จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กองปราบ นำร่อง “ทฤษฎีตำรวจยุคใหม่”

กองปราบ นำร่อง  “ทฤษฎีตำรวจยุคใหม่”
กองปราบปราม พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป.กล่าวว่า รับมอบหมายจาก พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. ให้จัดการสอนทฤษฎีตำรวจยุคใหม่ให้แก่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการปราบปราม ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ที่ต้องการถ่ายทอดความเข้าใจใหม่ใน


(21 พ.ค.55) กองปราบปราม พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป.กล่าวว่า รับมอบหมายจาก พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. ให้จัดการสอนทฤษฎีตำรวจยุคใหม่ให้แก่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการปราบปราม ตามนโยบายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ที่ต้องการถ่ายทอดความเข้าใจใหม่ในการปราบปรามอาชญากรรมตามนโยบายตำรวจ “กลับหลังหัน”
     
       พ.ต.อ. อธิปกล่าวว่า อดีตถึงปัจจุบันตำรวจไทยใช้แนวทางการทำงาน มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายเป็นหลัก พยายามจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้จำนวนมาก แต่วิธีดังกล่าวไม่สามารถลดอาชญากรรมได้ ต่อมาตำรวจเริ่มมองเห็นความจริงว่าการทำงานเพียงลำพังโดยปราศจากความร่วมมือ จากประชาชน ไม่อาจทำให้งานตำรวจประสบความสำเร็จได้ ต่อมาในปี 2531 ตำรวจไทยจึงใช้แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย ควบคู่กับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ แต่ยังไม่สามารถทำให้อาชญากรรมลดลงได้ ตรงกันข้าม อาชญากรรมในประเทศไทยยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง ภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาประชาชนยังไม่ดี ตำรวจยังคงมีต้นทุนทางสังคมต่ำอยู่เช่นเดิม สะท้อนให้เห็นว่าทิศทางการทำงานของตำรวจไทยกำลังเดินไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
     
       พ.ต.อ. อธิปกล่าวว่า ตำรวจไทยไม่ใช่เป็นตำรวจประเทศเดียวที่ประสบปัญหา แต่ตำรวจในประเทศที่ใช้แนวทางการทำงาน มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายเป็นหลักจะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหานี้เกิดขึ้นกับตำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อศตวรรษที่ 19 ที่ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จับกุมผู้กระทำผิดในพื้นที่ต่างๆ ได้จำนวนมาก แต่อาชญากรรมไม่ลดลง ต่อมามีการศึกษาวิจัยหาแนวทางการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ กระทั่งค้นพบ Community Policing หรือทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นทฤษฎีที่พลิกโฉมหน้าวงการตำรวจของสหรัฐอเมริกาและวงการตำรวจโลก ให้ตำรวจเปลี่ยนทิศทางการทำงานจากการเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับใช้กฎหมายกับ ประชาชน เป็นการหันหน้าเข้าหาประชาชน ทำหน้าที่ปกป้องและให้บริการ สร้างความคุ้นเคย ให้ความจริงใจ จนได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
     
       “เมื่อ ประชาชนไว้วางใจ ก็จะให้ข้อมูล ให้ข่าว บอกปัญหาและความต้องการให้ตำรวจทราบ จากนั้นตำรวจกับประชาชน ก็จะร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ตรงตามความต้องการ การทำงานโดยใช้ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ทำให้สถานการณ์ของตำรวจสหรัฐอเมริกา ค่อยๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ” พ.ต.อ.อธิปกล่าว
     
       พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวว่า ตำรวจต้องงานให้ครบทั้ง 5 ทฤษฎี กับอีก 1 หลักการ คือ 1. ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Approach) โดยทำหน้าที่จับผู้ร้าย 2. ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (Police Community Relations) ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของชุมชน ช่วยลดความขัดแย้งและเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างตำรวจกับประชาชน 3. ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ 4. ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม (Crime Prevention Through Environmental Design หรือ C.P.T.E.D.) ทำหน้าที่เป็นนักวางแผนป้องกัน 5. ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตราความเรียบร้อย เมื่อพบปัญหา ให้รีบแก้ไขทันที ก่อนที่ปัญหาเล็กๆ จะลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ อีกหหลักการ คือ หลักการพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชน (Community Oriented Policing and Problem Solving หรือ C.O.P.P.S) โดยทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์และแก้ปัญหา
     
       “องค์กร ตำรวจต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปราบปรามเป็นหลัก มาเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกป้องและให้บริการเป็นหลัก เปลี่ยนเป้าหมายจากการจับกุมให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อต้องการลดอาชญากรรม เป็นมุ่งลดความหวาดระแวงภัยของประชาชน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วจากโครงการทดลองหลายๆ แห่ง ที่ส่งตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ เช่น ชุมชนวัดเชิงหวาย เขตเตาปูน กรุงเทพฯ, ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ฯลฯ ทุกแห่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง” พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

ไม่มีความคิดเห็น: