จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


วันที่ 08 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
บช.ก.ปรับยุทธศาสตร์ สร้างตร.-รับใช้ชุมชน
คมกฤช ราชเวียง รายงาน


โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นโครงการที่ว่ากันว่าช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้ จนมีการสรุปเป็นทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนำมาเป็นกรอบในการปฏิบัติงานลด ปัญหาอาชญากรรม โดยประเทศไทยเริ่มนำทฤษฎีนี้มาใช้ ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2539 ที่ชุมชนหลังวัดบางขุนนนท์ โดย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีในขณะนั้น นำโครงการดังกล่าวมาทดลองใช้
ได้รับคำแนะนำจากตำรวจผู้มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศคัด เลือกตำรวจ 2 นายลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน เรียนรู้หลักการจดบันทึกด้วยการทำวิจัยเชิงสำรวจและศึกษาข้อมูลอาชญากรรม รวบรวมรายละเอียดสภาพแวดล้อมความเป็นมาของชุมชน เพื่อวางแผนแก้ปัญหาอาชญากรรม
ทำงานแบบเข้าถึงไม่ใช่เน้นจับ-ปราบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น!!?
ตำรวจที่ทดลองเข้าไปคลุกคลีอยู่ กับชาวบ้าน จะทำงานทั้งทางด้านการรักษากฎหมายและเป็นที่ปรึกษาให้กับชาวบ้านไปพร้อมกัน เพื่อทำลายกำแพงกั้นระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน ที่มักเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน เพื่อให้มีการนำโครงการดังกล่าวไปใช้อย่างจริงจัง
วันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. จึงเปิดสัมมนาเรื่องการแก้ปัญหาอาชญากรรม โดยนำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นธงนำในการทำงาน
การสัมมนาครั้งนี้มี ศ.ดร.สุธรรม เชื้อประกอบกิจ ในฐานะที่ปรึกษาบช.ก. และพล.ต.ต.เชิด ชูเวช รองผบช.ก. เป็นผู้บรรยาย มีดร.อิสระพัฒน์ ธีรพัฒน์สิริ ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานตรวจการแผ่นดิน และแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่านร่วมรับฟัง งานจัดที่ห้องประชุมบช.ก.
ศ.ดร.สุธรรมแสดงความเห็นว่า งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์และตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นงานที่ต้องเข้าถึงชาวบ้าน หากนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้ จะเป็นการสร้างชุมชนที่มีความคุ้นเคยกันระหว่างตำรวจกับประชาชน โดยตำรวจจะต้องเป็นฝ่ายเข้าหาชาวบ้านให้บริการด้านชุมชนอย่างเต็มที่ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชน ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด
ผลลัพธ์ที่ออกมาจะทำให้คดีต่างๆ เกิดขึ้นน้อยลง จะไม่มีการปล่อยให้ตำรวจแก้ไขปัญหาแต่เพียงฝ่ายเดียวด้วยการสั่งงาน แต่ต้องมาจากความรู้สึกที่อยากจะทำ มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา จนกระทั่งไม่จำเป็นที่เราต้องจับผู้กระทำผิดทุกครั้งไป เพื่อหาวิธีอื่นที่เหมาะสม กรณีไม่รุนแรงในการแก้ไขปัญหาหรือเป็นวิธีการนอกกรอบ และที่สำคัญจะเป็นการลดช่องว่างระหว่างตำรวจกับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ศ.ดร.สุธรรมกล่าว

ด้านพล.ต.ต.เชิด ชูเวช รองผบช.ก. กล่าวว่า ทฤษฎีดังกล่าวคงต้องใช้เวลาในการปฏิบัติพอสมควร เป็นวิธีการหนึ่งในปฏิบัติการป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรม เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาตามบทบาทและหน้าที่ของตำรวจ หลังจากพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ได้ทดลองทำมาแล้ว ผลปรากฏว่าสร้างความพึงพอใจให้ กับประชาชนที่อยู่ร่วมกันในชุมชน แก้ปัญหาอาชญากรรมได้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

ความหวังส่วนหนึ่งของโครงการตำรวจผู้รับใช้ ชุมชน คือการสร้างจิตสำนึกให้ตำรวจเพื่อทำความเข้าใจประชาชนและเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรม ไม่ใช่จ้องแต่จะจับกุมจ้องตั้งข้อหาชาวบ้านเพียงอย่างเดียว
ด้านดร.อิสระพัฒน์ ระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้ตำรวจได้เข้าใกล้ประชาชนมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ ตำรวจจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน ในฐานะผู้รักษากฎหมาย ตนเห็นด้วยกับโครงการสกรีนตำรวจปลอดยาเสพติด มีการสุ่มตรวจสารเสพติดในตัวข้าราชการตำรวจ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่ามีตำรวจเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือไม่
ตำรวจต้องเคลียร์ตัวเอง และพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่มาเป็นต้นตอของปัญหาเสียเอง เราเข้ามา สนับสนุนตรงนี้ เพื่อที่จะพยายามหาทางส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม ตำรวจทำงานใกล้ชิดประชาชน จึงหนีไม่พ้นข้อครหา
ดังนั้นคนเป็นตำรวจจึงต้องทำอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมาดร.อิสระพัฒน์กล่าว
โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนจะบรรลุผลลดกำแพงกั้นระหว่างตำรวจกับชาวบ้านได้หรือไม่ วัดได้จากเสียงสะท้อนของประชาชน

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก "ข่าวสด"

ไม่มีความคิดเห็น: