จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อีกครั้งกับโครงการดีๆ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ไทยต้นแบบเพื่อนบ้าน

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8001 ข่าวสดรายวัน
 คอลัมน์ สดจากสนามข่าว คมกฤช ราชเวียง รายงาน
 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEkxTVRBMU5RPT0%3D&sectionid=TURNd01RPT0%3D&day=TWpBeE1pMHhNQzB5TlE9PQ%3D%3D
 ปัญหายาเสพติดมักมาคู่กับปัญหาอาชญากรรมเสมอ ทั่วโลกพยายามกวาดล้างปราบปรามปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมให้หมดสิ้นไป

ไม่ นานมานี้สำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNODC) เชิญพล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ไปบรรยายเรื่องตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่ศูนย์การประชุมองค์การสหประชา ชาติ ถนนราชดำเนินนอก เพื่อช่วยกันตกผลึกความคิดในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป

การ บรรยายครั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความรู้หลายหน่วย อาทิ UNODC, AusAID (ผู้แทนออสเตรเลียเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ), INTERPOL (องค์การตำรวจสากล), World Vision (มูลนิธิศุภนิมิตสากล) องค์กร UNICEF รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ลาว เขมร เวียดนามและไทย โดยมีผู้บริหารของ UNODC ให้การตอบรับ มีนางมากาเร็ต อาคูลโล เป็นผู้ประสานงาน

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์บรรยายในหัวข้อ Community Policing หรือตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โครงการดังกล่าวเป็นการนำเอาตำรวจเข้าไปกิน-อยู่พักอาศัยในชุมชนให้เปรียบ เสมือนคนในครอบครัวชาวบ้าน โดยโครงการนี้ทำมาแล้วหลายแห่งหลายที่ด้วยกัน

ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม

ทั้ งนี้ สืบเนื่องจาก UNODC ได้ติดตามการทำงานของพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ที่ได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนหรือ Community Policing มาใช้ในประเทศไทย และเห็นว่ากำลังเดินมาถูกทาง จึงประสานความร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในภูมิภาคนี้ ซึ่งพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์เห็นว่าเป็นงานในหน้าที่ของบช.ก.อยู่แล้ว จึงตอบรับและให้ความร่วมมือเต็มที่



โดย UNODC บช.ก. ได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ขณะนี้ UNODC อยู่ระหว่างผลักดัน ให้ความรู้เรื่องทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน UNODC เองและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะตำรวจในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพื่อให้ได้ดูกรณีศึกษานำไปปรับใช้ในประเทศของตนเอง

พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์อธิบายความหมายทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนว่า เป็นทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความเชื่อว่าความร่วมมือของตำรวจและสุจริตชนใน ชุมชน จะสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมส่วนใหญ่ได้

จุดเด่นของ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนคือการเข้าไปฝังตัวเพื่อรับใช้ให้บริการประชาชน จนกระทั่งประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ตำรวจกับประชาชนไม่หวาดระแวงซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ชุมชน ท้ายสุดอาชญากรรมก็จะค่อยๆ ลดลงเอง

เรื่องนี้ได้พิสูจน์มาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก

สํา หรับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำ Community Policing มาใช้แล้วหลายประเทศและสามารถลดอาชญากรรมได้ เช่น ในมาเลเซีย สามารถลดอาชญา กรรมได้ 60% ในประเทศสิงคโปร์ นำ Community Policing Unit ไปปฏิบัติงาน ทำให้ไม่มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นในเขตรับผิดชอบเป็นเวลากว่า 2 ปี ในขณะที่สถิติอาชญากรรมของประเทศ ไทยสูงขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์จึงพยายามผลักดันให้นำมาใช้ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน บช.ก. ดำเนินการทั่วประเทศกว่า 150 ชุมชน

ผลสำรวจยืนยันว่าประชาชนพึงพอใจและอาชญากรรมในชุมชนส่วนใหญ่ลดลง

เชื่อว่าหากขยายผลนำไปใช้ทั่วประเทศจะช่วยให้อาชญากรรมในประเทศไทยลดลงได้

"งาน ตำรวจไม่ได้เน้นปราบปรามอย่างเดียว แต่ต้องเน้นงานมวลชน การเข้าถึงใจชาวบ้าน ต้องทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นมิตรและพึ่งได้ ตำรวจที่เข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้านจะรับรู้ปัญหาพื้นฐาน รู้ว่าใครเป็นอย่างไร วัยรุ่นกลุ่มไหนมีความเคลื่อนไหวอย่างไร อีกทั้งยังทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ความรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่อยู่รวมกันเยอะๆ เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปปฏิบัติงานจะมีส่วนช่วยชาวบ้านได้มาก เพราะบางทีชาวบ้านอาจไม่กล้าเข้าไปขอคำปรึกษาตำรวจท้องที่เพราะเกิดความหวาด กลัว แต่สำหรับตำรวจผู้รับใช้ชุมชนแล้ว เขาจะมองเป็นคนในครอบครัว ลูกหลาน และกล้าที่จะขอคำแนะนำหรือให้เบาะแสสำคัญ" พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าว

หลัง เสร็จสิ้นการประชุมตัวแทนตำรวจจากประเทศ ลาว เขมร เวียดนาม ได้เข้ามาขอคำแนะนำและรายละเอียดในการปฏิบัติงานจริงกับพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เพื่อเตรียมนำโครงการนี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศของตนเอง

ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันคือความสงบเรียบร้อย

ลดปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม!?!

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ตำรวจแคนาดา"

"ตำรวจแคนาดา"

 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันพุธ ที่ 24 ตค.2555 น.6
http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/300709

ช่วงต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี รอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. และคณะ ได้เดินทางไปดูกิจการตำรวจที่ประเทศแคนาดา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลการปราบปรามยาเสพ ติด การสืบสวนสอบสวนแนวใหม่ และประสานความร่วมมือในการทำงานของทั้งสองประเทศ จากการที่ได้รับเชิญไปดูงานครั้งนี้ ทำให้ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พบเห็นการทำงานแนวใหม่ของกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติแคนาดา ที่นำระบบ COMMUNITY POLICING การรักษาชุมชน CAPRA PROBLEM SOLVING MODEL การแก้ปัญหาแบบ คาปรา มาใช้ เป็นโมเดลการทำงานสมัยใหม่ ประสบความสำเร็จทั้งในประเทศแคนาดา และอีกหลายประเทศในยุโรปมาแล้ว โมเดลคาปรานี้ คล้ายกับแนวทฤษฎีของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ที่นำโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” มาให้ตำรวจในสังกัด บช.ก.นำไปใช้ปฏิบัติ และกำลังขยายไปในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศขณะนี้ สำหรับโมเดลคาปราประกอบไปด้วย
C=CLIENTS ลูกค้า
A=ACQUIRING & ANALYZING INFO การวิเคราะห์ข้อมูล
P=PARTNERSHIPS ผู้ที่คอยช่วยเหลือ
R=RESPONSE คำตอบ
A=ASSESSMENT การประเมินผล
จากโมเดลคาปราของประเทศแคนาดานี้ ทาง พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.จะนำมาทดลองประยุกต์ใช้กับระบบการทำงานของกองปราบปราม ในส่วนของ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และสิ่งที่คาดหวังในอนาคต จะสามารถนำไปใช้กับทุกหน่วยงานในสังกัด บช.ก. ในภายภาคหน้าต่อไป

สหบาท


วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก. ช่วยผู้ประสบอุทกภัย

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก. ช่วยผู้ประสบอุทกภัย

http://m.dailynews.co.th/thailand/162435

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม 2555 เวลา 10:03 น.
เปลี่ยนขนาดตัวอักษร
วันนี้ ( 23 ต.ค.) พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. สั่งการให้ พ.ต.อ.อภิชัย ดุษฎีพฤฒิพันธุ์ ผกก.2 บก.ทล. พ.ต.ท.รัวสิมันท์ วิจักรธำรงศักดิ์รอง ผกก.2 นำกำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจกองปราบปรามและตำรวจทางหลวง พร้อมคณะแพทย์ รพ. พญาไท ส่งทีม Nurse Case Manager ลงพื้นที่ ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพื่อนำถุงยังชีพ และยารักษาโรค 600 ชุด ไปมอบให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัย พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นหลังน้ำลด โดยตั้งจุดบริการที่วัดดอนขาด ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำจาก จ.กาญจนบุรี ทำให้น้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือน ประชาชน 11 หมู่บ้าน ได้รับผลกระทบ พื้นที่ทางการเกษตร กว่า 20,000 ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหาย และยังต้องประสบปัญหาน้ำเน่าเหม็นและ โรคน้ำกัดเท้า

จากนั้นตำรวจ และพยาบาลได้ลงเรือ ตรวจอาการป่วยเบื้องต้นให้กับคนชราและผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมารับ บริการได้ เนื่องจากถนนถูกน้ำท่วมลึกกว่า 1.20เมตร การเดินทางต้องใช้เรือเท่านั้น หลังจากนั้น ตำรวจได้มอบสิ่งของยารักษาโรคและอาหารแห้งที่จำเป็นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ประสบอุทกภัย ได้แก่ อาหารแห้ง น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำพริก ซึ่งเป็นสิ่งของที่ประชาชนต้องการเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นอาหารที่สามารถ เก็บไว้ได้นาน สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2544  ซึ่งเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ได้ส่งตำรวจ บช.ก. ไปรับการฝึกอบรมการปฐมพยบาลและการช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุจากน้ำท่วม เบื้องต้น จาก รพ. พญาไท 2 และได้นำตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรม ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยตามจังหวัดต่างๆกระทั่งปี 2555 บช.ก. และรพ. พญาไท 2 จึงได้ร่วมมือกันช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลดโดยหลังจากนี้ ทีมตำรวจสอบสวนกลาง และ รพ. พญาไท 2 จะได้ไปช่วยเหลือและให้บริการตรวจสุขภาพประชาชนในที่อื่น ๆ ด้วย.

ศอ.บต.จ่ายเงินเยียวยา-58เหยื่อตากใบ - พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. รุดตรวจเยี่ยมให้กำลังใจตำรวจ ส.รน.4 กก.7 บก.รน. อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

ศอ.บต.จ่ายเงินเยียวยา-58เหยื่อตากใบ
นายกฯปู ส่ง"อดุลย์" ตรวจเหตุ ป่วน5จุด บึ้มนราฯ

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOekl6TVRBMU5RPT0%3D%C2%A7ionid%3DTURNd01RPT0%3D&day=TWpBeE1pMHhNQzB5TXc9PQ%3D%3D

รมต.บัวแก้วเผยข้ามทวีป ผู้นำศาสนาอียิปต์ตอบรับเยือนไทย โดยเฉพาะ 3 จว.ใต้ เพราะไม่เห็นด้วยกับความรุนแรง ชี้ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่เดินทางสายกลาง ผบ.ตร.ลงพื้นที่ตรวจเหตุระเบิดและโจมตีฐานตำรวจน้ำรวม 5 จุดที่ตากใบ ผู้การนราฯ เผยรู้ตัวคนบงการแล้ว เป็นพี่ชายคนร้ายที่โดน ?วิ? ในวันเกิดเหตุ กำลังเร่งล่าตัวอยู่ นายกฯเผยให้?บิ๊กอ๊อด?ควง?บิ๊กตู่?ลงพื้นที่วิเคราะห์สถานการณ์ ?ทวี?มอบเงินเยียวยาเหยื่อตากใบ ส่วนเหตุรายวันคนร้ายจ่อยิงทิ้งแม่ค้าร้านชำนราฯ ก่อนวางระเบิดหวังสังหารหมู่จนท.แต่โชคดีไม่มีใครเป็นอันตราย

เมื่อ เวลา 08.00 น. วันที่ 22 ต.ค. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. พร้อมคณะเดินทางไปในพื้นที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีกลุ่มคนร้ายก่อเหตุยิงร้านคาราโอเกะ วางระเบิดคาร์บอมบ์ รถจักรยานยนต์บอมบ์ และบุกโจมตีสถานีตำรวจน้ำ รวมทั้งสิ้น 5 จุด ในช่วงคืนของวันที่ 20-21 ต.ค.ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ตำรวจและชาวบ้านได้รับบาดเจ็บรวม 4 ราย โดยมีพล.ต.ต.วิชัย เกษมวงศ์ ผบก.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.เสน่ห์ จรรยาสถิต ผกก.สภ.ตากใบ พร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้การต้อนรับ

พล.ต.ต.วิชัยรายงานว่า จากการสืบสวนทราบว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากการสั่งการของ นายมาหามะมิง มามะ แกนนำที่เป็นพี่ชายของนายอับดุลรอฮิม มามะ คนร้ายที่ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมในวันเกิดเหตุบริเวณถนนหน้ากูโบว์ ม.1 ต.เจ๊ะเห โดยนายมาหามะมิง ให้นายอับดุลรอฮิมนำกำลังไปก่อเหตุตามจุดต่างๆ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ติดตามไล่ล่าแล้ว และคาดว่าหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านพักของสมาชิกแนวร่วมในพื้นที่ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ

ต่อมาเวลา 09.30 น. พล.ต.อ.อดุลย์ให้สัมภาษณ์หลังเข้าประชุมกับเจ้าหน้าที่ศชต.ว่า เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อติดตามขยายผลจากศพของคนร้ายที่เสียชีวิต พร้อมด้วยอาวุธในที่เกิดเหตุ ซึ่งจะขยายผลจากหลักฐานที่พบ นอกจากนี้ส่วนของรถยนต์ที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ เป็นรถยนต์ที่ถูกชิงทรัพย์มา จึงให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังรถยนต์เป้าหมายที่ยังเหลืออยู่ และกำชับให้เพิ่มมาตรการกวดขัน พร้อมรับสถานการณ์ความรุนแรง นอกจากนี้เชื่อว่า ในส่วนของการครบรอบเหตุการณ์ตากใบ คนร้ายอาจจะมีการตอบโต้กลับมา จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมตลอดเวลา

จาก นั้นพล.ต.อ.อดุลย์ไปที่วัดเมืองยะลา อ.เมือง จ.ยะลา เป็นประธานในพิธีรดน้ำศพ ส.ต.อ.ปรีชา สมัยใหม่ อายุ 33 ปี ผบ.หมู่ ตชด.44 ครูร.ร.ตชด. บ้านละโอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิ วาส ที่ถูกคนร้ายลอบยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีพล.ต.ท.ไพฑูรย์ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนร่วมพิธีจำนวนมาก โดยผบ.ตร.มอบเหรียญกล้าหาญ และเงินช่วยเหลือจากตร. นอกจากนั้น พ.ต.อ.ทวีและหน่วยงานต่างๆ ยังมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง

บำรุงขวัญ- พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. รุดตรวจเยี่ยมให้กำลังใจตำรวจ ส.รน.4 กก.7 บก.รน. อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งได้รับบาดเจ็บหลังเผชิญเหตุยิงปะทะต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ เข้าไปโจมตีฐานสถานีตำรวจน้ำตากใบ จนฝ่ายคนร้ายต้องล่าถอยไป เมื่อ 22 ต.ค.


ส่วน ที่วัดโคกเคียน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา ผบ.นาวิกโยธิน กองทัพเรือ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 4 นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผวจ.นราธิวาส ร่วมพิธีรดน้ำศพจ.อ.อิสราวุธ พละศักดิ์ และจ.อ.นาดี จำปาวัน ทหารนาวิกโยธินฉก.นราธิวาส 32 ที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่บ้านจูโว ต.บาแระใต้ อ.บาเจาะ เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเพื่อนทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเข้าร่วมพิธีเพื่อร่วมไว้อาลัย

จาก นั้นเคลื่อนศพทหารทั้งคู่ไปตั้งสวดพระอภิธรรมที่ ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยพล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. และนางพรจิตร์ หรุ่นเริงรมย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ เป็นประธานในพิธี โดยกองทัพเรือปูนบำเหน็จเลื่อนชั้นเงินเดือน 7 ขั้น โดยจ.อ.นาดีเลื่อนยศเป็นนาวาโท ได้รับเงินช่วยเหลือ 2,431,180 บาท และจ.อ.อิศราวุธเลื่อนยศเป็นนาวาตรี พร้อมขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นบ.ม. ได้รับเงินช่วยเหลือ 2,132,080 บาท

วัน เดียวกัน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. พร้อมคณะตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญผู้ได้รับบาดเจ็บและเยี่ยมให้กำลังใจตำรวจน้ำ ส.รน.4 กก.7บก.รน. อ.ตากใบ ที่ถูกคนร้ายบุกเข้าโจมตีเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา จนเกิดการปะทะกันขึ้นเป็นเหตุให้ด.ต.ธรนินทร์ ผ่อนผาสุก ผบ.หมู่ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย โดยพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวชื่นชม ตำรวจส.รน.4 ว่ามีการเตรียมพร้อมที่ดี เนื่องจากในวันเวลาที่เกิดเหตุ กลุ่มคนร้ายเลือกก่อเหตุช่วงหัวค่ำในวันหยุด แต่ตำรวจทุกนายมีความพร้อมสามารถตั้งรับและตอบโต้การโจมตี สามารถรักษาชีวิตตำรวจทุกนาย ป้องกันสถานที่ รักษาทรัพย์สินของทางราชการไว้ได้

ที่มรภ.สุราษฎร์ธานี อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ ธานี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมครม.สัญจร ว่า ได้รับรายงานสถานการณ์ในภาพรวมในช่วงเช้าและบ่ายของวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า สาเหตุเกิดจากผู้ก่อความรุนแรงต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือก่อเหตุใน วันที่ 25 ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 8 ปี รำลึกเหตุการณ์ตากใบ แต่การก่อความไม่สงบจะไม่เกิดถี่ขึ้นมากกว่านี้ เพราะเจ้าหน้าที่กดดันเชิงรุกต่อกลุ่มคนร้ายอยู่ตลอด ส่วนกระแสข่าวที่ว่ามีเครือข่ายค้าน้ำมันเถื่อนและธุรกิจผิดกฎหมายรายใหญ่ ที่จ.ปัตตานี เข้ามาเกี่ยวพันกับกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น ขณะนี้ภัยแทรกซ้อนทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว ที่มีส่วนในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบด้วย เพื่อความสะดวกต่อการดำเนินการของทั้ง 2 กลุ่มนี้

ลวงบึ้ม - กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบุกยิงสังหารโหดนางสุกัลยา ทรัพย์เพิ่ม อายุ 56 ปี เจ้าของร้านชำเลขที่ 41/1 ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เพื่อล่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบจากนั้นใช้วิทยุสื่อสารจุดชนวนระเบิด ถล่มซ้ำ แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เมื่อ 22 ต.ค.


ต่อ มาน.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังพล.ต.อ.อดุลย์เข้าพบเพื่อรายงานผลการลง พื้นที่อ.ตากใบ ว่า พล.ต.อ.อดุลย์ลงพื้นที่ไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ และที่เสียชีวิต โดยเบื้องต้นตนสั่งการให้พล.อ.ยุทธศักดิ์และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ลงพื้นที่ในวันที่ 23 ต.ค.นี้ เพื่อทำงานเพิ่มเติมและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ อีกครั้ง

ส่วน กรณีจากเหตุการณ์ที่อ.ตากใบ ส่งผลให้ประเทศมาเลเซียประกาศเตือนประชาชนห้ามเข้าประเทศไทย จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวหรือไม่นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะมีอยู่แค่บางพื้นที่ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีความปลอดภัยอยู่ ขณะนี้ได้เร่งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ลงไปดูแลความปลอดภัยให้มากขึ้น และล่าสุด ครม.ได้อนุมัติอัตราอาสาสมัคร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะลงไปช่วยในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นแล้ว รวมทั้งครม.ยังเห็นชอบการตั้งจุดตรวจร่วมเพื่อเสริมความปลอดภัยให้ประชาชน ด้วย ขณะนี้คณะทำงานกำลังทำงานกันอย่างเต็มที่

ที่ห้อง ประชุมศอ.บต. พ.ต.อ.ทวีเป็นประธานการมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาทางจิตใจแก่ผู้ที่ถูกดำเนิน คดีจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2547 ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาถูกถอนฟ้องโดยมีผู้เข้ารับมอบเงิน 58 ราย รายละ 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,740,000 บาท

เยียวยา - พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาฯ ศอ.บต. มอบเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุ ชุมนุมที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 25 ต.ค.47 มีผู้รับมอบเงิน 58 ราย รายละ 3 หมื่นบาท ที่ศอ.บต. เมื่อ 22 ต.ค.

วันเดียวกัน นายสมพงษ์ กางทอง อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่อ.ตากใบ จนมีข่าวว่ามาเลเซียสั่งห้ามประชาชนเข้ามาในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้นั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการนำเสนอของสื่อมวลชนมาเลเซีย ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนปกติเมื่อพบว่ามีการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจนถึงขณะนี้สื่อมวลชนมาเลเซียยังนำเสนอข่าวกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในพื้นที่ อาทิ เทศกาลกินเจที่อ.เบตง จ.ยะลา และที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ หลังเข้าพบเชก อาห์เหม็ด อัล เตเย็บ ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามแห่งอียิปต์ว่า เข้าคารวะเชก อาห์เหม็ด อัล เตเย็บ เพื่อมอบหนังสือของ นายกฯ ที่เชิญผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามแห่งอียิปต์ไปเยือนไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมแสดงความขอบคุณที่ได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาไทยที่มา เรียนอียิปต์ นอกจากนี้ ตนยังได้เชิญผู้นำสูงสุดศาสนาอิสลามไปเยือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งท่านได้ตอบรับที่จะเดินทางมาเยือนไทยแล้ว แต่ต้องพิจารณาเวลาที่เหมาะสมก่อน คาดว่าอาจเป็นช่วงเดือนพ.ย.นี้ นอกจากนั้น ท่านยังระบุว่าไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น และต้องการให้คนทั่วโลกเข้าใจว่า ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่เดินทางสายกลาง เปิดกว้างและสอนให้รู้จักการให้อภัย

สำหรับเหตุการณ์รุนแรง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พ.ต.อ.สมพร มีสุข ผกก.สภ.เมืองปัตตานี รับแจ้งเหตุยิงกันมีผู้เสียชีวิต บริเวณถนนสามัคคี ซ.5 เขตเทศบาลเมืองปัตตานี จึงนำกำลังรุดตรวจสอบ ที่เกิดเหตุพบศพนายสมชาย แอบกลิ่นจันทร์ อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 418/60 ม.6 ต.รูสะมิแล อ.เมือง อส.รปภ.พระภิกษุที่ออกบิณฑบาต ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาดที่ลำตัว 4 นัด ทราบว่าก่อนเกิดเหตุผู้ตายขี่รถจักรยานยนต์เพื่อไปรปภ.พระที่วัดนพวงศ์ศาราม (วัดใหม่) เมื่อถึงที่เกิดเหตุมีคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะประกบยิง จนเสียชีวิตก่อนหลบหนีไป ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการสืบสวน

ที่ จ.นราธิวาส ร.ต.ต.อัศเดช ดินแดง ร้อยเวร สภ.ศรีสาคร รับแจ้งเหตุยิงกันมีผู้เสียชีวิตภายในร้านขายของชำ เลขที่ 41/1 ม.1 ต.ศรีสาคร จึงนำกำลังทหารและตำรวจรุดไปตรวจสอบพร้อมพ.ต.อ.โกวิทย์ รัตนโชติ ผกก. แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังจะเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ มีคนร้ายที่แฝงตัวอยู่กดชนวนระเบิดที่ซุกซ่อนไว้ภายในร้านดังกล่าว จนระเบิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว แต่โชคดีที่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดเข้าไปในร้านจึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

ต่อ มาพ.ต.อ.สมบัติ หวังดี รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.ท.กระจ่าง รักษ์ณรงค์ หน.กองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส ร.ต.ต.พลวัฒน์ เทพษร รอง หน.ชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด ร่วมตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบศพนางสุกัลยา ทรัพย์เพิ่ม อายุ 56 ปี เจ้าของร้าน ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 11 ม.ม. ที่ท้ายทอยทะลุศีรษะ 1 นัด เสียชีวิตคาที่ นอกจากนั้นยังพบหลุมระเบิดลึก 1 ฟุต กว้าง 2 ฟุต ข้าวของภายในร้านพังเสียหายจนหมด มีเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในถังแก๊สปิคนิค หนัก 15 ก.ก. จุดชนวนระเบิดด้วยวิทยุสื่อสาร ตกกระจายเกลื่อนภายในร้านค้า และพบปลอกกระสุนปืนขนาด 11 ม.ม. ตกอยู่ 1 ปลอก

สอบสวนทราบ ว่าก่อนเกิดเหตุ คนร้ายมีทั้งหมด 4 คน ซ้อนรถจักรยานยนต์มา 2 คัน จากนั้นทำทีมาขอซื้อสินค้า เมื่อสบโอกาสจึงชักอาวุธปืนขึ้นยิงนางสุกัลยาจนเสียชีวิต จากนั้นคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่องที่ซุกซ่อนอยู่ในกระสอบปุ๋ยสีขาวไปวางไว้ ที่ใต้โต๊ะเก็บเงิน โดยหวังล่อให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้วลงมือกดชนวนระเบิดเพื่อ หวังสังหารหมู่เจ้าหน้าที่ แต่โชคดีที่ไม่มีใครได้รับอันตราย

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

“ทางสองแพร่ง”ยุคใหม่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน บช.ก.ขับเคลื่อน“เสริม5 ทฤษฎี 1 หลักการ” Posted on October 17th, 2012 by by botparsed

 http://mediacitymusic.com/

นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตำรวจไทยใช้แนวทางการทำงานโดยมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายเป็นหลัก โดยพยายามระดมจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้จำนวนมากๆ ให้ตำรวจตระเวนตรวจเพื่อหวังผลในการป้องกันอาชญากรรม แต่วิธีการดังกล่าวไม่สามารถลดอาชญากรรมได้ ต่อมาตำรวจเริ่มมองเห็นความจริงว่า การทำงานเพียงลำพังโดยปราศจากความร่วมมือจากประชาชน ไม่อาจทำให้งานตำรวจประสบความสำเร็จได้ ต่อมาในปี 2531 จึงได้ใช้แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย ควบคู่กับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้อาชญากรรมลดลงได้
ในทางตรงกันข้ามอาชญากรรมในประเทศไทยยังคงสูง อย่างต่อเนื่อง หนำซ้ำภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาประชาชนยังไม่ดี ตำรวจยังคงมีต้นทุนทางสังคมต่ำ สะท้อนให้เห็นว่า ทิศทางการทำงานของตำรวจไทย กำลังเดินไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ตำรวจกำลังเดินออกห่างจากประชาชนออกไปทุกทีๆ
อย่างไรก็ดีตำรวจไทย ไม่ใช่เป็นตำรวจประเทศเดียวที่ประสบปัญหา “ประชาชนไม่รัก อาชญากรรมไม่ลด” แต่ตำรวจในประเทศที่ใช้แนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายเป็น หลัก จะประสบปัญหาเช่นเดียวกับตำรวจไทย
ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ จนกระทั่งค้นพบ “ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่พลิกโฉมหน้าวงการตำรวจโลก โดยให้ตำรวจเปลี่ยนทิศทางการทำงาน จากการเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน เป็นการหันหน้าเข้าหาประชาชน ทำหน้าที่ปกป้องและให้บริการ สร้างความคุ้นเคยด้วยความจริงใจ เมื่อประชาชนไว้วางใจก็จะให้ข้อมูล ให้ข่าว บอกปัญหาและความต้องการให้ทราบ จากนั้นตำรวจกับประชาชนก็จะร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ตรงตามความต้องการทฤษฎี ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ดังนั้นจึงเปรียบเสมือน “ทางสองแพร่ง” ที่ตำรวจในยุคปัจจุบันต้องเลือกระหว่างการทำงานแบบเดิมๆ ที่ยังคงใช้การบังคับใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว หรือการนำทฤษฎีดังกล่าวมาปรับใช้ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมาย
แนวทางดังกล่าวนี้ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. จึงได้นำ“ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”มาใช้กับทุกหน่วยงานของบช.ก. ซึ่งก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว จากโครงการทดลองหลายๆ แห่ง ที่ส่งตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ เช่น ชุมชนวัดเซิงหวาย เขตเตาปูน , ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ฯลฯ ซึ่งทุกแห่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ได้รับเสียงตอบรับและความร่วมมือจากประชาชน สามารถลดอาชญากรรมและยาเสพติดในชุมชนได้ ผลลัพธ์คือ “ประชาชนรัก อาชญากรรมลด ยาเสพติดหมดไป”
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ผบช.ก.พยายามเน้นย้ำให้ถ่ายทอดเนื้อหาทั้งหมด ผ่านภาพการ์ตูน “ทางสองแพร่ง” เพื่อสื่อให้เห็นระหว่างตำรวจยุคเก่ากับตำรวจยุคใหม่ มีตำรวจกำลังยืนมองตำรวจรุ่นก่อน ที่เดินล่วงหน้าไปก่อน ตำรวจที่เดินบนเส้นทางตำรวจยุคเก่า ซึ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ต้องพบกับปัญหาอุปสรรคตลอดเส้นทางและไม่อาจไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ ส่วนตำรวจที่เดินบนเส้นทางตำรวจยุคใหม่ ซึ่งทำทั้ง “5 ทฤษฎี กับอีก 1 หลักการ” โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความหวาดระแวงภัยของประชาชน สามารถเข้าเส้นชัยได้ พร้อมกับความสำเร็จ
“การพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทำให้สำเร็จได้ง่ายๆ ชั่วข้ามคืน แต่ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี ต้องเจอการปฏิเสธ การต่อต้านมากมาย โดยเฉพาะในองค์กรตำรวจที่มีการศึกษาพบว่ามีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสูงมาก ถึงอย่างไรเราจะปฏิเสธความจริงไม่ได้ เราจะไม่ฟังเสียงสะท้อนจากสังคม ก้มหน้าก้มตาทำงานแบบเดิมๆ ต่อไปก็คงไม่มีใครได้ประโยชน์ ที่สำคัญไม่ดีต่อตัวตำรวจเองแน่ๆ หากเราไม่ช่วยกันเปลี่ยนกันเอง ไม่นานเราก็ต้องบังคับให้เปลี่ยนซึ่งไม่มีใครชอบทางเลือกแบบหลัง”
ผบช.ก.กล่าวชัดเจนว่า อยากให้มาตั้งเป้าหมายร่วมกันไว้คร่าวๆ ประมาณ 10 ปีนับจากนี้ สำหรับการก้าวผ่านจากองค์กรตำรวจแบบเก่าไปสู่องค์กรตำรวจสมัยใหม่ ที่ใช้เทคนิค วิธีการทำงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล เหมือนดังที่องค์กรตำรวจทั่วโลกเขาเป็นกัน เมื่อถึงเวลานั้นเชื่อว่าตำรวจไทยจะมีความภูมิใจในอาชีพ ทำงานก็มีความสุข และเราต้องก้าวไปยืนเป็นตำรวจแนวหน้าของกลุ่มอาเซียนให้ได้
ขณะเดียวกันหน่วยงานกำลังสำคัญของ บช.ก.อย่างกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ที่มี พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.เป็นหัวเรือใหญ่ ได้รับมอบนโยบายโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”ของ ผบช.ก.ด้วยการนำโครงการดังกล่าวมาปรับใช้กับตำรวจในสังกัด ตั้งแต่กองกำกับการ1-6 และกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ(กก.ปพ.) หรือหน่วยคอมมานโด ให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ ให้เกิดเป็นรูปธรรม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ซึ่งตำรวจในสังกัดได้รับนโยบายไปปฏิบัติและมีการประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อ เนื่อง
พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป ได้นำแนวทาง “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ไปใช้ในในพื้นที่ชุมชนมุสลิม จ.สตูล เพื่อทำให้เป็นชุมชนต้นแบบในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยได้มีการไปติดตามความคืบหน้าในพื้นที่ จ.สตูล เมื่อ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.ต.สุพิศาล พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทินกร และตำรวจสังกัด กก.6 บก.ป ได้เชิญ นายอุกฤษฏ์ อิสมาแอล อายุ 44 ปี ครูสอนศาสนา และ นายสมัคร สะดน อายุ 55 ปี กรรมการมัสยิดเราด่อตุ้ลญันนะห์ บ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล มาเข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาทั่วไปของเด็กวัยรุ่น และปัญหายาเสพติด
นายสมัคร กล่าวว่า ทุกวันนี้เด็กและเยาวชนก็เริ่มตระหนักถึงปัญหาแม้ว่าจะยังไม่สามารถกำจัดยา เสพติดในชุมชนได้100 เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จได้ตำรวจเองก็ต้องเข้าใจถึงนโยบายที่ รับมาปฏิบัติด้วย ถึงจะนำไปเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ได้ในอนาคต
ด้านพ.ต.อ.ทินกร ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ผ่านมาก็ได้ลงพื้นที่ไปแล้วราว 1 ปี ในพื้นที่มีชาวบ้านอยู่ 103 ครัวเรือน มีประชาชนประมาณ 530 คน ช่วงแรกๆ จนถึงวันนี้นับได้ว่าชุมชนได้พัฒนาขึ้นไปมากจากการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กวัยรุ่น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาร่วมกันโดยไม่ได้เน้นที่ผลการจับกุมเป็นหลัก แต่ก่อให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจด้วยการกินนอนอยู่ด้วยกัน ผลที่ได้รับกลับมาถือว่ามีความน่าพอใจ เพราะทุกวันนี้ทั้งชาวบ้าน และครูสอนศาสนา รวมทั้งตำรวจที่เข้าไปทำกิจกรรมเริ่มเป็นหนึ่งเดียวกัน หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็อาจจะนำไปเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีของวงการสีกากี จุดเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนตำรวจไทยได้เกิดขึ้นแล้ว แนวทางมีแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติมีแล้ว ผู้ที่รับปฏิบัติก็มีแล้ว ผลสำเร็จที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างประชาชนกับตำรวจที่สุขเพิ่มขึ้นจะ มีหรือไม่นั้นก็คงต้องรอดูต่อไป แอบหวังแต่เพียงว่าผลที่ตามมาจะเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ อาจไม่ใช่เพียงแค่ตำรวจกับประชาชนเท่านั้น แต่ควรเป็นสังคมโดยรวมด้วย.
รัชพล ยี่สุ่น รายงาน
…………………………………………………………..
5 ทฤษฎี 1 หลักการ
สำหรับแนวทางใหม่  “5 ทฤษฎีกับอีก 1 หลักการ”  คือ 1.ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย การทำหน้าที่จับผู้ร้าย 2.ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของชุมชน ช่วยลดความขัดแย้งและเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างตำรวจกับประชาชน 3.ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ 4.ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นนักวางแผนป้องกัน 5.ทฤษฎีหน้าต่างแตก ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตราความเรียบร้อย เมื่อพบปัญหา ให้รีบแก้ไขทันที ก่อนที่ปัญหาเล็กๆ จะลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ ในส่วนของ 1 หลักการ คือ หลักการพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชนโดยทำหน้าที่เป็นนัก วิเคราะห์และแก้ปัญหา

"แยกปลาจากน้ำ"ปฏิบัติการ...ล้างบางยาเสพติด

 http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/10/18/entry-9/comment

         สภาพแวดล้อมผนวกกับความอัตคัดขัดสนของครอบครัว อาจเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ที่ทำให้หลายคนตกเป็นทาสของยาเสพติด และในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่เปลี่ยนผ่านจากผู้เสพไปสู่ผู้ค้า กลายเป็นวัฏจักรของขบวนการค้ายาเสพติด...ใครถลำลึกแล้วยากจะถอนตัว อย่าง "เอ" เด็กหนุ่มวัย 17 ปี จากชุมชนริมน้ำ หมู่ 3 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

            เขาเกิดและเติบโตมาท่ามกลางการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน ผนวกกับแรงบีบคั้นจากสถานะทางครอบครัวที่ยากจนข้นแค้น พ่อและแม่แยกทางกัน ทิ้งให้ตัวเขาและน้องรวม 4 ชีวิตอยู่กับแม่เพียงลำพัง แถมน้ายังนำลูกอีก 3 คนมาฝากเลี้ยง ทำให้แม่ของเขาต้องหาเลี้ยงลูกและหลานรวม 7 ชีวิต ด้วยการรับจ้างขุดหลุมให้ผู้รับเหมางานก่อสร้างบ้าน ค่าแรง 200 บาทต่อ 1 หลุม ในช่วงงานก่อสร้างชุกก็พอมีเงินเลี้ยงดูลูกและหลานให้อิ่มท้อง แต่ถ้าช่วงไหนที่งานทิ้งช่วงทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพอดมื้อกินมื้อ
          "เอ" จำเป็นต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ขณะเรียนอยู่ชั้น ม.2 เพื่อช่วยแม่ทำงานหาเงินเลี้ยงน้อง และงานที่หาง่ายที่สุดในชุมชนริมน้ำ คือการเข้าสู่เครือข่ายยาเสพติดในฐานะเด็กเดินยา
        "พวกเขาจะเอายาบ้ามายัดไว้ตามตู้โทรศัพท์สาธารณะข้างบ้าน ผมจะทำหน้าที่ในการดูแลให้จนกว่าจะมีคนเข้ามารับไป แลกกับเงินค่าจ้างครั้งละ 50-100 บาท ซึ่งเงินจำนวนนั้นมากพอที่จะทำให้น้องและแม่ผมไม่ต้องอดข้าว" เอ บอกถึงสาเหตุที่ทำให้เข้าไปพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด

          นับวันชะตาชีวิตยิ่งชักนำให้เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ถลำลึกจนกระทั่ง พ.ต.อ.อภิชัย ดุษฎีพฤฒิพันธุ์ ผกก.กก.2 บก.ทล.มอบหมายให้ พ.ต.ท.รังสิมันฑ์ วิจิตธำรงศักดิ์ รองผกก.2 บก.ทล. ในฐานะรักษาราชการแทน สว.ส.ทล.6 (กาญจนบุรี) พร้อมด้วย ร.ต.ต.วัฒนา หนูจีน ,ด.ต.พิชิต ขาวจุ้ย และทีมงานจำนวนหนึ่ง เข้าไปจัดทำโครงการ "คืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง" ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ทำให้ "เอ" ได้มีชีวิตใหม่!!

          "จากการทำประชาคมพบว่ายาเสพติดแพร่ระบาดหนักชาวชุมชนริมน้ำ ต้องการร่วมกันแก้ปัญหาให้ได้โดยเร็ว "เอ" เป็นหนึ่งในหลายคนที่ถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เราจึงเข้าไปคุยด้วยถึงบ้านจนทราบว่าเขาถูกบีบคั้นจากสถานะของครอบครัว ทีมงานเห็นตรงกันว่าการบำบัดอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะอาจกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก จึงตัดสินใจนำเขาออกจากชุมชนชั่วคราว ให้งานให้อาชีพเพื่อให้เขามีเงินเลี้ยงดูครอบครัวโดยไม่ต้องยุ่งกับยาเสพ ติด" พ.ต.ท.รังสิมันฑ์ บอกถึงวิธีแก้ปัญหา

          กรณีของ "เอ" เป็นหนึ่งในปฏิบัติการแยกปลาออกจากน้ำ คือนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดออกจากแหล่งระบาด เขาถูกนำตัวไปทำงานอยู่กับตำรวจทางหลวงประจำตู้บ้านพุกร่าง ต.หนองมะค่าโม่ง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ได้เบี้ยเลี้ยงวันละ 200 บาท เงินจำนวนนี้ "เอ" ได้มอบให้แม่เป็นค่าอาหารให้น้องๆ ส่วนตัวเองกินอยู่กับตำรวจทางหลวงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แถมยังมีโอกาสได้กลับไปเรียนหนังสือในรูปแบบการศึกษานอกโรงเรียน

           "หากผมมีโอกาสเช่นนี้ตั้งแต่แรกผมคงไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ผมจะตั้งใจเรียนตั้งใจทำงานให้ดีที่สุดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น และสัญญาว่าจะไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก" เอ ยืนยันแข็งขัน
นอกจากปฏิบัติการ "แยกปลาออกจากน้ำ" ตำรวจทางหลวงกาญจนบุรี ยังใช้ความพยายามในการกดดันผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายอื่น โดยการติดตั้งกล่องรับแจ้งเบาะแสไว้ทั่วชุมชน หลังรับแจ้งแล้วก็จะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลถึงบ้านชนิดเช้าถึงเย็นถึงเพื่อปิด โอกาสไม่ให้บุคคลผู้นั้นมีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับยาเสพติดได้ รวมถึงการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วชุมชนเพื่อสอดส่องขบวนการค้ายาเสพติดและ ดูแลความปลอดภัยให้คนในชุมชนแบบเรียลไทม์อีกด้วย
                                        - ทัศชยันต์ วาหะรักษ์ -

"น้ำท่วม-ป่วยไข้"แจ้ง "กองปราบฯ"

   http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/10/18/entry-3

     แม้ปีนี้ไม่เกิดมหาอุทกภัยซ้ำรอยปี 2554 แต่อิทธิพลของพายุ "แกมี" ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ ยังคงสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับน้ำในหลาย จังหวัดของภาคกลาง เพราะหลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมสูง

        อย่างที่ ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี พื้นที่เกือบ 3 หมื่นไร่ ยังคงจมอยู่ใต้บาดาล ในบางพื้นที่ยังคงมีระดับน้ำที่ท่วมสูงถึง 2.50 เมตร ประชาชนจำนวนมากยังคงอยู่อาศัยกันอย่างยากลำบาก
        พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้มอบหมายให้ตำรวจกองปราบปราม นำโดย พ.ต.อ.วัชรพล ทองล้วน ผกก.5 บก.ป., พ.ต.ท.วรวุฒิ คุณะเกษม รองผกก.5 บก.ป., พ.ต.ท.ปัญญา ชะเอมเทศ รองผกก.5 บก.ป. และ พ.ต.ท.สมบัติ มีมงคล สว.กก.5 บก.ป. ร่วมกับ พ.ต.อ.อภิชัย ดุษฎีพฤติพันธุ์ ผกก.2 บก.ทล. และ พ.ต.ท.รังสิมันฑ์ วิจิตธำรงศักดิ์ รองผกก.2 บก.ทล. นำอาหารและเครื่องยังชีพไปมอบให้ พร้อมทั้งประสานกับ นพ.อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผอ.รพ.พญาไท 2 นำทีมพยาบาลของโรงพยาบาลไปตรวจสุขภาพให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วย
        การเดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้ ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้ประสานผู้นำท้องถิ่นตั้งจุดบริการตรวจ สุขภาพและมอบอาหารและเครื่องใช้ยังชีพภายในวัดดอนขาด ซึ่งพื้นที่โดยรอบระดับน้ำยังคงท่วมสูง มีประชาชนผู้ประสบอุทกภัยกว่า 600 คน มารอรับอาหารและเครื่องใช้ที่ตำรวจนำมามอบให้ พร้อมกับรับบริการตรวจสุขภาพจากเจ้าหน้าที่พยาบาลของโรงพยาบาลพญาไท 2 ควบคู่ไปด้วย

        ขณะที่มีอีกหลายสิบครัวเรือนในพื้นที่หมู่ 10 น้ำยังคงท่วมบ้านเรือนเกือบ 2 เมตร ผู้ประสบภัยไม่สามารถเดินทางมารับอาหารและเครื่องยังชีพด้วยตัวเองได้ ตำรวจจึงประสานงานกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นนำเรือท้องแบนบรรทุกอาหาร และเครื่องใช้ไปมอบให้ พร้อมกับนำทีมพยาบาลไปตรวจสุขภาพให้ถึงบ้าน พบว่าหลายหลังมีคนชราและเด็กอาศัยอยู่ ซึ่งในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่มีอาการป่วยด้วยไข้หวัด และความดันโลหิตสูง เนื่องจากเครียดจากภาวะน้ำท่วม ขณะที่อีกหลายรายมีอาการน้ำกัดเท้าและคันตามร่างกาย เพราะต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกน้ำท่วมขังมานานเกือบ 2 เดือนแล้ว

        "ป่วยเป็นโรคความดันอยู่แล้ว ปกติต้องกินยาตามที่หมอสั่ง แต่ระยะหลังไม่ได้กินยา เนื่องจากยาที่หมอให้มาหมดแล้ว ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านไปรับยาชุดใหม่ได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูง ต้องขอบคุณตำรวจกองบัญชาการสอบสวนกลางและพยาบาลจากโรงพยาบาลพญาไท 2 ที่นำอาหารและเครื่องยังชีพ พร้อมกับยา ฝ่ากระแสน้ำมามอบให้ถึงบ้าน ไม่เช่นนั้นคงแย่แน่" นางจำรัส โตกุล หญิงชราวัย 85 ปี บอกหลังจากได้รับการช่วยเหลือ
         ด้าน น.ส.วราภรณ์ พันธ์มานะเจริญผล ผู้จัดการส่วนบริการพยาบาล โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า ผลการตรวจสุขภาพผู้ประสบภัยพบว่าหลายรายมีอาการไข้หวัด และน้ำกัดเท้า ขณะที่ผู้สูงอายุ อายุกว่า 40 ปีขึ้นไป จำนวนไม่น้อยมีอาการความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นเพราะความเครียดที่ต้องอยู่ในสภาวะน้ำท่วมมาเป็นเวลานาน ขณะที่หลายรายเป็นผู้ป่วยเก่า ไม่สามารถกินยาได้อย่างต่อเนื่อง เพราะน้ำท่วมบ้าน ไม่สามารถเดินทางไปพบแพทย์ตามนัดได้ ส่วนรายที่มีประวัติเจ็บป่วยอยู่ก่อนแล้วได้ประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพประจำตำบลเข้ามาคอยดูแลอาการเจ็บป่วยอย่างต่อเนื่องแล้ว

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำชมตำรวจ " โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน "


คำชมตำรวจ " โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน "

ที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. มอบเป็นนโยบายให้ตำรวจสอบสวนกลางนำไปทำกว่า 150 แห่งทั่วประเทศมาเป็นเวลา 2 ปี

เริ่มมีความสำเร็จปรากฏออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

ที่บ้านยาวี ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

พ.ต.อ.ไพรัช พุกเจริญ ผกก.1 ทล.ได้ส่ง ร.ต.ต.สมบุญ กลั่นทรัพย์ และ ร.ต.ต.ประธาน ศรีบรรเทา ลงไปปฏิบัติหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

ช่วยแก้ปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดกับวัยรุ่นในชุมชน ซึ่งก็สามารถทำให้ปัญหายาเสพติดในชุมชนลดลงได้เป็นที่น่าพอใจ

มีตัวอย่างนำเสนอเป็นการยืนยัน....

จากครอบครัวหนึ่งซึ่งมีลูกชายอายุ 17 ปี เป็นพนักงานบริษัท ติดยาบ้าจากกลุ่มเพื่อนที่คบหาเที่ยวเตร่ ไม่ยอมไปเรียนจนต้องออกจากโรงเรียน

แม่พยายามนำลูกไปบำบัดเพื่อให้เลิกยาเสพติด ไปขอความช่วยเหลือจากทุกแห่งเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่ได้รับความสำเร็จ

โชคดีที่มีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เข้ามารับอาสานำลูกไปบำบัดเพื่อให้เลิกยาเสพติด โดยนำไปบำบัดรักษาด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้าน ให้กินอยู่หลับนอนในที่ทำการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ดูแลเอาใจใส่ตลอด 24 ชั่วโมง

จน 2 สัปดาห์ผ่านไป สามารถเลิกยาได้สำเร็จ!!!

ครอบครัวได้ลูกชายคนเดิมกลับมาอีกครั้ง

ส่วนลูกชายที่เลิกยาเสพติดได้สำเร็จ ก็เกิดแรงบันดาลใจ อุทิศตนช่วยงานของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน พบปะเด็กและเยาวชน เตือนสติไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ขอเป็นพี่เลี้ยงให้เด็กหรือเยาวชนคนอื่นที่จะเข้าไปเลิกยาเสพติดกับตำรวจผู้ รับใช้ชุมชน ในลักษณะพี่ช่วยน้อง เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ เป็นกำลังใจให้เลิกยาเสพติดให้ได้

เรื่องดีๆแบบนี้ เกิดขึ้นในชุมชนเล็กๆแห่งหนึ่ง จากความตั้งใจของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

ที่สมควรได้รับคำชมขอบคุณจากประชาชนครับ.

สหบาท
ขอบคุณข่าวจากคอลัมน์ สหบาท หนัะงสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/298665

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาพลักษณ์ใหม่ตำรวจ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน"

ภาพลักษณ์ใหม่ตำรวจ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน"

ภาพลักษณ์ใหม่ตำรวจ : เลียบค่าย โดยชัยกร ใบเงิน

               ระบบราชการไทยควรจะเข้าสู่ยุคการแข่งขันกันได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงการบริการประชาชน                 ภาคธุรกิจไปไกลมากแล้วทั้งเรื่องคุณภาพบุคลากร เทคโนโลยี การประเมินผลงาน แต่ข้าราชการไทยยังล้าหลังอยู่มาก
                องค์กรตำรวจอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ออกจะไปทางลบเสียมากกว่า ชาวบ้านมองว่าตำรวจเป็นนาย เป็นกลุ่มข้าราชการที่ควรเกรงกลัว ไม่ว่าจะกระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม
       
                 ปัจจุบันตำรวจเริ่มปรับตัวไปได้มากทั้งการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร ส่วนหนึ่งมาจากการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากหลายหน่วยงาน ช่องทางที่มากขึ้นทำให้งานมีมาตรฐานมากขึ้น
       
                 วิธีปฏิบัติที่นอกลู่นอกทางอย่างสมัยก่อนก็ลดลงไปเอง
       
                 ยุคของพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้เน้นย้ำการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นผู้นำและต้องถ่ายทอดสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา
       
                 ตำรวจเริ่มมองสังคมในด้านบวก มองความทุกข์ ความเดือดร้อนของชาวบ้านเป็นหลัก
       
                 ตัวอย่างของนายสเตฟาน วาร์กเนอร์ อายุ 42 ปี หนุ่มชาวเยอรมัน ที่เข้ามาอาศัยอยู่เมืองไทย แต่งงานกับสาวไทยจนมีลูกด้วยกัน พอเงินหมดก็ถูกภรรยาทิ้งและดูแลลูกด้วยตัวเองอย่างดี เป็นที่น่าเวทนาของชาวบ้าน
       
                 เมื่อพ.ต.ท.ฉัตรามนตรี มหาพชราอรุณใหม่ สารวัตรตำรวจท่องเที่ยว จ.พระนครศรีอยุธยา กับร.ต.ต.เอกณกร ธารารมย์ รองสารวัตร รู้ข่าวก็เข้าช่วยเหลือประสานหาตัวภรรยาจนเจอ สุดท้ายให้มาเซ็นเอกสารมอบลูกให้หนุ่มเยอรมันเอากลับไปเลี้ยงดูที่ประเทศ บ้านเกิดได้
       
                 อีกกรณีตำรวจทางหลวงเพชรบุรี นอกจากจะอำนวยความสะดวกด้านการจราจรแล้วยังแบ่งกำลังเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วย เป็นงานนอกหน้าที่แต่ทำด้วยความเสียสละเพื่อสังคม
       
                 ทั้งสองกรณีเป็นการสานนโยบาย "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ที่กำลังปรับแนวคิดตำรวจเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
       
                 อีกตัวอย่างหนึ่งถึงแม้จะถูกมองแง่การเมืองและไม่ใช่หน้าที่ก็ตามคือ เรื่องที่ตำรวจนครบาลร่วมกับผู้ต้องขัง ลอกท่อใน กทม.ก็ถือว่าเป็นการทำประโยชน์อย่างหนึ่งหากมองข้ามความขัดแย้งของนักการ เมือง
       
                 ปัจจุบันองค์กรตำรวจเริ่มขยับปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพเข้าสู่อาเซียนเพราะที่ผ่านมาตำรวจไทยได้รับเกียรติ ยกย่องจากต่างชาติมากในเรื่อง การติดตามจับกุมคดีสำคัญระหว่างประเทศ
       
                 ในขณะที่ภาพลักษณ์ภายในยังไม่ประทับใจขนาดนั้น ยุคผบ.ตร.คนนี้ก็หวังว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะปรับจูนความถี่เข้ากับประชาชนได้มากขึ้น

ขอบคุณข่าวจากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ครับ

http://www.komchadluek.net/detail/20121015/142358/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88.html#.UHuIWq4sHNU

...เพื่อประชา... ตำรวจของประชาชน เป็น "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" เป็นตำรวจของประเทศไทย

...เพื่อประชา...
ตำรวจของประชาชน เป็น "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" เป็นตำรวจของประเทศไทย

ทิ้งหมัดเข้ามุม
จ่าบ้าน
จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEUxTVRBMU5RPT0%3D&sectionid=TURNd05BPT0%3D&day=TWpBeE1pMHhNQzB4TlE9PQ%3D%3D

สมัยหนึ่งเมื่อเพลง "มาร์ชตำรวจ" ดังก้องขึ้นมา ปรากฏว่ามีผู้แปลงเนื้อร้องให้คนฟังทั่วไปรู้สึกขบขันและมองเห็นภาพความเป็น ตำรวจในยุคนั้นค่อนไปในทางเป็นจริง แต่กับตำรวจเอง โดยเฉพาะตำรวจที่ดี ฟังเพลงมาร์ชตำรวจแปลงแล้วได้แต่สมเพชตัวเองที่ "สนิมเกิดแต่เนื้อในตน" ทำให้บุคคลภาย นอกมองตำรวจว่าเป็นเช่นนั้น

(ขอโทษ) เช่นเนื้อตอนที่ว่า "ถึงใครจะตายก็ช่างมัน ให้กูได้อยู่ก็แล้วกัน" บางท่อนยังแรงกว่านี้

กระทั่ง "เป็นมิตรผู้ที่ผิดกฎหมาย เราอยู่ไหนประชาตกใจทั่วกัน"

เพลงแปลงมาร์ชตำรวจเมื่อก่อนนั้นฟังแล้วตัวตำรวจและญาติตำรวจอาจไม่สบอารมณ์

กาลเวลาผ่านไป ยุคสมัยผ่านมา ตำรวจรุ่นหลังเริ่มตระหนักถึงความเป็นตำรวจ รำลึกถึงภาระหน้าที่ เริ่มรู้สึกทั้งด้วยตัวเองและจากเพื่อนฝูงญาติพี่น้องว่าเขามองภาพความเป็น ตำรวจอย่างไร

โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากมิจฉาชีพ

แล้วตำรวจแต่ละคนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ตัวเองให้เป็นตำรวจในใจประชาชนขึ้นมาบ้าง

ขณะที่ตำรวจบางคนก็ยังมีพฤติกรรมดั้งเดิม ยังใช้ความเป็นตำรวจหาประโยชน์ให้ตัวเอง

ยิ่งมี "การเมือง" มีนักการเมืองเข้าไปยุ่งกับตัวตำรวจ วงการตำรวจก็ยิ่งระส่ำระสายหนักขึ้น

การวิ่งเต้นให้ได้อยู่ในตำแหน่งในท้องที่อันมีผลประโยชน์ตอบแทนที่ดี แลกกับผลประโยชน์ที่ต้องจ่ายให้นักการเมือง ให้ข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นลำดับขั้นยังไม่ลดหายไปจากวงการตำรวจไทย

แม้ขณะนี้เสียงนั้นยังคงมีอยู่บ้าง แต่ดูเหมือนว่า จะแผ่วลงไปมากแล้ว

เมื่อหัวขบวนส่ายไปในทิศทางที่ดี ตัวขบวน หางขบวนก็ยิ่งจะต้องส่ายไปในทิศทางที่ดีเช่นกัน

สองปีในตำแหน่งผู้บัญชา การตำรวจแห่งชาติ น่าจะเป็นสองปีที่ข้าราชการตำรวจทั้งผองช่วยกันลบภาพในอดีต และเริ่มสร้างภาพกับพฤติ กรรมใหม่ขึ้นมาให้สมกับเป็นตำรวจของประชาชน เป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นตำรวจของประเทศไทย ไม่ใช่ตำรวจของนักการเมือง

เป็นตำรวจที่ "ถึงตัวจะตายก็ช่างมัน ไม่เคยคำนึงถึงชีวันเข้าประจัญเหล่าร้ายเพื่อประชา..." ดังที่ตำรวจจำนวนไม่น้อยได้อุทิศตน "เพื่อประชา" มาแล้วไม่รู้กี่คนต่อกี่คน-ได้ไหมครับ ท่าน ผบ.ตร.

หน้า 6

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตำรวจไทยได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากล

ตำรวจไทยได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากล

ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/column/oversea/worldsky/297698

 
 
เสาร์วันนี้ 08.30-10.30 น. ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ พูด “การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสหกรณ์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” รับใช้คณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ในภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง และกรุงเทพฯพื้นที่ 1 และ 2 ที่โรงแรมเอวันครู๊ซ พัทยา จ.ชลบุรี

เสาร์วันนี้ 13.00 น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เชิญอธิบดีกรมตำรวจในภูมิภาคอาเซียน เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย รวมทั้งอดีตนายตำรวจอย่าง ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ เป็นเกียรติร่วมพิธีกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของข้าราชการตำรวจและนักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำพุทธศักราช 2555 ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม

วันอาทิตย์พรุ่งนี้ นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี และนายวิชัย แสงศรี ผอ.สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ พูด “ผู้ปกครอง ท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างไร” รับใช้บุคลากรทางการศึกษาของเขต 1,500 คน ที่หอประชุมสิริโพธิ์แก้ว สนง.เขตฯ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

พรุ่งนี้เป็นวันตำรวจ ในฐานะลูกตำรวจ ผมขอเขียนถึงตำรวจสักวันนะครับ ความสำเร็จในการปราบปรามยาเสพติดและอาช-ญากรรมของตำรวจไทยในปัจจุบัน ทำให้ยุคนี้เป็นยุคที่ตำรวจไทยได้รับการยอมรับจากวงการนานาประเทศมากที่สุด ยุคหนึ่ง เมื่อก่อนไม่เคยมีนะครับ ที่องค์การระดับนานาประเทศจะยอมรับตำรวจไทยขนาดเชิญไปบรรยายให้ผู้คนในแวดวง ระหว่างประเทศฟัง อย่างเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา สำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ที่มีชื่อย่อเรียกกันติดปากว่า UNODC เชิญ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ไปบรรยาย “ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ในการประชุมประจำปี ที่ศูนย์การประชุมของสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

คนที่มาฟังเป็นผู้คนในองค์กรจากองค์การระหว่างประเทศหลายองค์กร ทั้งของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดเอง ผู้แทนออสเตรเลียเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ที่เราเรียกชื่อย่อว่า AusAID ที่สำคัญก็คือองค์กรตำรวจสากล หรือ INTERPOL มูลนิธิศุภนิมิตสากล หรือ World Vision องค์กร UNICEF รวมทั้งตำรวจจากในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ที่มีมาจากทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ

แต่ก่อนง่อนชะไร ไม่ว่าตำรวจไทย หรือตำรวจชาติไหนๆ ก็จะใช้วิธีการปราบปรามเป็นหลัก แต่ในระยะหลังๆ ตำรวจในหลายประเทศหันมาสนใจการป้องกันโดยให้ตำรวจเข้าไปฝังตัวอยู่ในชุมชน รับใช้ให้บริการชุมชน อยู่กับชุมชนจนประชาชนผู้คนในชุมชนนั้นๆ เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจตำรวจ ตำรวจกับประชาชนไม่หวาดระแวงกัน ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาให้ชุมชน บั้นปลายท้ายที่สุด อาชญากรรมก็ค่อยๆ ทยอยลดลงไปเรื่อยๆ วิธีการอย่างนี้นี่แหละครับ ที่เรียกว่า Community Policing หรือ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

Community Policing ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลในมากมายหลายประเทศทั่วโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียนก็ได้ผล สำหรับมาเลเซียนั้น หลังจากใช้วิธีการตำรวจชุมชนเข้าไปปฏิบัติ สามารถลดอาชญากรรมได้ 60% ในสิงคโปร์ก็มีหลายเขตเอาหลักการตำรวจชุมชนเข้าไปดำเนินการ ในห้วงช่วง 2 ปีที่ Community Policing Unit ถูกนำไปปฏิบัติที่นั่น ก็ไม่มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นในเขตนั้นเลย

นอกจากเรื่องตำรวจชุมชนแล้ว ในห้วงช่วงขวบปีที่ผ่านมา ตำรวจไทยดังมากในเรื่องของการปราบปรามยาเสพติด การปราบปรามการค้ามนุษย์ และการร่วมมือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในภูมิภาค เมื่อก่อนนี้ ตำรวจไทยต้องยกโขยงไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ แต่ตอนนี้ สถานการณ์กลับกันครับ ตำรวจต่างประเทศ แม้แต่ตำรวจจากประเทศตะวันตก กลับสนใจใคร่ทราบว่า ตำรวจไทยทำงานอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ

ในฐานะที่ผมเกิดมาในขณะที่คุณพ่อ คือ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ พำนักพักอยู่ในบ้านพักตำรวจหลังเดียวกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.

ท่านปัจจุบัน ผมมีความเชื่อมั่นว่า แต่นี้ต่อไป คือยุคทองของตำรวจไทย ยุคที่ตำรวจไทยได้รับความเชื่อถือในระดับสากล ยุคที่ตำรวจไทยจะกลายเป็นต้นแบบของตำรวจของหลายประเทศในโลก เป็นยุคที่คนไทยจะได้ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่มีคุณภาพและคุณธรรม

พรุ่งนี้เป็นวันตำรวจไทย จะมีพิธีกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมมั่นใจว่าในยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็น ผบ.ตร. คำสัตย์ปฏิญาณทุกคำพูดจะเป็นจริงครับ.


คุณนิติ นวรัตน์

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รอง.ผบ.ตร.พร้อมคณะเยี่ยมชมกิจการ ตร.แห่งชาติแคนนาดา แลกเปลี่ยนและเรียนรู้การปราบยานรก และวิธีการสืบสวนแนวใหม่‏


ข่าวจากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/crime/160147
วันนี้ 10 ต.ค.2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี รอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป.และคณะ เดินทางเข้าพบ อธิบดีบ็อบ พอลสัน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแคนนาดา ที่อาคารรัฐสภา กรุงออตตาวา ประเทศแคนนาดา จากนั้นได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติแคนนาดา ที่กรุงออตตาวา ระหว่างวันที่ 1-12 ต.ค. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งเรียนรู้วิธีการสืบสวนสอบสวนแนวใหม่ พร้อมกันนั้นได้มีการประสานความร่วมมือในการทำงานระหว่างตำรวจของทั้งสองประเทศอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตำรับยาแก้'ติดยา'สูตร'ตร.ผู้รับใช้ชุมชน'

 

ตำรับยา...แก้ "ติดยา" สูตร "ตร.ผู้รับใช้ชุมชน" : สารพันตำรวจโดยทัศชยันต์ วาหะรักษ์ 

              ยาสมุนไพรแก้กษัย กินแล้วช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย เป็นยาตำรับโบราณอายุกว่า 150 ปี  "คุณตา" ของ ร.ต.อ.สมบุญ กลั่นทรัพย์ และ ร.ต.ต.ประธาน ศรีบรรเทา รองสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 5 (เพชรบูรณ์) กก.1 บก.ทล. นำมาใช้ปรุงเป็นยาขนานเด็ดบำบัดอาการผู้ติดยาเสพติดภายในชุมชนบ้านยางหัวลม หมู่ 7 ต.วังชมพู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้ผลชงัดสามารถบำบัดอาการติดยาให้แก่เยาวชนที่เข้าบำบัดรักษาได้หายราว ปลิดทิ้ง

              "สองเดือนก่อนผมกับหมวดประธานเข้ามาทำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนที่บ้านยาง หัวลม พบว่า ที่นี่มีปัญหาในหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด มีโอกาสได้พบกับ "เอ" เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ที่ต้องออกจากการเรียนกลางคันเพราะตกเป็นทาสของยาบ้า จึงได้ชวนมาพักด้วยที่ตู้ตำรวจทางหลวงริมถนนสระบุรี-หล่มสัก ช่วง กม.ที่ 198 โดย "เอ" สมัครใจที่จะบำบัดอาการติดยาด้วยวิธีการดื่มสมุนไพรแก้กษัยทุกครั้งที่มี อาการอยากยา ปรากฏว่าเพียง 10 วัน เด็กหนุ่มคนนี้ก็หายจากอาการติดยา และกลายเป็นเด็กที่น่ารักช่วยเหลืองานตำรวจอย่างดี" ร.ต.ต.สมบุญ บอกด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ

              ร.ต.ต.สมบุญ เล่าว่า หลังเข้ามาทำหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนที่บ้านยางหัวลม ได้รับการร้องขอจากชาวบ้านในพื้นที่ให้ช่วยแก้ปัญหาการติดยาเสพติดซึ่งกำลัง แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่น "นายเอ" เป็นหนึ่งในวัยรุ่นที่หลงผิดเสพยาบ้าตามเพื่อน เที่ยวเตร่ไม่สนใจการเรียนและนำเงินค่าขนมที่ได้จากพ่อและแม่ไปมั่วสุมเสพยา พ่อและแม่จึงร้องขอให้ช่วยบำบัดอาการติดยา ซึ่งตัวเขาก็ยินยอมจึงให้กินยาแก้กษัยทุกครั้งที่มีอาการอยากยา ตามตำรับยาโบราณอายุกว่า 150 ปีที่ได้รับมอบต่อมาจากคุณตา ซึ่งเป็นหมอยาโบราณ ยาดังกล่าวมีสรรพคุณในการช่วยถ่ายท้อง จนลืมอาการอยากยา ทำเช่นนี้อยู่นาน 10 วัน ก็จะไม่มีอาการอยากยาอีกเลย

              ขณะที่ "นายเอ" ยอมรับว่า วันแรกๆ ที่เข้ารับการบำบัดทุกครั้งที่มีอาการอยากยาจะมีอาการทุรนทุราย แต่พอกินยาแก้กษัยตามที่ ร.ต.ต.สมบุญ ให้กิน จะรู้สึกปวดท้องเข้าห้องน้ำจนลืมอาการอยากยา ทำเช่นนี้ซ้ำกระทั่งอาการอยากยาหายไป
 
              "ผมสงสารแม่ จึงตัดสินใจเข้ารับการบำบัดอาการติดยากับตำรวจทางหลวงที่เข้ามาทำโครงการ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนในพื้นที่ เพราะรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ รู้สึกเป็นมิตร ไม่ได้คิดจับผมดำเนินคดี เขาช่วยบำบัดให้ผมหายจากการติดยา เหมือนทำให้ผมได้ชีวิตใหม่ แล้วผมจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกและพร้อมจะช่วยงานตำรวจผู้รับใช้ ชุมชนเต็มที่เท่าที่ผมจะทำได้" นายเอ บอกถึงความตั้งใจ

              ขณะที่ นางสายฝน มารดาของนายเอ กล่าวยอมรับทั้งน้ำตาด้วยความปลาบปลื้มว่า ต้องขอบคุณตำรวจทางหลวงที่เข้ามาทำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนในพื้นที่บ้าน ยางหัวลม ไม่เช่นนั้นไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ที่ผ่านมาเกิดความทุกข์ เพราะลูกชายติดยาบ้าจนต้องเลิกเรียนกลางคัน แต่พอตำรวจทางหลวงช่วยเหลือโดยนำตัวมาพักอาศัยด้วยพร้อมทั้งบำบัดอาการติดยา เพียง 10 วัน บุตรชายก็กลายเป็นคนละคน จากที่เคยก้าวร้าวไม่เอางานเอาการกลับกลายเป็นคนใจเย็นขึ้นและช่วยเหลืองาน ของตำรวจอย่างเต็มที่ เห็นแล้วหายห่วง

              ด้าน นายชัยอนุชิต ม่วงน้อยเจริญ นายกอบต.วังชมพู ยอมรับว่า นับตั้งแต่ตำรวจทางหลวงนำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเข้ามาปฏิบัติในพื้นที่ บ้านยางหัวลม สร้างความยินดีให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่มาก เนื่องจากตำรวจเข้ามาอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง เข้ามาสอบถามสารทุกข์สุกดิบ รวมทั้งช่วยเหลือในทุกๆ เรื่องที่เป็นปัญหาเดือดร้อนของชาวบ้าน ทั้งนี้ ปัญหาการติดยาเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นเป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน เมื่อตำรวจเข้ามาช่วยในการบำบัดรักษาให้ก็ถือเป็นเรื่องดี หลังจากนี้คงมีเยาวชนอีกหลายคนที่พร้อมเข้ารับการบำบัดอาการติดยากับตำรวจ และคิดว่าตำรวจนำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้ เป็นการเดินถูกทางแล้ว และอยากให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำกันจริงจังในทุกพื้นที่

              พ.ต.อ.ไพรัช พุกเจริญ ผกก.1 บก.ทล. ให้ข้อมูลว่า ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้การบำบัดยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนไม่ได้ผล คือเมื่อหายจากการติดยาแล้วผู้เสพต้องกลับเข้าสู่สภาวะสังคมเดิมๆ ซึ่งอาจทำให้เยาวชนกลับเข้ากลุ่มเสพยาอีก หลังจากนี้ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนจะเข้าไปประสานกับคนในชุมชนเพื่อแก้ปัญหานี้

              ด้าน พ.ต.ท.วรวุฒิ คุณะเกษม รองผกก.5 บก.ป. เป็นตัวแทน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เดินทางไปติดตามความคืบหน้าการนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปใช้ในพื้นที่ บ้านยางหัวลมของตำรวจทางหลวงเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ดีใจที่ได้เห็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนสามารถทำให้เยาวชนหายจากการติดยาเสพติด และสามารถช่วยให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข หลังจากนี้คงมีการสานต่อขยายผลช่วยเหลือให้เยาวชนที่ติดยาเสพติดรายอื่นได้ รับการบำบัดและหวังว่าหลังจากนี้ปัญหาการติดยาเสพติดของกลุมวัยรุ่นในชุมชน แห่งนี้จะหมดไปโดยเร็ว

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ตำรวจ" พร้อมรับน้ำท่วม


พร้อมรับน้ำท่วม

จากคอลัมน์สหบาท หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/column/region/policeshine/296180

ยังผวากันถ้วนหน้าว่า มหาอุทกภัยครั้งใหญ่เหมือนปีก่อน จะกลับมาเยือนอีกหรือไม่

ปีนี้ องค์กรตำรวจ ถึงเริ่มตื่นตัวคึกคักพอสมควร ประเดิมด้วย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.จับมือ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์จัดนักโทษชั้นดีระดมช่วยกันลอกท่อระบายน้ำทั่วกรุงป้องกัน น้ำท่วมขัง

นำเอาปัญหาปีที่ผ่านมาเป็นบทเรียนปรับปรุงแก้ไข

ส่วน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. นำร่องโครงการ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน กำชับ พล.ต.ต.บุญสืบ ไพรเถื่อน ผบก.รน. หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินทางน้ำ เตรียมแผนรับมือโดยใช้ “โมเดล” เมื่อปี 2554 เป็นต้นแบบ

ตั้งศูนย์ “ศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย กองบังคับการตำรวจน้ำส่วนหน้า” ที่ห้างสรรพสินค้า อยุธยาปาร์ค จ.พระนครศรีอยุธยา

นอกจากนี้ ยังมี “แผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ กรณีเกิดอุทกภัยและวาตภัยทางน้ำ” (ศภน.รน.55) จัดกำลังเป็นโซน แบ่งเป็น 8 เขต ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ กำหนดให้แต่ละกองกำกับรับผิดชอบแผนพร้อมสำหรับค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในทุกพื้นที่เสี่ยงที่จะมีฝนตกหนักบริเวณ กว้างจนเป็นเหตุให้มีน้ำป่าไหลหลาก

มีอาสาสมัครสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมและชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วทางน้ำ อีก 58 คน ที่ล้วนผ่านการอบรม และผ่านการ ฝึกภาคปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การช่วยชีวิต วิธีการปฐมพยาบาล และการขนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บคอยออกช่วยเหลือผู้ประสบภัย

สำหรับกำลังพลและอุปกรณ์ ในแต่ละพื้นที่จะใช้ชุดปฏิบัติการใต้น้ำ 90 นาย เรือยาง 20 ลำ รถบรรทุกใหญ่ 3 คัน รถปิกอัพ 10 คัน และเสื้อชูชีพ 1,000 ตัว สามารถปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ชาวบ้านที่เดือดร้อนสามารถขอความช่วยเหลือที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2384-2342 หรือสายด่วน 1196 ตลอด 24 ชั่วโมง

ตำรวจน้ำพร้อมเดินทางไปรับใช้ให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

จะได้ไม่มีข้อครหาว่า ฝนตกน้ำท่วมทีไร ตำรวจหายตัวทุกที.


สหบาท

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.บรรยายพิเศษทฤษฎีตร.ผู้รับใช้ชุมชน

ผบช.ก.บรรยายพิเศษทฤษฎีตร.ผู้รับใช้ชุมชน

 
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555 เวลา 16:30 น.

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ได้เดินทางไปบรรยายเรื่องทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน หรือ Community Policing ในการประชุมประจำปีของ UNODC (สำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก) ณ ศูนย์การประชุม องค์การสหประชาชาติ โดยมีผู้บริหารของ UNODC ให้การตอบรับ
สืบเนื่องจาก องค์การสหประชาชาติ โดย UNODC  ได้ติดตามการทำงานของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์  ที่ได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มาใช้ในประเทศไทย โดยเห็นว่า กำลังเดินมาถูกทาง จึงได้ประสานความร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในภูมิภาค นี้ ซึ่ง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์  ได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ  ขณะนี้ UNODC อยู่ระหว่างผลักดัน ให้ความรู้เรื่องทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน UNODC เองและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะตำรวจในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ได้กล่าวถึงทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนว่า เป็นทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความเชื่อว่าความร่วมมือของตำรวจและสุจริตชนใน ชุมชน จะสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมส่วนใหญ่ได้ จุดเด่นของตำรวจผู้รับใช้ชุมชนคือ การเข้าไปฝังตัวเพื่อรับใช้ให้บริการประชาชน จนกระทั่งประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ตำรวจกับประชาชนไม่หวาดระแวงซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ชุมชน ท้ายสุดอาชญากรรมก็จะค่อยๆ ลดลงเอง

ผบช.ก. กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ได้พิสูจน์มาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำมาใช้แล้วหลายประเทศและสามารถลดอาชญากรรมได้ เช่น ในมาเลเซีย สามารถลดอาชญากรรมได้ 60% ในประเทศสิงคโปร์ ไม่มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นในเขตรับผิดชอบเป็นเวลาประมาณ 2 ปีแล้ว ในขณะที่สถิติอาชญากรรมของประเทศไทยสูงขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตนจึงพยายามผลักดันให้นำมาใช้ในประเทศไทย ปัจจุบัน บช.ก. ได้ดำเนินการทั่วประเทศกว่า 150 ชุมชน ผลสำรวจยืนยันว่าประชาชนพึงพอใจและอาชญากรรมในชุมชนส่วนใหญ่ลดลง  เชื่อว่าหากขยายผลไปใช้ทั่วประเทศ ก็จะช่วยให้อาชญากรรมในประเทศไทยลดลงได้

ขอบคุณข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ครับ