จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กองปราบสานอนาคต "เด็กไทย" รู้ป้องภัย ห่างไกลอบาย


วันศุกร์ ที่ 24 มิถุนายน 2554

ปัญหาเด็กและเยาวชนไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้นั้นพูดได้คำเดียวว่า "(น่า)ห่วง" ยกตัวอย่างปัญหา "ยาเสพติด" ซึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ นพ.วิโรจน์ วีรชัย ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยข้อมูลการสืบสวนของตำรวจปราบปรามยาเสพติดว่า จ.สิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ภาคกลางที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่าง รุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน

สถิติ ระบุว่า 3 ปีที่ผ่านมา เยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี ติดยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นมากหากเทียบกับกลุ่มอายุอื่น โดยปี 2551 เยาวชนกลุ่มนี้ติดยาไม่ถึง 1% ปี 2552 เพิ่มเป็น 4% ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 7% และช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึง มีนาคม 2554 เพิ่มเป็น 12%

เดิมตัวเลขเยาวชนติดยาเสพติดประมาณ 1.2 แสนคน แต่ในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 5% หรือราว 6 พันคน

ยาเสพติดที่เยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีติด คือ ยาบ้า ประมาณ 80% ที่เหลือเป็น
ยาไอซ์และยาเสพติดประเภทอื่น โดยยาไอซ์เป็นยาเสพติดที่วัยรุ่นมีแนวโน้ม
เสพ
มากขึ้น

ส่วนสาเหตุหลักของการติดยาเสพติดในหมู่วัยรุ่นนั้นมาจากการอยากลอง เริ่มจากทดลองดื่มสุราและสูบบุหรี่

ล่าสุดนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่นน่าเป็นห่วง หลังดำเนินการบำบัดผู้ติดยาไปแล้วกว่า 5 หมื่นคน และพบกลุ่มเด็กวัยรุ่นช่วงอายุ 7-17 ปี ใช้สารเสพติดมากขึ้นถึง 129 เท่าตัวในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา

"กลุ่ม ที่น่าเป็นห่วงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือวัยรุ่นอายุ 7-17 ปี พบว่ามีการใช้สารเสพติดมากขึ้น ในปี 2554 มีเข้ารับบำบัด 6,701 คนหรือ
ร้อย ละ 12 ของผู้เข้ารับการบำบัดโดยเพิ่มขึ้น 129 เท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 ซึ่งมีเพียง 52 คน หรือร้อยละ 0.09 ของผู้รับบำบัดทั้งหมด" นายจุรินทร์ กล่าว

สอดคล้องกับข้อมูลนักสูบหน้าใหม่ ซึ่งเป็นเยาวชน อายุ 15-24 ปี วัยรุ่นกลุ่มนี้
มีอัตราเป็นนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีอยู่ 1.6 ล้านคน เป็น 1.67
ล้านบาท คือ เพิ่มขึ้นกว่า 7 หมื่นคน

อีกตัวอย่างคือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรพบสัดส่วนแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี
ใน รอบ 50 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 5.6% ในปี 2501 เพิ่มเป็น 15.5% ในปี 2551 โดยเฉพาะกลุ่มแม่วัยรุ่นอายุ 10-14 ปี มีอัตราการคลอดบุตรเพิ่มมากขึ้น

เหล่า นี้คือตัวอย่างปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในหมู่เยาวชนไทยที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ เห็นมีพรรคการเมืองพรรคใดหยิบยกมาเป็นนโยบายที่จะเร่งแก้ไข จะมีก็แต่
ตั้งกองกำลังการปราบยาเสพติด หรือในเรื่องการศึกษาก็เน้นเรื่องทุนและวัตถุมากกว่า เช่น เรียนฟรี แจกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เชื่อ ว่ามีหลายภาคส่วนทราบถึงปัญหาและกำลังช่วยกันป้องกันแก้ไข เพียงแต่ช่วงนี้อาจจะต้องโฟกัสไปที่ "การเมือง" ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญในการกำหนด
ทิศทางการแก้ไขปัญหา แต่ละหน่วยจึงชะงักรอดูทิศทางลมกันก่อน

แต่ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้ ตำรวจกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นำโดย พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.5 บก.ป. พ.ต.ท.อภิชัย ดุษฎีพฤฒิพันธุ์ รอง ผกก.5 บก.ป. และพ.ต.ท.ศตยุ ไชยสุวรรณ สว.กก.5 บก.ป. ได้เริ่มต้นนับหนึ่งแล้วที่โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อ.เมือง จ.นครปฐม



"โครงการกองปราบสานอนาคต" เป็นชื่อที่ตำรวจกองปราบปรามตั้งขึ้นเพื่อ
สื่อให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนซึ่งจะเติบ
โตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติใน
อนาคต ซึ่งได้เริ่มปฐมนิเทศผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ 2 ของโรงเรียนดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา




หลังจากนั้นก็จะมีทีมวิทยากรตำรวจที่มีประสบการณ์ไปบรรยายให้ความรู้เด็กๆอย่างสม่ำเสมอ โดยช่วงท้ายโครงการจะมีการประเมินผลด้านต่างๆ





พ.ต.อ.อธิป เปิดเผยว่า กองปราบสานอนาคตเป็นโครงการที่สานต่อโครงการต่างๆที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ได้ริเริ่มไว้ ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ตำรวจกลับหลังหัน ตำรวจยุคใหม่ไม่ทำผิด ซึ่งมีการต่อยอดโดยนำไปเผยแพร่ให้ความรู้กับชุมชนต่างๆ มีการจัดนิทรรศการให้กับบรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยหลายแห่ง รวมทั้งโครงการอุเทนฯ-ปทุมวันโมเดล

"โครงการ นี้เป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน ช่วงวัยรุ่นตอนต้น โดยยึดแนวคิดการป้องกันอาชญากรรมในอนาคต ผสมผสานกับหลักปฏิบัติเรื่องจิตวิทยาวัยรุ่นเพื่อให้เด็กได้รู้วิธีการในการ ปฏิบัติตนเมื่อประสบกับปัญหาต่างๆ ทำอย่างไรเมื่อพบกับสิ่งยั่วยุ หรือพบอาชญากรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้าจะทำอย่างไร" พ.ต.อ.อธิป กล่าว

และว่า ในอนาคตเมื่อเด็กๆพบกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติดเขาจะสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ถูกวิธี และไม่ตกอยู่ในอบาย





ไม่ว่าผลการดำเนินการโครงการนี้จะเป็นอย่างไรแต่อย่างน้อยตำรวจกลุ่มนี้ก็นำ "นโยบาย" มาเริ่ม "ทำ" แล้ว และหวังว่าโครงการที่มีประโยชน์ต่อเด็กและ
เยาวชนลักษณะนี้จะมีโอกาสขยายไปยังโรงเรียนอื่นๆต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: