จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แกะรอยรายสับดาห์ ไทยรัฐ “อดุลย์-พงศ์พัฒน์” ดันสุดตัว “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” หนทางสว่างดับไฟใต้


ทีมข่าวอาชญากรรม
19 สิงหาคม 2555, 05:00 น.
“อดุลย์-พงศ์พัฒน์” ดันสุดตัว “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” หนทางสว่างดับไฟใต้

เป็นสถานการณ์ที่บั่นทอนความรู้สึกอย่างมากของพี่น้องคนไทยกับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ตั้งแต่ปี 2547 กลุ่มก่อความไม่สงบได้ปฏิบัติ การก่อเหตุอย่างไม่มีวันจบสิ้นจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

รัฐบาลหลายสมัยไม่สามารถคลี่คลายความหวาดระแวงของพี่น้องคนไทยด้วยกัน

ความ แตกต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบ ประเพณี วัฒนธรรม ความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่ เป็นกำแพงใหญ่ที่ทำให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ยอมรับว่าเป็นคน ไทยมุสลิม

การ เข้าไปพัฒนา สร้างความเข้าใจ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความสันติสุขโดยเร็วที่สุด เป็นความตั้งใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ให้ นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล

โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจลดความหวาด ระแวงต่อกันของประชาชน ชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อน เปราะบาง เป็นชนวนเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นอกเหนือจากกลุ่มผลประโยชน์ นักการเมือง ที่อยู่เบื้องหลังการจุดชนวนไฟใต้ให้ลุกลาม

ภารกิจ ที่ใหญ่หลวงของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร. นายตำรวจที่ได้ชื่อเป็นนักรบ นักคิดและนักพัฒนา ตลอดชีวิตราชการ พล.ต.อ.อดุลย์ ได้ทุ่มเท เสียสละอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยพื้นที่ภาคใต้ พยายามหาทางดับไฟใต้ จนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของตัวแทนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

จนเป็นที่ยอมรับเชื่อถือของผู้นำศาสนาและพี่น้องคนไทย-มุสลิมในพื้นที่

จากนโยบาย การทำงานที่อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจและความเป็นธรรม โดยยึดถือแนวทางพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ พล.ต.อ.อดุลย์ ในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) และศูนย์ปฏิบัติการชายแดนภาคใต้ (ศชต.) เข้ามาอุดช่องโหว่ของปัญหาไฟใต้

ได้ มีการปรับแผนใหญ่อีกครั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ ผบช.ศชต.เป็น ผบ.ศปก.สน. มีอำนาจสั่งการทุกหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เป็นเอกภาพ ปรับภารกิจของ ศชต. ภ.จว. และ สภ.ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการปฏิบัติการทางยุทธการด้านความมั่นคง มากขึ้น

เพิ่มขีดความสามารถสืบสวนคดีสำคัญ การสอบสวนและนิติวิทยาศาสตร์ให้ ศชต.และ ศปก.ตร.สน. มอบ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้า พล.ต.ท.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฎฐ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วย ผบ.ตร.อดีต ผบช.สพฐ.ตร.เข้าร่วมวางแผน

แม้จะมีเหตุรุนแรง เกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าเทียบกับอดีตที่ผ่านมาถือว่ามีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก ด้วยแนวทางพัฒนากำลัง พัฒนาหน่วยที่เป็นระบบของ พล.ต.อ.อดุลย์ ได้เห็นความเข้มแข็งของการป้องกัน การสืบสวน สอบสวน การเข้าถึงชุมชน และการมีส่วนร่วมของพี่น้องคนไทย-มุสลิมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

แต่เงื่อนไขไฟใต้ที่ลุกโชนเป็นช่วงๆเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน

กลุ่ม ผู้ก่อความไม่สงบ “ผู้บงการ” จงใจสร้างสถานการณ์ให้เกิดความหวาดกลัวของผู้คนในพื้นที่ แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลไทย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สามารถปกป้องคุ้มครองประชาชน

ต้องการท้าทายอำนาจรัฐควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้

มี การพัฒนาเทคนิควิธีการที่จะทำให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นในสถานที่ต่างๆ ไม่ต่างจากกลุ่มก่อการร้าย ตั้งแต่ข่มขู่ ลงมือปฏิบัติการตั้งใจทำให้เกิดความหวาดกลัวเพิ่มขึ้นในสังคม คนร้ายทั่วไปฆ่าคนตายจะปกปิดซุกซ่อนหรือนำศพไปทิ้ง แต่ผู้ก่อการร้ายฆ่าคนตัดคอและทิ้งศพไว้กลางถนน เพื่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นในชุมชน

ยิ่งเราหวาดกลัวเท่าไร ผู้ก่อความไม่สงบยิ่งประสบความสำเร็จมากเท่านั้น

การ ใช้ความรุนแรง ใช้เล่ห์เหลี่ยม ละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้ประชาชนในสังคมมองดูเจ้าหน้าที่ว่ามีพฤติกรรมเลวร้ายยิ่งกว่าผู้ก่อการ ร้าย จะโกรธเกลียดรับไม่ได้กับการกระทำของตำรวจ ขาดความเชื่อถือศรัทธาตำรวจ

กลายเป็นวงจรอุบาทว์ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจ

นอก จากไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ไม่ทำให้เกิดผลดีแล้ว ยังจะทำให้เป็นบาดแผล มีแต่จะยิ่งทำให้ความร้าวฉานบานปลายต่อไปอีก จะตกหลุมพรางของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่หาเรื่องกล่าวหาฝ่ายรัฐชอบใช้วิธี รุนแรง

หนทางที่จะเยียวยาแก้ไขไฟใต้ที่คุกรุ่นมานาน ต้องใช้ความร่วมมือของชุมชนประชาชน ใช้ความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่น เพื่อลดความหวาดกลัว

วิธีที่ดีที่สุดในการดับไฟใต้ คงไม่พ้น...ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)

ซึ่ง เป็นทฤษฎีเดียวในโลกที่ใช้สู้กับการก่อการร้ายได้โดยนักสังคมศาสตร์ด้าน อาชญาวิทยาระดับโลก 2 ท่าน คือ วิคเตอร์ อีแคพเพลเลอร์ และนายแลรี เค ไกเนส ได้ยืนยันความเหมาะสมที่สุดของทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนต่อการแก้ปัญหาการ ก่อการร้ายไว้ว่า

“ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นหลักปรัชญาที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรตำรวจในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายและ ปัญหาความหวาดกลัวที่เกิดจากการก่อการร้ายเหล่านั้น” และ “จริงๆแล้วทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนสามารถป้องกันการก่อการร้ายได้ดีกว่า วิธีอื่นๆทุกวิธีที่มุ่งใช้ความรุนแรง”

เพราะหลักการสำคัญของทฤษฎี ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มุ่งลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระหว่างประชาชนกับประชาชน และระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ขณะที่หลักการของการก่อการร้ายเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นกับ ประชาชน สร้างความหวาดระแวงและไม่เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ

หลักการของ “ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ตรงข้ามกับการก่อการร้ายและก่อความไม่สงบ

หาก เราสามารถดำเนินการตามแนวทางตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ย่อมมีโอกาสเอาชนะการก่อการร้ายได้ เพราะหัวใจหลักคือ การสร้างความรู้จักคุ้นเคยกับประชาชน การเข้าครอบครองยึดพื้นที่ การลดความหวาดระแวงของประชาชน  และสร้างความหวาดระแวงให้คนร้าย

เป็น แนวทางที่ได้จากทฤษฎีที่ใช้ได้ผลในหลายประเทศ และประสบการณ์ที่ใช้มาตลอดชีวิตของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ได้พยายามผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาอาชญากรรม การก่อการร้าย เพื่อให้เห็นทางสว่างในการคลี่คลายสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์เป็นตำรวจที่ได้มีโอกาสทำงานด้านการข่าวและ ก่อการร้ายร่วมกับหน่วยงานสำคัญของโลก มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และมีความตั้งใจที่จะเห็นการพัฒนาตำรวจให้เป็นที่ยอมรับ

จากผลการ ปฏิบัติตามโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ของชุด กก.6 บก.ป.ของ พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ ผกก.6 บก.ป. ที่ชุมชนบ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล ได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนา พี่น้องคนไทยมุสลิม

กลุ่ม “มูลนิธิ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย” ที่มีส่วนช่วยเหลือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ในเรื่องทางศาสนาได้เข้ามาสัมผัสการทำงานของชุด “กองปราบปราม” จนได้ยอมรับว่าน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีในการประสานให้รัฐและชาวบ้านเป็นเนื้อ เดียวกัน เป็นการทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการ “ลดความหวาดระแวง” ความที่ไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน หล่อหลอมให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งเดียวกัน ทลายกำแพงความแตกต่างของไทย-มุสลิมในพื้นที่

โดยเฉพาะการ “ลดความกลัว” ที่เป็นเงื่อนไขของกลุ่มก่อความไม่สงบลดลง

ซึ่งองค์กรสำคัญของประเทศเพื่อนบ้านมองว่า เป็นหนทางแสงสว่างดับไฟใต้ที่ลุกโชนยาวนาน

ไม่ มีหนทางไหนที่จะยุติไฟใต้ได้อย่างถาวร นอกจากความเข้าใจเข้าถึงชุมชน การเดินตามกรอบของกฎหมาย เข้าหา และดึงชุมชนมาเป็นพวก เพราะทฤษฎีที่สำคัญผู้ก่อการร้ายไม่เคยชนะในประเทศระบอบประชาธิปไตยที่เคารพ หลักการด้านสิทธิมนุษยชน

ความสำเร็จของการต่อสู้กับการก่อการร้าย ไม่ได้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไม่ใช่การข่าว แต่มาจากชุมชนและประชาชน ที่จะเอาชนะก่อการร้ายได้ โดยเพิ่มความร่วมมือรัฐ–ชุมชน

ลดความหวาดกลัว หวาดระแวงที่เป็นความตั้งใจของกลุ่มก่อการร้าย กลุ่มแบ่งแยกดินแดน.


ทีมข่าวอาชญากรรม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมภ์ทีมข่าวอาชญากรรม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น: