จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

"พงศ์พัฒน์"เดินหน้านโยบาย "5 ทฤษฎี 1 หลักการ" ลดหวาดระแวงของประชาชน

"พงศ์พัฒน์"เดินหน้านโยบาย "5 ทฤษฎี 1 หลักการ" ลดหวาดระแวงของประชาชน

Pic_253107 “หยุด...กลับหลังหัน เริ่มต้นใหม่ เพื่อการรับใช้ที่ดีกว่า” เป็นนโยบายสำคัญของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ทันทีที่เข้ามารับตำแหน่ง ผบช.ก.

จากประสบการณ์ในชีวิตตำรวจที่ผ่านทั้งงานสืบสวน สอบสวน สายตรวจ   ได้รับความไว้เนื้อ เชื่อใจทำงานร่วมกับหน่วยงานตำรวจสำคัญในต่างประเทศ ได้เห็นระบบการทำงานที่ทันสมัย พยายามคิดหาวิธีการเพื่อปรับเปลี่ยนให้ตำรวจไทยเป็นที่ยอมรับ ได้เรียนรู้ ได้คิด ได้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นสากล ไม่ทำลายองค์กรตำรวจ

จนเข้ามา รับตำแหน่ง ผบช.ก.ได้ประกาศนโยบาย “ตำรวจกลับหลังหัน” หรือ Turn   around ซึ่งเป็นการทำงานของตำรวจยุคใหม่ ที่ศึกษามาจากแนวคิดของ Willian Bratton อดีตผู้บัญชาการตำรวจลอสแอนเจลิส ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากวงการตำรวจว่า เป็นตำรวจที่เก่งที่สุดในรอบ 100 ปี

เป็นเครื่องสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของตำรวจเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคนี้

จากนโยบาย “ตำรวจกลับหลังหัน” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ แต่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ต้องการสื่อสารตำรวจต้องเลิกทำในเรื่องที่ทำผิดๆ ตั้งแต่วิธีคิด วิธีปฏิบัติ จนถึงเป้าหมายของงานตำรวจ

แล้วหันมาทำในสิ่งที่ถูกต้องตามแนวทางที่ เป็นสากล ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเขาคิดและทำกัน

เคย มีการศึกษาวิจัยกันมานานแล้วว่า การที่ตำรวจมุ่งลดอาชญากรรมโดยใช้การจับกุมและใช้ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ไม่เคยทำให้อาชญากรรมลดลง

แต่การทำงานตามแนวทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ ชุมชน (Community Policing) ที่มุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างตำรวจกับประชาชน จนเกิดการร่วมมือกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนและประชาชน ที่สำคัญคือมุ่งลดความหวาดระแวง จะทำให้อาชญากรรมค่อยๆลดลงได้เอง

หาก ต้องการให้อาชญากรรมลด สังคมสงบสุข ตำรวจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติและเป้าหมาย โดยเปลี่ยนเป้าหมาย จากมุ่งจับกุมเพื่อลดอาชญากรรม เป็นมุ่งลดความหวาดระแวงภัยของประชาชน (Fear Reduction) เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ

จากเดิมที่ตำรวจเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายไป สู่ประชาชน (Top Down) เปลี่ยนเป็นรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชน แล้วนำมากำหนดเป็นนโยบาย (Bottom Up) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน

ใน การปฏิบัติของตำรวจ ถ้าเรามุ่งที่จะจับกุม มุมมองของตำรวจต่อประชาชน จะเป็นไปในลักษณะผู้ที่คอยจับผิด ประชาชนมองตำรวจด้วยความหวาดระแวงไม่ไว้ใจ เพราะเจอตำรวจอาจถูกจับ ตำรวจถูกกดดันจากนโยบายที่วัดผลงานจากสถิติจับกุมทำให้ต้องหาทางจับกุมให้ ได้มากๆไม่คำนึงว่าอะไรคือความต้องการหรือปัญหาที่ประชาชนอยากให้ตำรวจช่วย เหลือ ทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับประชาชน ตลอดจนจับผิดตัว

ทุก วันนี้ตำรวจกับประชาชน มีโอกาสเจอกันตอนที่เกิดเรื่อง หรือประชาชนทำความผิด ทำให้ตำรวจและประชาชนห่างกันออกไปเรื่อยๆ ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึงเป็นเรื่องที่ตำรวจต้องรีบแก้ไข เพราะทำไปแล้วประชาชนก็ไม่รัก อาชญากรรมก็ไม่ลด แก้ปัญหาก็ไม่ได้

จึงไม่แปลกที่นโยบาย บช.ก.ในยุคนี้ เน้นเป้าหมายเพื่อลดความหวาดระแวงภัยของประชาชน โดยให้ประชาชนเกิดความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัย เมื่อเดินในสถานที่เปลี่ยว ในเคหสถาน ในการใช้ชีวิตประจำวัน ฯลฯ สำหรับวิธีการมุ่งสู่เป้าหมาย ต้องใช้หลักการทำงานของตำรวจสมัยใหม่

ประกอบ ด้วย 5 ทฤษฎี กับ 1 หลักการ คือ 1.ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforce-ment Approach) โดยการทำหน้าที่จับผู้ร้าย 2.ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์  (Police Community  Relations) โดยทำหน้าที่เป็นเพื่อนของชุมชน  3.ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ 4.ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม (C.P.T.E.D.) โดยทำหน้าที่เป็นนักวางแผนป้องกัน 5.ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตราความเรียบร้อย

1. หลักการพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชน (C.O.P.P.S) โดยทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์และแก้ปัญหาการทำงานของตำรวจตามแนวทางดังกล่าว จะทำให้ตำรวจไม่ใช่หน่วยงานที่คอยแต่จะมุ่งหน้าจับกุมถือเป็นการเปลี่ยนโฉม หน้าองค์กรตำรวจ...

สอดคล้องแนวคิด พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.ที่หาระบบที่ดีเพื่อให้งานตำรวจมีประสิทธิภาพจากหน่วยงานบังคับใช้ กฎหมายเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองและให้บริการ (Protect and Serve) ซึ่งเป็นหัวใจที่แท้จริงของตำรวจ หากทำได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวทาง 5 ทฤษฎี กับ 1 หลักการ ตำรวจจะทำงานอยู่กับประชาชน ได้รับข้อมูลข่าวสาร และปัญหาโดยตรงจากประชาชน ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างตรงตามความต้องการของประชาชน

การ เปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลา หากเปลี่ยนได้ใน 5 ปี 10 ปี ถือว่าเร็วมาก ยิ่งการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตำรวจยิ่งยากเป็นพิเศษ ต้องเจอการต่อต้านต่างๆมากมาย แต่ก็ต้องทำ เพราะหากไม่เริ่มลงมือเปลี่ยนแปลงกันตั้งแต่วันนี้ ยังคงใช้วิธีการแบบเดิมๆ ทำกันมาอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้น

หากตำรวจเลือกทำเพียงหน้าที่เดียว คือ การบังคับใช้กฎหมาย สถานการณ์ก็คงเป็นอย่างทุกวันนี้ ไม่มีอะไรดีขึ้น ยังไม่เห็นทางออก สุดท้ายองค์กรตำรวจอาจไปไม่รอด

แต่หากพวกเราช่วย กันคนละไม้คนละมือ ศึกษาและตั้งใจนำความรู้ตำรวจสมัยใหม่ไปใช้อย่างจริงจัง ทำหน้าที่ครบทั้ง 6 ด้าน ตามแนวทาง 5 ทฤษฎี กับ 1 หลักการ จะทำให้ตำรวจสามารถทำงานอยู่กับประชาชน ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารและปัญหาโดยตรงจากประชาชน สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างตรงตามความต้องการของประชาชน ที่สำคัญจะทำให้ความหวาดระแวงของประชาชนลดลง แล้วอาชญากรรมจะลดลงตาม ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างแท้จริง สังคมจะมีความสุข ตำรวจก็จะมีความสุข ไม่ต้องทุกข์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ย้ำกับ “ทีมข่าวอาชญากรรม” ว่า “นโยบายตำรวจกลับหลังหัน ตำรวจทั่วไปมักเข้าใจว่า หมายถึงเฉพาะเรื่องผลประโยชน์  แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการสื่อให้ตำรวจทั่วไปได้รู้ว่า เราจะต้องเลิกทำในเรื่องที่ทำผิดๆอยู่  ตั้งแต่วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ตลอดจนถึงเป้าหมายของงานตำรวจ แล้วหันมาทำในสิ่งที่ถูกต้อง คือ ถูกต้องตามแนวทางที่เป็นสากล ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกเขาคิด เขาทำกัน เช่น คิดว่างานตำรวจคืองานจับกุม การจับกุมมากๆ เป็นเรื่องดี จับกุมมากสังคมจะสงบสุข”

“หรือใช้วิธี การป้องกันแบบจัดสายตรวจตระเวนเซ็นตู้แดง หรือไม่ก็ออกตรวจโดยไม่มีข้อมูล แล้วหวังว่าเหตุร้ายจะไม่เกิด หรือการทำงานแบบคอยเหตุ (Reactive) คือรอให้เหตุเกิดก่อนแล้วจึงระดมกันสืบสวนหลังเกิดเหตุ  เพื่อติดตามจับกุมคนร้ายมาลงโทษให้ได้ โดยเชื่อว่าสามารถลดอาชญากรรมได้ แต่แนวคิดเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ตำรวจคิดเอง ไม่ใช่ความจริง ซึ่งจริงๆแล้วมีการศึกษาวิจัยยืนยันแล้วว่าวิธีคิดและวิธีการที่ทำกันมา ไม่เคยลดอาชญากรรมได้ ไม่เคยมีประเทศไหนในโลกสามารถลดอาชญากรรมได้ด้วยวิธีการเหล่านี้เลย สรุปว่าตำรวจตั้งใจทำงานอย่างเต็มกำลัง ตรากตรำ แต่กลับถูกสังคมตำหนิ สรุปว่าเหนื่อยเปล่า   นี่ก็เพราะวิธีการที่เราใช้ยังไม่ถูก”

เป็น นโยบายสำเร็จรูปที่ได้มาจากประสบการณ์ และทฤษฎีของตำรวจสากลที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ คาดหวังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจเพื่อประโยชน์อย่างแท้จริงต่อพี่ น้องประชาชน

แม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่อย่างน้อยก็ได้คิดทำเพื่อช่วยประคับประคองนาวาตำรวจที่นับวันยิ่งผุกร่อนลงไป.

ทีมข่าวอาชญากรรม

ไม่มีความคิดเห็น: