จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555



ถอดสาระสำคัญจากรายงาน
ผลการปฏิบัติงานโครงการ "ตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชน" (Community Policing)
กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จัดทำโดย
คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลโครงการ ตำรวจกองปราบรามผู้รับใช้ชุมชนของกองบังคับการปราบปราม

พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ 2
- พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เป็นผู้บุกเบิกนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน และทฤษฎีหน้าต่างแตกมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานตำรวจไทย

- เมื่อครั้ง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ครองยศ พล.ต.ต. ตำแหน่ง ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (ผบก.ป.) ได้กำหนดให้ กก. 1-6 และกก.ปพ.บก.ป. ทำ
โครงการตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)

- มีการฝึกอบรมหลักสูตรให้ตำรวจผู้ปฏิบัติ

- ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ 3 เดือน (กันยายน - พฤศจิกายน 2550)

- ตั้งศูนย์ 24 ชั่วโมง ในชุมชน 7 แห่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล คือ
ชุมชนซอยลาดพร้าว 21  ถ.ลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร
ชุมชนสหกรณ์ 93 
แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก
ชุมชนวัดบางน้ำชน  ถ.เจริญกรุง แขวงบุคคโล เขตธนบุรี
ชุมชนประชาร่วมใจ หลังสถานีรถไฟบางเขน เขตจตุจักร
ชุมชน
เป็นสุข ซ.อินทามะระ 10 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
ชุมชนซอยสวนเงิน ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราช
เทวี
ชุมชนซอยดรุณ แขวงและเขตดินแดง

- พ.ต.อ.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ รอง ผบก.ป. (ยศตำแหน่งในขณะนั้น) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล
โครงการตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชนของกองบังคับการปราบปราม

- เอกสารชิ้นนี้เป็นผลการปฏิบัติการอิงหลักวิชาการจัดทำรายงานเพื่อรวบรวม
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้อมูล ข้อเท็จจริง และผลการปฏิบัติ

- ทฤษฎีหลักๆที่นำมาประยุกต์ใช้ คือ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ทฤษฎีหน้าต่างแตก และทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
- ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นผู้นำทฤษฎีควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อมเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเพื่อให้นำหลักการวางผังเมืองมาประยุกต์
ใช้ คำนึงถึงความสำคัญของการป้องกันและคาบคุมอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย

- โครงการนี้มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจแนวคิด ปรัชญา และหลักการปฏิบัติงานตำรวจ ลักษณะที่มุ่งผลสำเร็จต่อการลดความหวาดระแวงของ
ประชาชน พร้อมกับลดจำนวนคดีอาชญากรรมในคราวเดียวกัน

- เป็นงานปลูกฝังวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ "งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ที่มีคุณประโยชน์ต่อชุมชน สถาบันตำรวจ และสังคมโดยรวม
- เป็นแนวทางตำรวจเชิงรุก (Proactive Policing)

- แนวทางแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลดี คือ การมุ่งเน้นการป้องกัน มากกว่า การปราบปรามอาชญากรรม

- แนวคิดเดิม "ประชาชนช่วยตำรวจ" เปลี่ยนเป็น "ตำรวจช่วยประชาชน"

- งาน ป้องกันบางทีไม่น่าสนใจเท่างานปราบปรามเพราะอยู่เบื้องหลัง สู้มือปราบไม่ได้ทำงานเดียวก็ดัง แต่มือป้องกันทำงานอยู่หลายปี ยังไม่ค่อยมีใครถามถึง  

- ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์นั้นแตกต่างกัน

- ปัญหาที่จอดรถ ขยะ หนู ท่อน้ำอุดตัน ก็เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมตามโครงการนี้ด้วย

- ความสำเร็จขึ้นอยู่กับประชาชน ไม่ใช่ความเก่งกาจของตำรวจ

- ความสำเร็จระดับสูงสุด คือ ประชาชนในชุมชนไม่มีความหวาดระแวงภัยอาชญากรรม เนื่องจากประชาชนในชุมชนร่วมมือป้องกันอาชญากรรมได้ด้วย
ชาวชุมชนเอง โดยมีตำรวจเป็นแกนหรือคอยช่วยเหลือสนับสนุน

- ถึงแม้ระยะเวลาการดำเนินการสั้นๆ ยังไม่สามารถสรุปผลหรือหาข้อยุติได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นประโยชน์มากในการเรียนรู้ทำความเข้าใจผู้ปฏิบัติ
และผู้เกี่ยวข้อง

- ผลสำเร็จหนึ่งของโครงการทำให้คนในชุมชนเกิดความไว้วางใจแจ้งข้อมูลเบาะแสยาเสพติดจนนำไปสู่การจับกุมได้จำนวนหนึ่ง

- จากการตรวจสอบข้อมูลคดีอาชญากรรมจากตำรวจท้องที่พบว่า ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการไม่มีเหตุอาชญากรรมร้ายแรงในรอบ 3 เดือนที่เข้าไปดำเนิน
โครงการ
- สมควรที่จะนำไปเป็นประยุกต์เป็น "ตัวแบบ" (Model) ในการป้องกันอาชญากรรมของตำรวจไทย ในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 เพื่อประชาชนในชุมชนอื่นๆทั่วประเทศต่อไป

- ยุติธรามสมานฉันท์ (Restorative Justice) และยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ล้วนสอดรับหรือเป็นแนวทางเดียวกับตำรวจผู้รับใช้ชุมชนทั้งสิ้น รวมทั้ง
ยังสอดรับ กับแรวคิดชุมชนเข้มแข็ง หรือพลังแผ่นดินต่อต้านยาเสพติด หรือแม้กระทั่งแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีวัตถุประสงค์ให้ครอบครัว ชุมชน พึ่งพาตนเองได้

- การป้องกันต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมในชุมชน ประกอบกับ งานจับกุมปราบปรามต่างหากที่จะเป็นคำตอบของความสำเร็จในการทำงานตำรวจ
- ความเป็นจริงที่ดำรงอยู่กับวงการตำรวจบ้านเราในปัจจุบัน ย่อมไม่ใช่เรื่องปุบปับที่ทำได้ง่ายๆ หรือทำได้เร็วๆอย่างที่ใจต้องการ
- การเปลี่ยนแปลงโดยเหมาะควร ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างและปลูกฝังความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องก่อน จึงเกิดการปฏิบัติ และผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

..........LL..........

ไม่มีความคิดเห็น: