้สั่งการให้เริ่มให้ความช่วยเหลือ จน น.ส.สมควรได้บัตรประจำตัวประชาชนมาอีกครั้งหนึ่ง

ขอบคุณข่าวจาก
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000119737

'คอมมานโด'กองปราบติดเขี้ยวรับอาเซียน




30 กันยายน 2555



'คอมมานโด'กองปราบติดเขี้ยวรับอาเซียน : สัมภาษณ์พิเศษ พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. โดยไชยฤทธิ์ เสนาะวาที

              เพียงแค่ไม่กี่อึดใจ ก็ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเปิดประตูประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หลายหน่วยงานมีการเตรียมพร้อมรับมือ มีการคาดการณ์ประเมินผล เช่นเดียวกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (คอมมานโด) ก็มีการเตรียมการไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งเรื่องการรับมือการชุมนุม การเจรจาจับกุมคนร้าย รวมถึงหามวลชนช่วยงานตำรวจ พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. จะมาบอกถึงความพร้อมของหน่วยงาน ตอนนี้เต็มร้อยเพียงใด

 -งานของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปรามที่รับผิดชอบมีอะไรบ้าง?

              งานที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปรามรับผิดชอบและดูแลมีอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง อันดับแรกคือ งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนบุคคลสำคัญต่างๆ งานที่สองทำงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในคดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง อาวุธสงคราม และคดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับคดีอาญาทั่วราชอาณาจักร งานที่รับผิดชอบอย่างที่สามคือเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยให้ประชาชน ส่งกำลังสนับสนุนท้องที่ การใช้เครื่องไม้เครื่องมือพิเศษ การควบคุมฝูงชนให้เกิดความเรียบร้อย ส่วนข้อสุดท้ายก็ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เช่น นโยบายต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ต่างๆ
 - หน่วยคอมมานโดมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้าง?

              หากพูดถึงเรื่องการเปิดประตูประเทศสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว บอกได้เลยว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในวงการตำรวจ แต่ต้องยอมรับว่าท่านผู้บัญชาการอย่าง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เป็นตำรวจคนแรกๆ ที่ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่าองค์กรตำรวจจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากจะพูดถึงเรื่องนี้แล้วท่านยังเริ่มดำเนินการหลายๆ เรื่อง ทั้งเรื่องการฝึกอบรม เทคนิคการฝึกสืบสวนสอบสวนสมัยใหม่ การฝึกพูดภาษาจีน การสื่อสารการปฏิบัติตนต่อชาวต่างชาติ ส่วนที่เป็นรูปธรรมก็ชัดเจนมาปีนี้ทางคอมมานโดรับมาหลายเรื่อง ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วก็หลายเรื่อง กำลังดำเนินการอยู่ก็หลายเรื่อง และที่กำลังจะดำเนินการก็อีกหลายเรื่อง เราทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ยกตัวอย่างเช่น วัดไตรมิตรได้ร่วมกับกองบัญชาการสอบสวนกลางได้เปิดฝึกอบรมตำรวจที่สนใจไป เรียนภาษาจีนเพิ่มเติม สัปดาห์ละ 2 วัน ตัวอย่างที่สองได้มีการเซ็นเอ็มโอยู กับมหาวิทยาลัยนิด้า ในเรื่องให้ทุนตำรวจไปเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก นอกจากนี้ก็ยังมีการเซ็นเอ็มโอยู กับมหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งตำรวจเราไปเรียนที่นั่น ทั้งนี้เพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะรองรับการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั่นเอง
 - หลังเปิดประตูอาเซียน จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการจับกุมคนร้ายหรือการดูแลการชุมนุมอย่างไร?

              ตรงนี้เรามีการจัดอบรมยุทธวิธีคอนแทคแอนด์คัฟเวอร์ ตรงนี้เราทำมาทั้งปี เป็นเรื่องการเพิ่มพูนพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ยุทธวิธีการ เข้าตรวจค้นจับกุม และการคัฟเวอร์ตลอดจนเรื่องโปรเทกชั่นต่างๆ เราฝึกฝนตรงนี้ให้กำลังพลเราเพื่ออะไร เนื่องจากผลการวิจัยของต่างประเทศชี้ชัดว่าตำรวจได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมทั่วโลกต่อปีสูงถึง 60% เนื่องจากไม่มีเทคนิค ไม่ได้ฝึกฝนยุทธวิธี ซึ่งตรงนี้เราก็ได้เชิญวิทยากรมาอบรมให้เรา หลังจากนั้นเราก็ไปถ่ายทอดสิ่งที่เราได้อบรมมาต่อๆ ไปยังหน่วยอื่นๆ ต่อไป และในอนาคตเมื่อเราเปิดประเทศจะมีคนเข้ามาเยอะมีทั้งคนดี คนร้าย เราจะต้องเตรียมพร้อมซึ่งประเด็นนี้เรามีการวิเคราะห์และคิดกันไว้แล้ว ว่ารูปแบบของการชุมนุมก็จะเปลี่ยนไป นอกจากจะเป็นความขัดแย้งของคนไทยด้วยกันเองแล้ว อาจจะมีเหตุการณ์ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เราก็จะใช้หลักยุทธวิธีสากลตามหลักสหประชาชาติอยู่แล้ว
 - ยุทธวิธีการปราบม็อบที่ถูกหลักตามแบบสากลเป็นอย่างไร?
              เรามีกำลังอยู่ 1,200 คน เรามีการอบรมเรื่องการใช้กำลังจากเบาไปหาหนัก ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะไม่ใช้อาวุธกับผู้ชุมนุมไม่ว่าจะเป็นข้างใดหรือฝ่ายไหน เราจะไม่ใช้คำว่าปราบม็อบแต่เราจะใช้คำว่าเราส่งกำลังไปดูแลความสงบเรียบ ร้อยสถานที่ราชการ พี่น้องประชาชน เพราะประชาชนมีสิทธิ์ที่จะชุมนุมเรียกร้องแต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมาย เราจะลดการปะทะ ผลักดันแบบลดการบาดเจ็บซึ่งเป็นการอบรมฝึกซ้อมขั้นพื้นฐาน
              นอกจากนี้แล้วยังมีการฝึกควบคุมฝูงชนขั้นสูง จำแนกการฝึกเป็น 2 ประเภท คือ การฝึกเพื่อประจันหน้าม็อบ เพื่อพิทักษ์พื้นที่ และการฝึกเพื่อยึดพื้นที่คืน การเข้าจับกุมแกนนำการนำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บออกจากพื้นที่ชุมนุม โดยส่วนนี้จะมีเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วย เช่น รถฉีดน้ำ รถยิงแก๊สน้ำตา รวมถึงเครื่องแอลแรด (LRAD) ซึ่งเป็นการส่งคลื่นเสียงรบกวนกลุ่มผู้ชุมนุม และในปีนี้ สตช.สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์เต็มที่ทั้งชุดเกราะ กระบองยาง โล่ หมวกกันแก๊สรุ่นใหม่ที่นานาชาติเขาใช้ กระสุนยางที่ใช้ในการควบคุมฝูงชน
              หลักการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ว่า ต้องดูจากสถานการณ์ขณะนั้นว่ารุนแรงแค่ไหน ถ้าดูแล้วไม่มีความรุนแรงอะไรก็จะใช้แต่เสื้อเกราะเครื่องป้องกันตัวอย่าง เดียว เอาไหล่ดันกันไม่ให้ม็อบเข้ามาตามแนวที่กำหนดไว้ แต่ถ้าหากมีการใช้ความรุนแรง เริ่มตั้งแต่เอาคันธงมาเป็นอาวุธ ก็จะเอาโล่ เอากระบองมา แต่ยังไม่ได้สั่งตีทันทีทันใด จะมีวิธีตีตามขั้นตอน เมื่อม็อบเข้ามาประชิดตัว และหากรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิมก็จะใช้เครื่องแอลแรดส่งเสียงไล่ออกไป เอาน้ำฉีด หากยังเข้ามาอีกก็จะยิงแก๊สน้ำตาและหากรุนแรงจนเอาไม่อยู่ก็จะต้องใช้กระสุน ยางยิงผลักดันออกไป โดยมีระยะหวังผลอยู่ที่ 20 เมตร
      
 - มองว่าภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาชาวบ้านเป็นอย่างไรในตอนนี้?

              บอกได้เลยว่าชาวบ้าน 100 คน หากเราเข้าไปถามว่าเขาชอบเราหรือไม่ เชื่อว่า 99 คนน่าจะบอกว่าไม่ชอบเรา อย่างที่บอกทุกสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี เหรียญก็ยังมี 2 ด้านเสมอ เราตำรวจเองเราก็ต้องเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ทำงานรับใช้ให้เขาเห็นว่าเราทำงานเพื่อเขา ล่าสุดผมก็เชื่อว่ามีประชาชนบางกลุ่มที่เห็นว่าเราจริงใจ ทำงานจริงๆ รักเรา มองภาพลักษณ์เราดีขึ้นอย่างเช่นหลายชุมชนที่เราเอาทฤษฎีใหม่ “ตร.รับใช้ชุมชน” เขาไปใช้ สำหรับทฤษฎีนี้เป็นการทำงานในแบบล่างขึ้นบน เริ่มต้นจากความไว้เนื้อเชื่อใจ นำไปสู่ความร่วมมือทำกิจกรรม โดยประชาชนเป็นผู้บอกปัญหาและให้ความร่วมมือในการวางแผน ดังนั้นกิจกรรมจึงสนองตอบความต้องการของประชาชน ผลคือสามารถแก้ปัญหาในชุมชนได้ และลดอาชญากรรมได้จริง ซึ่งตำรวจกว่า 90% ทั่วโลก ยอมรับและเปลี่ยนการทำงานจากตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มาเป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนานแล้ว   

              สำหรับโมเดลนี้เป็นโมเดลตั้งแต่ปี 2539 ที่ ท่านพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ซึ่งตำแหน่งขณะนั้นเป็นรอง ผกก.หน.สน.บางขุนนนท์ ได้นำทฤษฎีตำรวจแนวใหม่นี้ไปทดลองใช้ที่ชุมชนหลังวัดบางขุนนนท์ และประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ หลังจากนั้นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนก็ได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง และเกิดเป็นโครงการทดลองขึ้นอีกหลายแห่ง หลักการคือมีตำรวจชั้นประทวน 2 คนเข้ามาอบรมและถูกส่งเข้าไปอยู่ในชุมชนเพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชน กับชาวบ้าน แสวงหาความร่วมมือ พอได้ 2 ข้อนี้แล้วก็เข้าไปร่วมกันแก้ปัญหาให้ชุมชนนั้นๆ พอปี 2553 กองปราบปราบได้ถูกถ่ายทอดให้นำทฤษฎีนี้มาใช้ และต่อมา ปี 2554 สมัย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ได้บรรจุทฤษฎีใหม่ 'ตร.รับใช้ชุมชน' เข้าไปในแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นงานที่ตำรวจทั้งประเทศจะต้องนำไปปฏิบัติ ซึ่งแผนนี้มีระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี 2564 ซึ่งเปิดดำเนินการไปแล้ว 40 ชุมชน และหากครบ 10 ปี เชื่อว่าเราจะทำได้ครบทั้งหมดทุกชุมชนทั่วประเทศ ต่อไปเราก็จะเห็นประโยคที่ว่าตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจเป็นจริงขึ้นมา

 พอได้ฟังทำให้มั่นใจได้ว่า ตำรวจกองปราบฯ ของไทย เริ่มติดเขี้ยวเล็บ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัวแล้ว!!

................
(หมายเหตุ : 'คอมมานโด'กองปราบติดเขี้ยวรับอาเซียน : สัมภาษณ์พิเศษ  พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. โดยไชยฤทธิ์ เสนาะวาที)
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20120930/141135/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.html#.UGf5Qa4sHNU

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมมานโด กองปราบ ติดเขี้ยวเล็บ สู่ประชาคมอาเซียน

วันศุกร์ ที่ 28 กันยายน 2555
ขอบคุณข่าวจาก oknation
http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/09/28/entry-4


          เพียงแค่ไม่กี่อึดใจ ก็ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเปิดประตูประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หลายหน่วยงานมีการเตรียมพร้อมรับมือ มีการคาดการณ์ประเมินผล เช่นเดียวกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (คอมมานโด) ก็มีการเตรียมการไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งเรื่องการรับมือการชุมนุม การเจรจาจับกุมคนร้าย รวมถึงหามวลชนช่วยงานตำรวจ พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. จะมาบอกถึงความพร้อมของหน่วยงาน ตอนนี้เต็มร้อยเพียงใด
-งานของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปรามที่รับผิดชอบมีอะไรบ้าง?
         งานที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปรามรับผิดชอบและดูแลมีอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง อันดับแรกคือ งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนบุคคลสำคัญต่างๆ งานที่สองทำงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในคดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง อาวุธสงคราม และคดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับคดีอาญาทั่วราชอาณาจักร งานที่รับผิดชอบอย่างที่สามคือเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยให้ประชาชน ส่งกำลังสนับสนุนท้องที่ การใช้เครื่องไม้เครื่องมือพิเศษ การควบคุมฝูงชนให้เกิดความเรียบร้อย ส่วนข้อสุดท้ายก็ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เช่น นโยบายต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ต่างๆ
- หน่วยคอมมานโดมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้าง?
           หากพูดถึงเรื่องการเปิดประตูประเทศสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว บอกได้เลยว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในวงการตำรวจ แต่ต้องยอมรับว่าท่านผู้บัญชาการอย่าง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เป็นตำรวจคนแรกๆ ที่ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่าองค์กรตำรวจจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากจะพูดถึงเรื่องนี้แล้วท่านยังเริ่มดำเนินการหลายๆ เรื่อง ทั้งเรื่องการฝึกอบรม เทคนิคการฝึกสืบสวนสอบสวนสมัยใหม่ การฝึกพูดภาษาจีน การสื่อสารการปฏิบัติตนต่อชาวต่างชาติ ส่วนที่เป็นรูปธรรมก็ชัดเจนมาปีนี้ทางคอมมานโดรับมาหลายเรื่อง ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วก็หลายเรื่อง กำลังดำเนินการอยู่ก็หลายเรื่อง และที่กำลังจะดำเนินการก็อีกหลายเรื่อง เราทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ยกตัวอย่างเช่น วัดไตรมิตรได้ร่วมกับกองบัญชาการสอบสวนกลางได้เปิดฝึกอบรมตำรวจที่สนใจไป เรียนภาษาจีนเพิ่มเติม สัปดาห์ละ 2 วัน ตัวอย่างที่สองได้มีการเซ็นเอ็มโอยู กับมหาวิทยาลัยนิด้า ในเรื่องให้ทุนตำรวจไปเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก นอกจากนี้ก็ยังมีการเซ็นเอ็มโอยู กับมหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งตำรวจเราไปเรียนที่นั่น ทั้งนี้เพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะรองรับการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั่นเอง
- หลังเปิดประตูอาเซียน จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการจับกุมคนร้ายหรือการดูแลการชุมนุมอย่างไร?
        ตรงนี้เรามีการจัดอบรมยุทธวิธีคอนแทคแอนด์คัฟเวอร์ ตรงนี้เราทำมาทั้งปี เป็นเรื่องการเพิ่มพูนพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ยุทธวิธีการ เข้าตรวจค้นจับกุม และการคัฟเวอร์ตลอดจนเรื่องโปรเทกชั่นต่างๆ เราฝึกฝนตรงนี้ให้กำลังพลเราเพื่ออะไร เนื่องจากผลการวิจัยของต่างประเทศชี้ชัดว่าตำรวจได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมทั่วโลกต่อปีสูงถึง 60% เนื่องจากไม่มีเทคนิค ไม่ได้ฝึกฝนยุทธวิธี ซึ่งตรงนี้เราก็ได้เชิญวิทยากรมาอบรมให้เรา หลังจากนั้นเราก็ไปถ่ายทอดสิ่งที่เราได้อบรมมาต่อๆ ไปยังหน่วยอื่นๆ ต่อไป และในอนาคตเมื่อเราเปิดประเทศจะมีคนเข้ามาเยอะมีทั้งคนดี คนร้าย เราจะต้องเตรียมพร้อมซึ่งประเด็นนี้เรามีการวิเคราะห์และคิดกันไว้แล้ว ว่ารูปแบบของการชุมนุมก็จะเปลี่ยนไป นอกจากจะเป็นความขัดแย้งของคนไทยด้วยกันเองแล้ว อาจจะมีเหตุการณ์ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เราก็จะใช้หลักยุทธวิธีสากลตามหลักสหประชาชาติอยู่แล้ว
- ยุทธวิธีการปราบม็อบที่ถูกหลักตามแบบสากลเป็นอย่างไร?
         เรามีกำลังอยู่ 1,200 คน เรามีการอบรมเรื่องการใช้กำลังจากเบาไปหาหนัก ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะไม่ใช้อาวุธกับผู้ชุมนุมไม่ว่าจะเป็นข้างใดหรือฝ่ายไหน เราจะไม่ใช้คำว่าปราบม็อบแต่เราจะใช้คำว่าเราส่งกำลังไปดูแลความสงบเรียบ ร้อยสถานที่ราชการ พี่น้องประชาชน เพราะประชาชนมีสิทธิ์ที่จะชุมนุมเรียกร้องแต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมาย เราจะลดการปะทะ ผลักดันแบบลดการบาดเจ็บซึ่งเป็นการอบรมฝึกซ้อมขั้นพื้นฐาน
         นอกจากนี้แล้วยังมีการฝึกควบคุมฝูงชนขั้นสูง จำแนกการฝึกเป็น 2 ประเภท คือ การฝึกเพื่อประจันหน้าม็อบ เพื่อพิทักษ์พื้นที่ และการฝึกเพื่อยึดพื้นที่คืน การเข้าจับกุมแกนนำการนำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บออกจากพื้นที่ชุมนุม โดยส่วนนี้จะมีเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วย เช่น รถฉีดน้ำ รถยิงแก๊สน้ำตา รวมถึงเครื่องแอลแรด (LRAD) ซึ่งเป็นการส่งคลื่นเสียงรบกวนกลุ่มผู้ชุมนุม และในปีนี้ สตช.สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์เต็มที่ทั้งชุดเกราะ กระบองยาง โล่ หมวกกันแก๊สรุ่นใหม่ที่นานาชาติเขาใช้ กระสุนยางที่ใช้ในการควบคุมฝูงชน
        หลักการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ว่า ต้องดูจากสถานการณ์ขณะนั้นว่ารุนแรงแค่ไหน ถ้าดูแล้วไม่มีความรุนแรงอะไรก็จะใช้แต่เสื้อเกราะเครื่องป้องกันตัวอย่าง เดียว เอาไหล่ดันกันไม่ให้ม็อบเข้ามาตามแนวที่กำหนดไว้ แต่ถ้าหากมีการใช้ความรุนแรง เริ่มตั้งแต่เอาคันธงมาเป็นอาวุธ ก็จะเอาโล่ เอากระบองมา แต่ยังไม่ได้สั่งตีทันทีทันใด จะมีวิธีตีตามขั้นตอน เมื่อม็อบเข้ามาประชิดตัว และหากรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิมก็จะใช้เครื่องแอลแรดส่งเสียงไล่ออกไป เอาน้ำฉีด หากยังเข้ามาอีกก็จะยิงแก๊สน้ำตาและหากรุนแรงจนเอาไม่อยู่ก็จะต้องใช้กระสุน ยางยิงผลักดันออกไป โดยมีระยะหวังผลอยู่ที่ 20 เมตร

- มองว่าภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาชาวบ้านเป็นอย่างไรในตอนนี้?
        บอกได้เลยว่าชาวบ้าน 100 คน หากเราเข้าไปถามว่าเขาชอบเราหรือไม่ เชื่อว่า 99 คนน่าจะบอกว่าไม่ชอบเรา อย่างที่บอกทุกสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี เหรียญก็ยังมี 2 ด้านเสมอ เราตำรวจเองเราก็ต้องเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ทำงานรับใช้ให้เขาเห็นว่าเราทำงานเพื่อเขา ล่าสุดผมก็เชื่อว่ามีประชาชนบางกลุ่มที่เห็นว่าเราจริงใจ ทำงานจริงๆ รักเรา มองภาพลักษณ์เราดีขึ้นอย่างเช่นหลายชุมชนที่เราเอาทฤษฎีใหม่ “ตร.รับใช้ชุมชน” เขาไปใช้ สำหรับทฤษฎีนี้เป็นการทำงานในแบบล่างขึ้นบน เริ่มต้นจากความไว้เนื้อเชื่อใจ นำไปสู่ความร่วมมือทำกิจกรรม โดยประชาชนเป็นผู้บอกปัญหาและให้ความร่วมมือในการวางแผน ดังนั้นกิจกรรมจึงสนองตอบความต้องการของประชาชน ผลคือสามารถแก้ปัญหาในชุมชนได้ และลดอาชญากรรมได้จริง ซึ่งตำรวจกว่า 90% ทั่วโลก ยอมรับและเปลี่ยนการทำงานจากตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มาเป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนานแล้ว
        สำหรับโมเดลนี้เป็นโมเดลตั้งแต่ปี 2539 ที่ ท่านพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ซึ่งตำแหน่งขณะนั้นเป็นรอง ผกก.หน.สน.บางขุนนนท์ ได้นำทฤษฎีตำรวจแนวใหม่นี้ไปทดลองใช้ที่ชุมชนหลังวัดบางขุนนนท์ และประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ หลังจากนั้นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนก็ได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง และเกิดเป็นโครงการทดลองขึ้นอีกหลายแห่ง หลักการคือมีตำรวจชั้นประทวน 2 คนเข้ามาอบรมและถูกส่งเข้าไปอยู่ในชุมชนเพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชน กับชาวบ้าน แสวงหาความร่วมมือ พอได้ 2 ข้อนี้แล้วก็เข้าไปร่วมกันแก้ปัญหาให้ชุมชนนั้นๆ พอปี 2553 กองปราบปราบได้ถูกถ่ายทอดให้นำทฤษฎีนี้มาใช้ และต่อมา ปี 2554 สมัย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ได้บรรจุทฤษฎีใหม่ 'ตร.รับใช้ชุมชน' เข้าไปในแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นงานที่ตำรวจทั้งประเทศจะต้องนำไปปฏิบัติ ซึ่งแผนนี้มีระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี 2564 ซึ่งเปิดดำเนินการไปแล้ว 40 ชุมชน และหากครบ 10 ปี เชื่อว่าเราจะทำได้ครบทั้งหมดทุกชุมชนทั่วประเทศ ต่อไปเราก็จะเห็นประโยคที่ว่าตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจเป็นจริงขึ้นมา

พอได้ฟังทำให้มั่นใจได้ว่า ตำรวจกองปราบฯ ของไทย เริ่มติดเขี้ยวเล็บ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัวแล้ว!!

                                               - ไชยฤทธิ์ เสนาะวาที -

ป.ร่วมคลี่คลายคดีฆ่าอำพรางศพ


ป.ร่วมคลี่คลายคดีฆ่าอำพรางศพ

 

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555 เวลา 13:18 น.
เมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. เปิดเผยว่า พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ได้สั่งการให้ บก.ป.เข้าร่วมสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีที่ พ.ต.อ.นพ.สุพัฒน์ เลาหะวัฒนะ อดีตแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาฆาตกรรมอำพรางศพคนงานชาวพม่า 2 ศพ โดยมอบหมายให้ตน พร้อมด้วย พ.ต.อ.วัชรพล ทองล้วน ผกก.5 บก.ป.นำชุดสืบสวนลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี เพื่อประสานงานกับ พล.ต.ต.พีรชาติ รื่นเริง ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี เพื่อสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด ซึ่งการลงพื้นที่เพื่อร่วมคลี่คลายคดีนี้จะมีการนำหลักการสืบสวนสอบสวนสมัย ใหม่ มาประยุกต์ใช้ด้วย

ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/crime/157832

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

พล.ต.ต.สรรพวุฒิ พิพัฒพันธุ์ รองผบช.ก. เยี่ยมตำรวจรับใช้ชุมชน

"สรรพวุฒิ" เยี่ยมตำรวจรับใช้ชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 เวลา 18:19 น.
วันนี้ (20 ก.ย.) ที่ชุมชนหมู่บ้านท่าข้าม พล.ต.ต.สรรพวุฒิ พิพัฒพันธุ์ รองผบช.ก. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ชัช  สุกแก้วณรงค์  รองผบก.ทล.  พ.ต.อ.เอกราช  ลิ้มสังกาศ  ผกก.ถปภ.บก.ทล. พ.ต.ต.หญิง  นฤมล  ทองสะอาด สว.ฝอ.บก.ทล.  พ.ต.อ.ดร.สัญญา  เนียมประดิษฐ์   รองผกก.4  บก.ปคบ.  ในฐานะทีมบริหารโครงการ คืนชุมชนสีขาวให้สังคม  พร้อมด้วยคณะทำงานและคณะสังเกตการณ์  ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของโครงการตำรวจคืนชุมชนสีขาวให้สังคม ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) ที่ทำการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ณ ชุมชนหมู่บ้านท่าข้าม ม. 8 ต.กุยบุรี  อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายณรงค์ศักดิ์  พิพัฒน์เสถียรไทย กำนัน นายมนตรี  บุญเกิด ผู้ใหญ่บ้าน นายเอกวี  อุบลบาล ผอ.กองการศึกษาเทศบาลต.กุยบุรี พร้อมคณะกรรมการหมู่บ้าน ร.ต.ต.ตระกูล  ธรรมเพชร รองสว.ส.ทล.3  กก. 2  บกทล. และ ด.ต. ประจวบ  จันทรโชติ ผบ.หมู่ ส.ทล.3 กก. 2 บก.ทล.  เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้การต้อนรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณรงค์ศักดิ์ ได้เป็นประธานการประชุมระหว่าง ตำรวจรับใช้ชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการให้แก้ปัญหายาเสพติด การดำเนินคดีผู้ต้องหาค้ายาเสพติด  มีคณะกรรมการเสนอแนวทางสุ่มตรวจปัสสาวะและบางรายต้องการให้แก้ไขปัญหาคุณภาพ ชีวิต แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีแนวทางอย่างไร  ทั้งนี้ ผู้บริหารโครงการได้เสนอว่า ตำรวจรับใช้ชุมชนจะนำปัญหาไปเสนอส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ในส่วนของชุมชนต้องหาแนวทางการอยู่ร่วมกัน และคนในสังคมเองต้องช่วยกันแก้ไขเบื้องต้น ทั้งนี้ พ.ต.อ.เอกราชได้ยกตัวอย่างการกรณีชุมชนแห่งหนึ่งในจ.เพชรบูรณ์ที่นำวัยรุ่น ที่เคยติดยามาร่วมเป็นตัวแทนของชุมชนทำให้ไม่หวนกลับไปเสพยาอีก  ขณะที่ พ.ต.อ.ดร.สัญญา ยกตัวอย่างแฟลตแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีนักค้ายาอยู่ แต่คนในแฟลตมีความเห็นให้ปิดทางเข้าออกเหลือทางเดียวทำให้ผู้เสพและนักค้า รายย่อยไม่กล้าเข้ามาซื้อยาในแฟลตดังกล่าวเพราะกลัวถูกตำรวจจับกุม   และให้ข้อแนะนำว่า การมองปัญหาต้องไปดูถึงต้นตอของสาเหตุเช่น ทำไมเยาวชนไม่เข้าเรียน สามีภรรยาตีกัน ซึ่งสังคมสามารถช่วยกันดูแลซึ่งกันและกันได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางตำรวจรับใช้ชุมชนอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จแต่ยืนยีนว่าเป็นวิธี ที่ดีที่สุด
ด้าน พล.ต.ต.สรรพวุฒิ  กล่าวว่า ถือว่าโครงการตำรวจรับใช้ชุมชนที่ชุมชนหมู่บ้านท่าข้ามประสบความสำเร็จ ซึ่งขณะนี้ บก.ทล. มีตำรวจรับใช้ชุมชนจำนวน 40 ชุมชน หลายที่สามารถกันนักค้ายาไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ได้ และประชาชนในพื้นที่ก็พอใจ  และหลายชุมชนตำรวจในโครงการสามารถดึงตัวแทนชุมชนมาเป็นคณะกรรมการและมีส่วน ร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนร่วมกัน  ทั้งนี้ ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวถูกกำหนดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของตร. ที่จะต้องดำเนินการระหว่างปี 2555-2564 แม้ขณะนี้ ทางบช.ก.จะเป็นผู้นำร่องไปก่อน แต่จากนี้ไปแต่ละ บช. และท้องที่จะต้องเข้าร่วมโครงการอย่างแน่นอน
ด้านนายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า หมู่บ้านท่าข้ามได้ร่วมโครงการตำรวจรับใช้ชุมชนมาประมาณ 3  เดือนแล้ว ในช่วงแรกชาวบ้านยังไม่เข้าใจว่าโครงการดังกล่าวคืออะไร เมื่อนายตำรวจทั้ง 2 นายพยายามอธิบายทำความเข้าใจและรวบรวมชาวบ้านมาเป็นคณะกรรมการช่วยกันร่วม โครงการโดยครั้งแรก ทางตำรวจได้สอบถามถึงปัญหาที่ทางหมู่บ้านต้องการให้แก้ไข ทางคณะกรรมการเสนอหลายอย่างทั้ง แก้ปัญหายาเสพติด และอาชญากรรม ในที่สุดก็เริ่มจากพัฒนาศาลาตาแดงที่เป็นแหล่งมั่วสุมยาของให้สวยงาม ตัดต้นไม้ที่ขึ้นรถให้มีความสวยงาม  ปรับปรุงไฟฟ้าส่องสว่าง  ติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  ใน่ส่วนของย่าเสพติดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่หมู่บ้านต้องการให้แก้ไข และอยู่ระหว่างแนวทางที่ดีที่สุด
สำหรับชุมชนหมู่บ้านท่าข้าม มีประชากรประมาณ 800 คน หรือ 200 หลังคาเรือน แบ่งเป็นเยาวชนประมาณ 60คน  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่สับปะรด มะพร้าวและลูกจ้างโรงงานสับปะรด

ขอบคุณข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/crime/156395

ขงเบ้งเรียกพี่ คมชัดลึก : ขอดเกล็ดดาวเงิน พ.ต.ท.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ รองผกก.ปพ.บก.ป.

ขงเบ้งเรียกพี่ : คมชัดลึก : ขอดเกล็ดดาวเงิน พ.ต.ท.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ รองผกก.ปพ.บก.ป.

              2 วันก่อน "กระจอกข่าว" มีโอกาสบินโฉบเฉี่ยวไปแถวๆ กองบังคับการตำรวจปราบปราม ย่านถนนพหลโยธิน สังเกตเห็นนายตำรวจรูปร่างท้วม ท่าทางใจดี กำลังง่วนอยู่กับการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับการอบรมสารพัดหลักสูตรที่ เกี่ยวข้องกับตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจปราบปราม (บก.ป.) รวมไปถึงอีกหลายหลักสูตรที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับตำรวจทุกกองบังคับการใน สังกัดกองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.)

              พิศไปดูมาไม่ใช่ใครอื่นไกล พ.ต.ท.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ รองผกก.ปพ.บก.ป. หรือ "พี่อั้ม" หรือ "รองบู" นี่เอง

              ตั้งแต่รับตำแหน่ง รองผกก.ปพ.บก.ป. มีโอกาสรับผิดชอบหน้างานด้านการบริหาร "พ.ต.ท.อัครวุฒิ์" ทุ่มเททำงานเต็มกำลัง โดยเฉพาะการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพให้แก่ตำรวจในสังกัดกองปราบปราม และหลายโครงการไปเกี่ยวเนื่องกับตำรวจทุกกองบังคับการในสังกัด บช.ก. "รองบู" ก็จัดให้ไม่ขาดตกบกพร่อง

              อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เพิ่งรับหน้าเสื่อเป็นมือประสานสิบทิศ จัดโครงการฝึกอบรม "ภาษาจีน" เตรียมความพร้อมรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) ติวเข้มเติมความรู้ด้านภาษาให้แก่ตำรวจในสังกัด บช.ก. ซึ่งงานผ่านพ้นราบรื่นด้วยดี เป็นที่ติดอกติดใจของผู้เข้าอบรม

              เช่นเดียวกับการฝึกอบรมด้านสืบสวนให้แก่ตำรวจสังกัด บก.ป. เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก็ได้ "รองบู" นี่แหละช่วยประสานดึงทีมงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาจากดินแดนกังหันลม "ฮอลแลนด์" มาช่วยถ่ายทอดวรยุทธ์ให้

              ส่วนงานด้านบู๊ "พ.ต.ท.อัครวุฒิ์" ก็ทำได้ดีไม่แพ้งานด้านบุ๋น ไม่เชื่อลองถาม "วิคเตอร์ บูธ" อดีตทหารเคจีบี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นราชาค้าอาวุธสงครามระดับโลก เจ้าของฉายา "พ่อค้าความตาย" ดู เพราะ "พ.ต.ท.อัครวุฒิ์" นี่แหละเป็นหนึ่งในทีมตำรวจชุดควบคุมตัว ส่งพ่อค้าอาวุธรายนี้ให้แก่ทางการสหรัฐรับไปดำเนินคดี

              แถมในปี 2551 ผลงานด้านการสืบสวนของ "พ.ต.ท.อัครวุฒิ์" ก็เข้าตาองค์กรสื่อ จนสามารถพิชิตรางวัลตำรวจยอดเยี่ยมด้านการสืบสวน จากสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย

              การทำงานในอาชีพตำรวจของ "รองบู" เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา และอยู่ในสายตาของผู้บังคับบัญชา

              แต่ที่ยังคงติดตาตรึงใจเพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 49 และเพื่อนโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 33 มากที่สุด คือผลงานการเดินหมาก (รุก) ของ "พ.ต.ท.อัครวุฒิ์" ที่ลงสนามแข่งขันเมื่อไหร่ก็กวาดแชมป์มาได้เสียทุกที

              จนเพื่อนๆ ต้องยอมยกธงขาว และขนานนามว่า "จอมวางแผน" และนำไปเทียบชั้นกับ "ขงเบ้ง" ขุนศึกจอมวางแผนแห่งนิยายจีนอมตะ "สามก๊ก"

              ว่ากันว่า กลยุทธ์การเดินหมากรุกของ "รองบู" เข้าขั้น "ขงเบ้งเรียกพี่" ไม่ต่างจากฝีไม้ลายมือในการทำงานทีเดียว

              ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำไมถึงเริ่มที่ “กองปราบ” ตามดู “สตูลโมเดล” ความมุ่งหวังเพื่อดับไฟใต้


 

ตามดู “สตูลโมเดล” ความมุ่งหวังเพื่อดับไฟใต้

วันพุธ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555, 02.00 น.
หากใครที่ผ่านไปผ่านมาตามสถานีตำรวจต่างๆ ทั่วประเทศ จะพบว่าหลายๆ พื้นที่ จะมีป้ายโฆษณาแปลกๆ ทำนองว่า “เดินหน้า อย่าถอยหลัง” พร้อมๆ กับรูปภาพวิวัฒนาการของมนุษย์ คงจะรู้สึกสงสัยว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้ว คำขวัญและการโฆษณาดังกล่าวเป็นการเตือนให้ข้าราชการตำรวจทุกนายทราบและตื่น ตัวว่าตำรวจยุคใหม่จะต้องเปลี่ยนแปลง จากที่มุ่งเน้นแต่การบังคับใช้กฏหมาย (Law Enforcement) แต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้องประชาชนมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” อันเป็นแนวคิดใหม่ที่ใช้ได้ผลมาแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยหลังจากที่มีนโยบายดังกล่าวในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่าหลายพื้นที่เริ่มนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติกันบ้างแล้ว วันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปเรียนรู้ “สตูลโมเดล” หรือการนำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปใช้ในพื้นที่ จ.สตูลอย่างได้ผลว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และได้ผลอย่างไรบ้าง
เปิดตัว “สตูลโมเดล”
“ที่ผ่านมา ผบก.ป.ได้ส่งเสริมให้กองกำกับการ (กก.) 1-6 และ กก.ปพ.บก.ป.ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร ให้จัดทำโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” หรือนโยบาย “Community Policing” ตามที่ ผบช.ก.ได้ให้แนวทางไว้ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและได้รับการตอบ รับจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี” เป็นเสียงจาก พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. ซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่นั้นจะรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ซึ่งโดยภาพรวมในพื้นที่แล้วมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
ความเป็นมาของความสำเร็จที่เกิดขึ้นครั้งนี้ พ.ต.อ.ทินกร เปิดเผยว่า ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของ กก.6 บก.ป.คือพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งทาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก. เล็งเห็นถึงปัจจัยพื้นฐานของปัญหา และแนวทางการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” เราจึงเริ่มเข้าไปในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวทาง จ.สตูล เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 สิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2555 รวมระยะเวลา 18 เดือน
“ส่วนสาเหตุที่เลือกพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากเป็นชุมชนเข้มแข็งมี รากฐานความสามัคคีอยู่ภายในชุมชน เป็นตัวอย่างการอยู่ร่วมกันของชาวบ้านซึ่งทั้งหมดเป็นชาวมุสลิม และเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้ถูกคุกคามจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเช่นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมอบมหาย ด.ต.สุทธินันท์ อนันราฐาน และ ด.ต.อัต จีเบญจะ ผบ.หมู่ กก.6 บก.ป.ที่มีพื้นเพอยู่ในพื้นที่ เข้าไปพบ นายวัชรินทร์ อบทอง โต๊ะอีหม่ามมัสยิดเราดอตุ้ลญันนะห์ (หัวทาง) นายเจษฎา เส็นหละ ผู้นำชุมชนดังกล่าว และนายสามัญ ช่างนุ้ย แกนนำชาวบ้าน” ผกก.6 บก.ป.กล่าว
ใส่ใจแม้เป็นเพียง “เรื่องเล็กๆ น้อยๆ”
เมื่อพูดถึงคดีอาชญากรรมกับตำรวจ ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้ประชาชนไม่ค่อยไว้วางใจหรือเชื่อมั่นในตำรวจมากนัก เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมักมุ่งทำคดีใหญ่ๆ ที่ให้ผลงานได้มากและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน แต่คดีย่อยๆ เช่นอุบัติเหตุ ลักเล็กขโมยน้อยหรือวัยรุ่นเสพยาเสพติดที่เกิดขึ้นได้บ่อยกว่าไม่ค่อยได้รับ ความสนใจมากนัก แต่แนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนี้จะคิดกลับกัน คือแม้เป็นคดีเล็กๆ ไม่น่าสนใจ ก็ต้องให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชนในท้องที่มากที่สุด
“หลังจากนั้น เราก็เริ่มต้นชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ที่เข้ามาทำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ก่อนจะส่งตำรวจเข้ามาคลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน คอยให้ความรู้ การปรับสภาพชุมชนไม่ให้เอื้อต่อการก่ออาชญากรรม ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ตั้งแต่คดีลักเล็กขโมยน้อย การลักลอบค้าและเสพยาเสพติด ตลอดจนช่วยงานถางหญ้าในกุโบร์ ทำความสะอาด ประสานติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ซึ่งเราไม่คิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตำรวจ เพราะนั่นคือสิ่งที่ชาวบ้านเขาต้องการความช่วยเหลือ เป็นสิ่งที่เขาขาดและเราสามารถทำได้”  พ.ต.อ.ทินกร กล่าว
นอกจากนี้แล้ว ยังมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐ ปะลิส ประเทศมาเลเซียอีกด้วย โดย ผกก.6 บก.ป.กล่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากมาเลเซียมาเยี่ยมชมโครงการ และเราได้สรุปผลการเยี่ยมชมไว้ 8 ข้อ เตรียมไว้ปรับใช้กับชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป สำหรับโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนี้ เมื่อนำมาปฏิบัติกับชุมชนบ้านหัวทางจนเกิดผลสำเร็จ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นต้นแบบ หรือ “สตูลโมเดล” ของโครงการนี้ ตนต้องขอยกเครดิตต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกนาย และคนในชุมชนดังกล่าวที่ร่วมมือร่วมใจกันและคิดว่าเรื่องนี้ถือเป็นการทำ ความดีเพื่อสังคมร่วมกัน
ทำไมถึงเริ่มที่ “กองปราบ”
มีข้อสงสัยกันว่าเหตุใดโครงการนี้จึงเริ่มต้น และประสบความสำเร็จเป็นโครงการนำร่องที่กองปราบปราม ก็ได้รับคำตอบที่น่าสนใจ โดย พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. เปิดเผยว่า ในส่วนของชุมชนบ้านหัวทาง จ.สตูล ที่ตนได้ร่วมลงพื้นที่ไปด้วยพบว่า กว่าตำรวจที่ถูกส่งไปอยู่ร่วมกับชาวชุมชนจะได้รับการยอมรับและพูดคุยด้วย อย่างเป็นมิตรนั้นต้องใช้เวลาแรมปีทีเดียว เนื่องจากอิหม่ามซึ่งเป็นผู้นำชุมชนด้วยนั้นยังไม่ไว้วางใจเรา และยังคงมีทัศนคติที่ไม่ดีกับตำรวจ เพราะภาพลบในความคิดของชาวมุสลิม คือภาพเจ้าหน้าที่รัฐที่มักจะปฏิบัติกับชาวมุสลิม อย่างพลเมืองชั้น 2 และตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ว่าจากหน่วย งานไหน เข้ามาในชุมชนอย่างจริงใจ จะมีก็เพียงแต่เจ้าหน้าที่บางรายที่เข้ามาสำรวจข้อมูล หรือทำงานวิจัยแล้วก็หายไป
“แต่หลังจาก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ผบช.ก.เข้าไปหาชาวชุมชนด้วยตนเอง ทำให้ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน รู้สึกว่าได้รับความจริงใจ และเปิดปากบอกกล่าวถึงสิ่งที่สะท้อนสภาพปัญหาระหว่างชาวมุสลิมกับเจ้า หน้าที่รัฐ โดยเฉพาะ ทหารและตำรวจ ที่ถูกเกลียดชังจากชาวบ้าน เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะถูกจับผิด ถูกมองในภาพที่ไม่ดี บางคนก็ไม่รู้ขบมธรรมเนียม วิถีปฏิบัติของชาวบ้าน เช่น ชาวบ้านสวมหมวกกะปิเยาะห์ ขับจักรยานยนต์ออกจากบ้านพักก็ถูกจับในข้อหาไม่สวมหมวกกันน็อก เหล่านี้เป็นต้น” พ.ต.อ.อธิป กล่าว
ขณะที่ทางฝั่งประชาชน นายสามัญ ช่างนุ้ย แกนนำชาวชุมชนบ้านหัวทาง กล่าวขอบคุณ ผบช.ก. ที่ส่งตำรวจเข้ามาปฏิบัติงานในชุมชน ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตำรวจ ตรงข้ามกับเมื่อก่อนที่เห็นตำรวจแล้วไม่อยากเข้าใกล้ หรือบางคนก็เกลียดตำรวจ แต่ทุกวันนี้ชาวชุมชนถือว่าตำรวจเป็นเพื่อน เหมือนเป็นพี่น้อง มีอะไรก็บอกกัน ช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้ปัญหายาเสพติด เหตุลักทรัพย์ที่เคยมีในอดีตก็ไม่เกิดขึ้นในชุมชนอีกเลย
“ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นโครงการที่ดีมากเราอยากให้โครงการนี้อยู่ กับชุมชนบ้านหัวทางตลอดไป และถ้าเป็นไปได้ อยากให้นำไปใช้กับที่อื่นทั่วประเทศ” นายสามัญ กล่าวทิ้งท้าย
“โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” เป็นนโยบายที่ริเริ่มโดยสำนักงานตำรวจสอบสวนกลางที่มี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ เป็นหัวเรือใหญ่ มีสาระสำคัญคือ 5 ทฤษฎี และ 1 หลักการ ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานของตำรวจสมัยใหม่ ให้ถูกนำมาใช้กับตำรวจในสังกัด บช.ก.ทุกนาย เริ่มที่การปรับพฤติกรรมของตัวเอง ใครที่เคยประพฤตินอกลู่นอกทางก็ให้กลับหลังหัน เริ่มต้นที่ตนเอง ก่อนจะเริ่มทำงานรับใช้พี่น้องประชาชน หรือเป็นการ “คืนคนดีสู่สังคม” ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นต้นแบบให้กับตำรวจทุกหน่วยงานทั่วประเทศ
สำหรับ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญที่เปรียบเสมือนเคี้ยวเล็บของ บช.ก.ซึ่ง ผบช.ก.ทุกยุคสมัย ต่างให้ความไว้เนื้อเชื่อใจในการทำงานดั่งคำขวัญที่ว่า “ที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน” โดยภายใต้การนำของ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (ผบก.ป.) ได้เล็งเห็นความสำคัญและพร้อมสนองนโยบายของ ผบช.ก. โดยเริ่มที่ชุมชนคุณหญิงส้มจีน จ.ปทุมธานี เป็นที่แรก และได้เดินหน้าโครงการไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และทุก บก.ก็เดินหน้าในส่วนความผิดชอบตามหน้างานของตน มีการจัดทำกลุ่ม “ตำรวจ ผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)” ในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค คอยนำเสนอข้อมูลและผลการดำเนินโครงการดังกล่าวซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่าง ดี ถึงกระนั้น โครงการนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ซึ่งหากจะวัดผลในภาพรวมสำเร็จหรือไม่ ก็ยังต้องรอต่อไป
โดยเฉพาะความมุ่งหวังสูงสุด คือพื้นที่ชายแดนภาคใต้...จะกลับมาสงบสุขดังเดิม

ขอบคุณข้อมุลจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 http://www.naewna.com/scoop/22772

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

"โต๊ะคอเต็บ"เปิดใจ ผบช.ก. ทางสว่างดับไฟใต้ ยึดมั่นคำสอนศาสนา

"โต๊ะคอเต็บ"เปิดใจ ผบช.ก. ทางสว่างดับไฟใต้ ยึดมั่นคำสอนศาสนา

จากสถานการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมานาน สะท้อนให้เห็นยุทธศาสตร์ในการดับไฟใต้ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ลำพัง นโยบายของรัฐบาลที่ใช้การบังคับใช้กฎหมาย หรือใช้กำลังปราบปรามอย่างเดิมไม่ได้ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องเริ่มจากหันหน้าเข้ามาหาประชาชน ให้ประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วมเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

เพราะโจรใต้ อาศัยหลักการสอนแบบผิดๆ เมื่อชาวบ้านเชื่อและศรัทธาจึงกล้าทำผิด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่

ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความหวาดระแวงเจ้าหน้าที่ของรัฐ หวาดระแวงคนในชุมชนเดียวกัน

เจ้า หน้าที่ต้องหันมาใช้หลักการเดียวกัน กับกลุ่มก่อความไม่สงบ ใช้หลักคิดทางศาสนาเข้าไปแก้ไขคล่ีคลายสถานการณ์ ต้องสร้างและปฏิบัติตนให้ชาวบ้านรักและเชื่อมั่นก่อน ว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีความจริงใจมาช่วยเหลือจริงๆ ไม่ได้มาสร้างภาพ จนชาวบ้านเชื่อและศรัทธาแล้วจึงพาเขาทำตามที่เราอยากให้เป็น และกระตุ้นให้ชาวบ้านช่วยคิด ช่วยทำ และทำกันอย่างต่อเนื่อง จนสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน โดยอาศัยความร่วมมือผู้นำศาสนา ชุมชนและประชาชน

ทุกอย่างเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎี “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ที่ใช้ยุทธศาสตร์สำคัญซึ่งเป็นคนในพื้นที่เข้าไปทำให้ลดความหวาดระแวงของพี่ น้องประชาชน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นเจ้าหน้าที่รัฐ

จากการจัดชุด ยุทธศาสตร์ของกองปราบปรามที่มี พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. ด.ต.สุทธินันท์ อนันธขาล ด.ต.จิต จิเบ็ญจะ ผบ.หมู่ กก.6 บก.ป. เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชนหัวทาง อ.เมือง จ.สตูล นานกว่า 1 ปี ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพี่น้องคนไทยมุสลิมในไทย และพี่น้องในประเทศมาเลเซีย

มีการเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆ ที่ชาวบ้านเกลียดชัง ไม่ยอมรับ ตัดขาดเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ชุดกองปราบปรามได้ทำให้เขายอมรับ คิดว่าตำรวจกองปราบฯ เป็นพวก เป็นเพื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าทำได้จะชนะใจทั้งเราเองและชนะใจเขา โดยใช้คำว่า “ให้ต่อกับคนที่ตัด” ใช้ความจริงใจ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากพี่น้องไทยมุสลิมในพื้นที่ จากความรู้สึกที่เกลียดชังกลายเป็นความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ ชุมชน มีเป้าหมายเดียวกันเพื่อพัฒนาชุมชนให้ลดความหวาดระแวง คดีอาชญากรรม ยาเสพติด สร้างเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน

จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สตูลโมเดล”

เป็นอีกทางเลือกของรัฐบาลสำคัญในการแก้ไขความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ขณะ ที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้เดินหน้านโยบายอย่างเต็มที่ แม้จะเป็นเพียงหน่วยเดียว เพื่อทำให้เห็นผลของแนวคิดที่ประสบความสำเร็จใช้กันแพร่หลายทั่วโลกได้เกิด ขึ้นในไทย ได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านหัวทาง อ.เมือง จ.สตูล เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนในชุมชน พร้อมรับฟังปัญหาในพื้นที่ เยี่ยมชมการดำเนินการของชุมชน

ได้เห็นความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับ ตำรวจอย่างแท้จริง ทั้งการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรม โดยปรับแต่งพื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมให้เป็นที่ปลอดภัย

ความร่วมมือของ ประชาชนในการจัดเวรยามตรวจตราชุมชนไม่ให้คนร้ายหรือพวกค้ายาเสพติดเข้ามาใน ชุมชน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆที่ตำรวจ ประชาชนร่วมแก้ปัญหาให้กับชุมชนและพัฒนาอาชีพที่เป็นรายได้ของชุมชน

เป็นภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของตำรวจกับพี่น้องคนไทยมุสลิมในพื้นที่

“สตูลโมเดล” ซึ่งถือว่า...เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเพื่อนำสิ่งที่ดีมาสู่สังคมไทยเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นทั่วประเทศ

นาย การีม เก็บกาเม็น โต๊ะคอเต็บหรืออาจารย์สอนศาสนาของมัสยิดบ้านหัวทาง และเจ้าหน้าที่ของ UNICEF กล่าวว่า ในพระคัมภีร์ฯ ได้สอนไว้ว่า “เมื่อเข้าไปในบ้านของเขา เจ้าจงปฏิบัติงานให้เขารัก เพื่อให้เขาเชื่อมั่นและศรัทธาเราก่อน...” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้หลักการผิดๆ ทำให้แนวร่วมเชื่อมั่นและศรัทธา จึงกล้ากระทำความผิด

“เราจึงควรใช้ หลักการของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน สร้างความไว้วางใจและลดความหวาดระแวงต่อกันก่อน ซึ่งเมื่อ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ส่งตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเข้ามาในชุมชน ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธากับชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านลดความหวาดระแวงในตัวตำรวจ ถือว่าตรงกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้กับพี่น้องชาวไทยมุสลิมทุกแห่ง”

อาจารย์การีมกล่าว ต่อว่า “โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความหวาดระแวงไม่ไว้วาง ใจกัน หากทางการไทยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปก็จะไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน จึงต้องเริ่มจากการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้เกิดขึ้นก่อน เมื่อต่างฝ่ายต่างลดความหวาดระแวงลงแล้ว จึงพาเขาทำตามที่เราอยากให้เป็น และกระตุ้นให้เขาช่วยกันคิด ช่วยกันทำอย่างต่อเนื่อง จนสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน จากนั้นความสามัคคีและความสงบสุขก็จะตามมาเอง จึงอยากจะฝากไปถึงผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ควรเริ่มต้นด้วยแนวทางนี้ เพราะจะเป็นหนทางสู่ความสงบสุขอย่างยั่งยืน”

นายซอลีฮีน อิสมาแอล ซึ่งเป็นอดีตนักการเมืองท้องถิ่นของ จ.สตูล กล่าวเสริมว่า การที่จะเข้าถึงประชาชนที่เขารู้สึกไม่ชอบ ก็ต้องใช้หลักคำสอนของศาสนาที่ว่า “ให้ต่อกับคนที่ตัด” ดังนั้น ให้พยายามเชื่อมต่อ พูดคุย สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธากับเขา เพื่อลดความหวาดระแวงต่อกัน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เป็นผู้ที่นำตำรวจที่เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตของพี่น้องไทยมุสลิมอย่างแท้จริง เป็นการแสดงความจริงใจซึ่งกันและกัน ที่ผ่านมาชาวบ้านรู้สึกว่าตำรวจปฏิบัติไม่ดี พูดจาไม่ดี คอยจ้องจับผิดอยู่เสมอ บอกตรงๆว่าชาวบ้านที่นี่ไม่ชอบตำรวจ เห็นตำรวจพยายามเดินหนีไม่อยากเข้าใกล้ ต่อมาเมื่อตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเข้ามาอยู่กับเรา ทำให้เข้าใจกัน รู้สึกว่าเราเชื่อมกับตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้ เราเป็นเหมือนญาติพี่น้องกัน เมื่อเราเชื่อมกันได้แล้ว ก็อยู่ร่วมกันและเดินหน้าไปด้วยกันได้ แนวทางปฏิบัติกับประชาชนนี้ ถ้าส่วนราชการอื่นนำไปปฏิบัติด้วย ก็จะช่วยให้ประชาชนกับภาครัฐมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน และถ้าขยายผลไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช่วยแก้ปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ได้”

เป็น ความเชื่อมั่นของพี่น้องไทยมุสลิมในพื้นที่ชุมชนหัวทาง เกี่ยวกับการดำเนินการของ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” เช่นเดียวกับกลุ่มคนไทยมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ที่ได้เห็นความสำเร็จในการรวมคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา ในประเทศมาเลเซียจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

คาดหวังอยากได้รับการตอบ สนองจากภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนไทย-มุสลิม ลด “ความหวาดระแวง” ในใจกันให้ได้

จะทำให้เห็นแนวทางดับไฟใต้ของ รัฐบาล 3 ขั้นตอน แก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นชัยชนะร่วมกันก็อยู่ ไม่ไกลเกินเอื้อม

เช่นเดียวกับคำทิ้งท้ายของอาจารย์การีมที่ย้ำ ชัดเจนว่า “หากพวกเราตั้งใจจะดับไฟใต้ต้องลดความหวาดระแวงต่อกัน สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้ได้ก่อน ความไม่เข้าใจกันก็จะหมดไป ผมเห็นโครงการนี้แล้วดีใจ เราสามารถต่อยอดได้อีกไกล...ทำให้น้ำตาหายไป มีรอยยิ้มเข้ามาแทน โครงการนี้ทำได้... ผมว่าประวัติศาสตร์เริ่มต้นขึ้นที่นี่แล้ว”

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจนโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเห็นด้วยกับพี่น้องชาวมุสลิมที่อยู่ในประเทศไทย-มาเลเซีย จริงใจแค่ไหนในการแก้ไขความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เพราะ...ต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่...ความหวาดระแวงของชุมชน.
ทีมข่าวอาชญากรรม
โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนลดอาชญากรรมได้ผล



โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนลดอาชญากรรมได้ผล
ขอบคุณข่าวจากช่อง 7
วันที่ 11 ก.ย 2012 เวลา 11:27 น.

พลตำรวจโทพงษ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เดินทางไปตรวจเยี่ยมชุมชนบ้านหัวทาง ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการดำเนินงานโครงการ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" หลังจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้ส่งตำรวจในสังกัดลงไปปฏิบัติหน้าที่ ประจำชุมชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวบ้าน และแก้ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเกินคาด

ขณะที่ชาวบ้านใน ชุมชนบ้านหัวทาง บอกว่า หลังจากมีตำรวจมาปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน ทำให้เปลี่ยนทัศนคติจากที่ไม่อยากเข้าใกล้ตำรวจ กลายเป็นความรู้สึกที่ดีต่อกัน เนื่องจากตำรวจและประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงให้ความร่วมมือสร้างชุมชนให้เข้มแข็งร่วมกัน ทำให้ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดในพื้นที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้นำไปทำเป็นต้นแบบ "สตูลโมเดล" เพื่อขยายโครงการไปยังชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

http://news.ch7.com/detail/6199/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5.html

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

บทเพลงเกี่ยวกับตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

01 กลับหลังหัน (อโศก-มาริษา-วรนุช).mp3



02 ฝันไปข้างหน้า (พรรณี-มาริษา-วรนุช).mp3

03 ตำรวจยุคใหม่(ร้องหมู่).mp3 04 รำวง ผู้รับใช้ชุมชน (ร้องหมู่).mp3

05 กลับหลังหัน (คาราโอเกะ) (มีเมโลดี้ฝึกร้องนำเสียงร้อง).mp3

 06 ฝันไปข้างหน้า (คาราโอเกะ) (มีเมโลดี้ฝึกร้องนำเสียงร้อง).mp3

07 ตำรวจยุคใหม่ (คาราโอเกะ) (มีเมโลดี้ฝึกร้องนำเสียงร้อง).mp3

 08 รำวง ผู้รับใช้ชุมชน (คาราโอเกะ) (มีเมโลดี้ฝึกร้องนำเสียงร้อง).mp3

09 กลับหลังหัน (คาราโอเกะ).mp3 10 ฝันไปข้างหน้า (คาราโอเกะ).mp3

11 ตำรวจยุคใหม่ (คาราโอเกะ).mp3

12 รำวง ผู้รับใช้ชุมชน (คาราโอเกะ).mp3

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

อ้างชื่อรพ.ดัง ขายยาปลอม ได้รับแจ้งจากเครือข่าย "ตำรวจผุ้รับใช้ชุมชน"

อ้างชื่อรพ.ดัง ขายยาปลอม
สำอาง-อาหารเสริม จับ2รายล้วนของเก๊

ปคบ.แถลงจับ 2 ผู้ลักลอบค้ายาปลอม อาหารเสริมปลอม เครื่องสำอางปลอม โดยใช้วิธีแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลและคลินิกเสริมความงามชื่อดังหลายแห่ง รายแรกจับได้ที่ย่านบางชัน ยึดของกลางมูลค่า 1.5 ล้านบาท ส่วนรายที่สองจับกุมได้ที่ย่านตลาดขวัญ เมืองนนท์ พร้อมของกลางมูลค่า 5 แสนบาท เผยได้เบาะแสจับกุมจากผู้ประกอบการเครือข่าย “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”

จับ 2 ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ปลอม อ้างชื่อโรงพยาบาล และคลินิกเสริมความงามชื่อดังครั้งนี้ เปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 ก.ย. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ถนนพหลโยธิน พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.พฤทธิพงษ์ ประยูรศิริ ผกก.4 บก.ปคบ.ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายยา อาหารเสริมปลอมยี่ห้อดัง เครื่องสำอางที่แอบอ้างชื่อโรงพยาบาล และคลินิกเสริมความงามชื่อดัง จำนวน 2 ราย ยึดของกลางจำนวนมาก ประกอบด้วย ยาแผนโบราณยี่ห้อเกร็กคู ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยี่ห้อ Beta-Curve, BB Maxx, Gluta 9000 และยี่ห้อซันคาร่า ชุดครีมบำรุงผิวหน้ายี่ห้อต่างๆมูลค่ารวมกัน 2 ล้านบาท

ผบก.ปคบ.กล่าวถึงการจับกุมรายแรกว่า ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการเครือข่ายโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” พบการลักลอบจำหน่ายยา อาหารเสริมปลอม และเครื่องสำอางแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลยันฮี นิติพลคลินิก หมอปัญญา ที่ย่านบางชัน ก่อนจะนำส่งลูกค้าทั่วประเทศ จึงเร่งสืบสวนหาข่าวจนทราบว่า แหล่งซุกซ่อน และจำหน่าย อยู่ที่บ้านเลขที่ 15/66 หมู่บ้านนลิน เรสซิเดนซ์ ถนนหทัยราษฎร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา จึงขออนุมัติหมายค้นศาลจังหวัดมีนบุรี ก่อนเข้าตรวจค้น พบของกลางดังกล่าวมูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท อยู่ในบ้าน โดยจับกุมนายสุรธัช ยอดยา อายุ 41 ปี เจ้าของบ้าน ในข้อหาจำหน่ายอาหารปลอม จำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.อาหาร ขายยาปลอม ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต ขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง และขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง

พล.ต.ต. นิพนธ์กล่าวต่อว่า ส่วนรายที่ 2 จับกุมนางณฐมน นวลฉวี อายุ 37 ปี พร้อมของกลาง เครื่องสำอางไม่มีเลขจดแจ้งยี่ห้อหลายรายการ มูลค่าประมาณ 5 แสนบาท จับกุมได้ที่บ้านเลขที่ 124/333 ซอยเรวดี 24 หมู่ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมืองนนทบุรี เบื้องต้นแจ้งข้อหาขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ส่งพนักงานสอบสวน ปคบ.ดำเนินคดี นอกจากนี้ พล.ต.ต.นิพนธ์ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ลักลอบจำหน่ายยา อาหารเสริม และเครื่องสำอางปลอมจำนวนมาก พบเห็นให้แจ้ง บก.ปคบ. ที่สายด่วน 1135 หรือตู้ ปณ.459 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 ทั้งนี้จะประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานอาหารและยา (อย.) เพื่อติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดต่อไป
สำอาง-อาหารเสริม จับ2รายล้วนของเก๊

ปคบ.แถลงจับ 2 ผู้ลักลอบค้ายาปลอม อาหารเสริมปลอม เครื่องสำอางปลอม โดยใช้วิธีแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลและคลินิกเสริมความงามชื่อดังหลายแห่ง รายแรกจับได้ที่ย่านบางชัน ยึดของกลางมูลค่า 1.5 ล้านบาท ส่วนรายที่สองจับกุมได้ที่ย่านตลาดขวัญ เมืองนนท์ พร้อมของกลางมูลค่า 5 แสนบาท เผยได้เบาะแสจับกุมจากผู้ประกอบการเครือข่าย “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”

จับ 2 ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ปลอม อ้างชื่อโรงพยาบาล และคลินิกเสริมความงามชื่อดังครั้งนี้ เปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 ก.ย. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ถนนพหลโยธิน พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.พฤทธิพงษ์ ประยูรศิริ ผกก.4 บก.ปคบ.ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายยา อาหารเสริมปลอมยี่ห้อดัง เครื่องสำอางที่แอบอ้างชื่อโรงพยาบาล และคลินิกเสริมความงามชื่อดัง จำนวน 2 ราย ยึดของกลางจำนวนมาก ประกอบด้วย ยาแผนโบราณยี่ห้อเกร็กคู ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยี่ห้อ Beta-Curve, BB Maxx, Gluta 9000 และยี่ห้อซันคาร่า ชุดครีมบำรุงผิวหน้ายี่ห้อต่างๆมูลค่ารวมกัน 2 ล้านบาท

ผบก.ปคบ.กล่าวถึงการจับกุมรายแรกว่า ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการเครือข่ายโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” พบการลักลอบจำหน่ายยา อาหารเสริมปลอม และเครื่องสำอางแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลยันฮี นิติพลคลินิก หมอปัญญา ที่ย่านบางชัน ก่อนจะนำส่งลูกค้าทั่วประเทศ จึงเร่งสืบสวนหาข่าวจนทราบว่า แหล่งซุกซ่อน และจำหน่าย อยู่ที่บ้านเลขที่ 15/66 หมู่บ้านนลิน เรสซิเดนซ์ ถนนหทัยราษฎร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา จึงขออนุมัติหมายค้นศาลจังหวัดมีนบุรี ก่อนเข้าตรวจค้น พบของกลางดังกล่าวมูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท อยู่ในบ้าน โดยจับกุมนายสุรธัช ยอดยา อายุ 41 ปี เจ้าของบ้าน ในข้อหาจำหน่ายอาหารปลอม จำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.อาหาร ขายยาปลอม ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต ขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง และขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง

พล.ต.ต. นิพนธ์กล่าวต่อว่า ส่วนรายที่ 2 จับกุมนางณฐมน นวลฉวี อายุ 37 ปี พร้อมของกลาง เครื่องสำอางไม่มีเลขจดแจ้งยี่ห้อหลายรายการ มูลค่าประมาณ 5 แสนบาท จับกุมได้ที่บ้านเลขที่ 124/333 ซอยเรวดี 24 หมู่ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมืองนนทบุรี เบื้องต้นแจ้งข้อหาขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ส่งพนักงานสอบสวน ปคบ.ดำเนินคดี นอกจากนี้ พล.ต.ต.นิพนธ์ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ลักลอบจำหน่ายยา อาหารเสริม และเครื่องสำอางปลอมจำนวนมาก พบเห็นให้แจ้ง บก.ปคบ. ที่สายด่วน 1135 หรือตู้ ปณ.459 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 ทั้งนี้จะประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานอาหารและยา (อย.) เพื่อติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดต่อไป

ขอบคุณข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.เยี่ยมชมโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนท่าอิฐ นนทบุรี



เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (5 ก.ย.) ที่ชุมชนมัสยิดท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ยุทธภูมิ ปั้นลายนาค ผกก.2บก.ปคม. และเจ้าหน้าที่ตร.กก.2บก.ปคม. ได้เดินทางมาเยี่ยมชมโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน โดยมีนายปรีชา เชื้อผู้ดี ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี นาตายูดิน ลาตีฟี อีหม่ามของมัสยิดท่าอิฐ และเจ้าหน้าที่ชุมชนมัสยิดท่าอิฐให้การต้อนรับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวว่า แนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นแนวคิดที่ตำรวจและประชาชนต้องทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหา
อาชญากรรม ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานเชิงรุกของตำรวจ หลังจากที่เคยทดลองมาแล้วหลายครั้ง จนแน่ใจว่าใช้ได้ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ถึงเวลาแล้วที่โครงการดังกล่าวจะได้รับการเผยแพร่ให้ทั่ว โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการปราบปรามยาเสพติดในชุมชนให้ลดลง รวมถึงทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยโครงการดังกล่าวได้นำเทคนิคการทำงานใหม่ที่ตำรวจทั่วโลกใช้แล้วประสบความ สำเร็จช่วยให้ประชาชนไว้ใจและรักเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งไปมากยิ่งขึ้น อาชญากรมต่างๆ ก็จะลดลง สังคมสงบสุขนนี้ จะเป็นรากฐานที่สำคัญให้กับวงการตำรวจไทยต่อไป ส่วนจะประสบความสำเสร็จมากน้อย หรือไม่ ขึ้นอยู่กับทุกคนในพื้นที่ต้องช่วยกัน ซึ่งที่ผ่านมาทางโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้ดำเนินการไปหลายชุมชนไม่ว่า จะเป็นชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ จ.นครปฐม และที่เป็นที่สนใจมากที่สุดในขณะนี้คือโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่ชุมชนหัวทาง จ.สตูล


ด้านนายปรีชา เชื้อผู้ดี ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนได้มีโอกาสรู้จักกับโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนผ่านทางสมาชิก วุฒิสภา จ.สตูล ท่านก็ได้เล่าว่าได้มีการทำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนหรือสตูลโมเดล ที่ ชุมชนบ้านหัวทาง อ.เมืองสตูล จ.สตูล และสามารถลดปัญหาอาชญากรรมได้ ตนจึงเกิดความสนใจและให้มาทำที่ชุมชนมัสยิดท่าอิฐ ซึ่งเมื่อได้ดำเนินการทำก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีปัญหาต่างๆ ลดลง ตนจึงขอสนับสนุนโครงการดังกล่าว เพราะจะช่วยแก้ไขและลดปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมในด้านอื่นๆ ถือได้ว่าแนวทางดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถูกทางแล้ว ตนขอสนันสนุนอย่างเต็มที่
ขอบคุณข้อความข่าวจาก นสพ.เดลินิวส์ ครับ

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.ตรวจเยี่ยมชุมชนมัสยิดท่าอิฐ จ.นนทบุรี


5 กันยายน 2555





      พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.ลงพื้นที่ชุมชนท่าอิฐตรวจเยี่ยมโครงการ"ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน"หลังส่งตำรวจบก.ปคม.ฝังตัวทำงานร่วมกับชาวบ้าน วันนี้ (5ก.ย.2555)เมื่อเวลา11.00น. พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ได้เดินทางลงพื้นที่ชุมชนท่าอิฐ อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการ“ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”หลังจากมีการส่งตำรวจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในชุมชนดังกล่าวโดย มี พ.ต.อ.ยุทธภูมิ ป้นลายนาคผกก.2 บก.ปคม.พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป.และคณะพร้อมด้วยนายตายูดินลา ตีฟ อีหม่ามประจำมัสยิดท่าอิฐและนายปรีชาเชื้อผู้ดี กำนันต.ท่าอิฐในฐานะกรรมการกลางอิสลามและที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี ให้การต้อนรับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่าโครงการดังกล่าวได้มุ่งเน้นเพื่อให้ตำรวจหันหน้าเข้าหาชุมชนเข้าไปสร้างความคุ้นเคย กับประชาชนเพื่อให้เกิดความไว้วางใจลดความหวาดระแวงที่มีต่อกันมุ่งเน้นการปองกันและแก้ปญหาอาชญากรรม และให้บริการช่วยเหลือประชาชนขจัดปญหายาเสพติดและอาชญากรรมในชุมชนซึ่งโครงการนี้ตำรวจทั่วโลกใช้ได้ผลมาแล้ว สำหรับชุมชนแห่งนี้ทางโต๊ะอิหม่ามและชาวบ้านในชุมชนต่างให้ความร่วมมือกับชาวบ้านเปนอย่างดี มั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเปนแบบอย่างและแนวทางของตำรวจสมัยใหม่ต่อไป "ส่วนจะนำโครงการนี้ไปใช้ใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้นั้นผมได้พยายามดำเนินการและแม้ว่าอาจไม่สำเร็จในยุคของผม แต่ยังมีความเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อไปได้เพราะเปนโครงการที่ดี "ผบช.ก.กล่าว ด้านนายปรีชากล่าวว่าก่อนหน้านี้ได้มี สว.สตูล เล่าให้ฟงว่าที่บ้านหัวทางจ.สตูลมีโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนซึ่ง ประสบผลสำเร็จทำให้ตำรวจกับประชาชนเกิดความไว้วางใจกันและปญหาอาชญากรรมในชุมชนลดลงถือว่าเปนแนวทาง การทำงานที่ถูกต้องโดยเฉพาะกับชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ โครงการนี้ดีมากตนอยากให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ทางท่านจุฬาราชมนตรี อยากให้โครงการนี้ได้ดำเนินการใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วย ส่วนนายสัญชัยบุรีเจริญเลขานุการมัสยิดท่าอิฐกล่าวว่าชุมชนท่าอิฐมีปญหาเรื่องการแพร่ระบาดของยาเสพติด อย่างน่าเป็นห่วงนอกจากนี้ก็ยังมีคดีลักเล็กขโมยน้อยเมื่อมีตำรวจเข้ามาช่วยดูแลเข้ามาให้บริการถางหญ้าในกุโบร์ ตัด ต้นไม้ ทำความสะอาดรวมทั้งดูแลเรื่องไฟฟาส่องสว่างเพื่อปรับภูมิทัศน์ไม่ให้เอื้อต่อการก่ออาชญากรรม ก่อนหน้านี้ชาวบ้านในชุมชนต่างหวาดกลัวตำรวจแต่หลังจากมีตำรวจ บก.ปคม.เข้ามาอย่างเป็นมิตรก็ทำให้ชาวบ้านเชื่อใจและมีความอบอุ่นใจ ตนจึงอยากให้มีการทำให้ต่อเนื่อง

Cr : Crime - Manager Online - ผบช.ก.ตรวจชุมชนท่าอิฐตามโครงการ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9550000109349 
"ผบช.ก." ลงพื้นที่ชุมชมมัสยิดท่าอิฐสานโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
เดลินิวส์ - http://m.dailynews.co.th/thailand/153560