จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนคุณหญิงส้มจีน โดย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.


 http://www.thairath.co.th/images/global/header/logo_print.jpg 
17 มิถุนายน 2555

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เป็นประธานเปิดโครงการ “คืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ประชาชน” ที่ชุมชนคุณหญิงวัดส้มจีน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยในการเปิดครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ( United Nation Office on Drugs and Crime - UNODC) เข้าร่วมสังเกตการณ์
Pic_269107

 ผบช.ก.เป็นประธานเปิดพร้อมกัน40จุดแก้ไขอาชญากรรมฯ

ตำรวจทางหลวงจัด โครงการใหญ่ เปิดโครงการ “คืน ชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ประชาชน” พร้อมกัน 40 ชุมชน 40 จังหวัดทั่วประเทศ โดย นายพลเจ้าของหลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน “พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์” ผบช.ก.ไปเป็นประธานเปิดโครงการด้วยตัวเอง ที่ชุมชนคุณหญิงวัดส้มจีน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ผบช.ก.เปิดโครงการ คืนชุมชนสีขาวให้สังคม พร้อมกัน 40 ชุมชน 40 จังหวัด โดยเมื่อเวลา11.00น. วันที่ 17 มิ.ย. ที่ทำการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ชุมชนคุณหญิงวัดส้มจีน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. และ พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา ผบก.ทล. เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน CPO ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมกันทำพิธีเปิดโครงการ “คืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง ภายใต้หลักการตำรวจผู้รับใช้ประชาชน” โดยสถานีตำรวจทางหลวงทั่วประเทศได้ทำพิธีเปิดโครงการในพื้นที่ 40 ชุมชนพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ 10 ปี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในยุทธศาสตร์ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายการปฏิบัติงานของตำรวจ โดยทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) และเพื่อให้เป็นโครงการนำร่องให้ตำรวจและชุมชนได้เรียนรู้ศึกษาต่อไป

ผบช.ก.กล่าว ว่า โครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของประชาชนในชุมชนที่จะร่วมกันป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมปัญหายาเสพติด ปัญหาเด็ก และสตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศและการทารุณกรรม ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และสภาพความไร้ระเบียบ และความเสื่อมโทรมทางสังคมในชุมชนเป้าหมาย เป็นการนำหลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน หรือ Community Policingที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วทั่วโลกว่าสามารถลดความหวาดกลัว ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และยังทำให้อาชญากรรมลดลงอีกด้วย โดยใช้วิธีส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรตำรวจผู้รับใช้ ชุมชน (Community Policing Officers) เข้าไปใช้ชีวิต ฝังตัวอยู่ในชุมชน เพื่อบริการ แก้ไขปัญหา ปกป้อง คุ้มครองชุมชน เรียนรู้กันและกันระหว่างตำรวจและชุมชน สร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ สุดท้ายร่วมกันลงมือลงแรงแก้ปัญหา พัฒนาชุมชนด้วยกัน

พล.ต.ท.พงศ์ พัฒน์กล่าวต่อว่า ตำรวจได้ค้นพบการแก้ปัญหาอาชญากรรมมานานแล้ว และพยายามทำหลักการดังกล่าวให้เป็นหลักการที่ตำรวจ และประชาชนทำงานร่วมกัน เป็นงานเชิงรุกของตำรวจ และได้ทดลองมาหลายครั้งจนแน่ใจว่าใช้ได้ในการแก้ปัญหาอาชญากรรม จึงถึงเวลาแล้วที่โครงการดังกล่าวจะได้แพร่หลายให้ทั่ว มีเป้าหมายให้ยาเสพติดในชุมชนลดลง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย และรู้จักทางเดินที่ดีในหลักประชาธิปไตย ก่อนหน้านี้ บช.ก.ได้จัดฝึกอบรมเฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (CPO) เพื่อปรับแนวความคิด เสริมสร้างให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามแนวทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนอย่าง ถ่องแท้ เข้าใจหลักปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ตรงตามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และกองบังคับการตำรวจทางหลวง

สำหรับความ เป็นมาของโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่ชุมชนวัดบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย โดย พ.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ยศในขณะนั้น เป็นหัวหน้าสถานีตำรวจบางขุนนนท์ ได้เชิญที่ปรึกษาจากต่างประเทศร่วมวางแผนจัดทำ และตั้งศูนย์ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนในชุมชนโดยส่งตำรวจผู้รับใช้ชุมชน 2 นาย เข้าไปฝังตัว ทำหน้าที่รับใช้ชุมชน ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี 8 เดือน ได้รับเสียงตอบรับดีมาก ชาวบ้านทั้งหมดอยากให้โครงการนี้มีต่อไป และยืนยันว่าตำรวจเพียง2นาย ทำให้พวกเขามีความปลอดภัยมากกว่าตำรวจทั้งโรงพัก

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ , หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น: