จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อีกครั้งกับโครงการดีๆ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ไทยต้นแบบเพื่อนบ้าน

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8001 ข่าวสดรายวัน
 คอลัมน์ สดจากสนามข่าว คมกฤช ราชเวียง รายงาน
 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEkxTVRBMU5RPT0%3D&sectionid=TURNd01RPT0%3D&day=TWpBeE1pMHhNQzB5TlE9PQ%3D%3D
 ปัญหายาเสพติดมักมาคู่กับปัญหาอาชญากรรมเสมอ ทั่วโลกพยายามกวาดล้างปราบปรามปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมให้หมดสิ้นไป

ไม่ นานมานี้สำนักงานปราบปรามยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNODC) เชิญพล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ไปบรรยายเรื่องตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่ศูนย์การประชุมองค์การสหประชา ชาติ ถนนราชดำเนินนอก เพื่อช่วยกันตกผลึกความคิดในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป

การ บรรยายครั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความรู้หลายหน่วย อาทิ UNODC, AusAID (ผู้แทนออสเตรเลียเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ), INTERPOL (องค์การตำรวจสากล), World Vision (มูลนิธิศุภนิมิตสากล) องค์กร UNICEF รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ลาว เขมร เวียดนามและไทย โดยมีผู้บริหารของ UNODC ให้การตอบรับ มีนางมากาเร็ต อาคูลโล เป็นผู้ประสานงาน

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์บรรยายในหัวข้อ Community Policing หรือตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โครงการดังกล่าวเป็นการนำเอาตำรวจเข้าไปกิน-อยู่พักอาศัยในชุมชนให้เปรียบ เสมือนคนในครอบครัวชาวบ้าน โดยโครงการนี้ทำมาแล้วหลายแห่งหลายที่ด้วยกัน

ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม

ทั้ งนี้ สืบเนื่องจาก UNODC ได้ติดตามการทำงานของพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ที่ได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนหรือ Community Policing มาใช้ในประเทศไทย และเห็นว่ากำลังเดินมาถูกทาง จึงประสานความร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในภูมิภาคนี้ ซึ่งพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์เห็นว่าเป็นงานในหน้าที่ของบช.ก.อยู่แล้ว จึงตอบรับและให้ความร่วมมือเต็มที่



โดย UNODC บช.ก. ได้นำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ขณะนี้ UNODC อยู่ระหว่างผลักดัน ให้ความรู้เรื่องทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน UNODC เองและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะตำรวจในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพื่อให้ได้ดูกรณีศึกษานำไปปรับใช้ในประเทศของตนเอง

พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์อธิบายความหมายทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนว่า เป็นทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความเชื่อว่าความร่วมมือของตำรวจและสุจริตชนใน ชุมชน จะสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมส่วนใหญ่ได้

จุดเด่นของ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนคือการเข้าไปฝังตัวเพื่อรับใช้ให้บริการประชาชน จนกระทั่งประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ตำรวจกับประชาชนไม่หวาดระแวงซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ชุมชน ท้ายสุดอาชญากรรมก็จะค่อยๆ ลดลงเอง

เรื่องนี้ได้พิสูจน์มาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก

สํา หรับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำ Community Policing มาใช้แล้วหลายประเทศและสามารถลดอาชญากรรมได้ เช่น ในมาเลเซีย สามารถลดอาชญา กรรมได้ 60% ในประเทศสิงคโปร์ นำ Community Policing Unit ไปปฏิบัติงาน ทำให้ไม่มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นในเขตรับผิดชอบเป็นเวลากว่า 2 ปี ในขณะที่สถิติอาชญากรรมของประเทศ ไทยสูงขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์จึงพยายามผลักดันให้นำมาใช้ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน บช.ก. ดำเนินการทั่วประเทศกว่า 150 ชุมชน

ผลสำรวจยืนยันว่าประชาชนพึงพอใจและอาชญากรรมในชุมชนส่วนใหญ่ลดลง

เชื่อว่าหากขยายผลนำไปใช้ทั่วประเทศจะช่วยให้อาชญากรรมในประเทศไทยลดลงได้

"งาน ตำรวจไม่ได้เน้นปราบปรามอย่างเดียว แต่ต้องเน้นงานมวลชน การเข้าถึงใจชาวบ้าน ต้องทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นมิตรและพึ่งได้ ตำรวจที่เข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้านจะรับรู้ปัญหาพื้นฐาน รู้ว่าใครเป็นอย่างไร วัยรุ่นกลุ่มไหนมีความเคลื่อนไหวอย่างไร อีกทั้งยังทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ความรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่อยู่รวมกันเยอะๆ เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปปฏิบัติงานจะมีส่วนช่วยชาวบ้านได้มาก เพราะบางทีชาวบ้านอาจไม่กล้าเข้าไปขอคำปรึกษาตำรวจท้องที่เพราะเกิดความหวาด กลัว แต่สำหรับตำรวจผู้รับใช้ชุมชนแล้ว เขาจะมองเป็นคนในครอบครัว ลูกหลาน และกล้าที่จะขอคำแนะนำหรือให้เบาะแสสำคัญ" พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าว

หลัง เสร็จสิ้นการประชุมตัวแทนตำรวจจากประเทศ ลาว เขมร เวียดนาม ได้เข้ามาขอคำแนะนำและรายละเอียดในการปฏิบัติงานจริงกับพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เพื่อเตรียมนำโครงการนี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศของตนเอง

ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันคือความสงบเรียบร้อย

ลดปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม!?!

ไม่มีความคิดเห็น: